ฮีทสโตรกอาจถึงขั้นเสียชีวิต
ตามปกติเมื่อได้รับความร้อนจากสาเหตุต่างๆ ร่างกายจะมีกลไกในการกำจัดความร้อนที่สำคัญคือการมี เหงื่อออก แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันจนอุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 41 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เป็นโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดชนิดที่ไม่มีเหงื่อออก ซึ่งหากไม่ได้รับการ รักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่ม เสี่ยงสำคัญ นอกเหนือจากคนที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น คนอดนอน คนที่ดื่มเหล้าจัด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โดยสัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรกก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายนํ้ามาก วิง เวียน ส่วนอาการเบื้องต้นก็คืออาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศีรษะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การปฐมพยาบาลในรายที่ยังมีอาการยังไม่มากคือ ควรให้ดื่มนํ้าเปล่ามากๆ ถ้ามีอาการมากให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบนํ้าเย็นหรือนํ้าแข็งประคบ ตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อนให้ลดต่ำลงโดยเร็ว ที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
ป้องกันการเกิดฮีทสโตรก
- หลีกเลี่ยงการออกกําลังกายอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในช่วงที่อากาศร้อนจัด
- หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มนํ้าให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายนํ้าก็ตาม รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศดี สีอ่อน สวมหมวกหรือถือร่มกันแดด ในช่วงที่อากาศร้อน
- ผู้ที่มีโรคหรือรับประทานยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ สมควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ๆ ร้อนจัดเป็น เวลานาน
- สำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยจัดให้อยู่ในห้องที่สามารถระบายอากาศ ได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กหรือผู้สูงอายุอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพังโดยเด็ดขาด และควรให้ได้รับสารนํ้า อย่างเพียงพอ
เด็กทารกและเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ จะต้องการการปกป้องมากเป็น พิเศษ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อน เพราะเด็กๆ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้สูง
โดยในช่วงที่ร่างกายเริ่มขาดน้ำ เด็กมักจะไม่ส่งสัญญาณหรืออาการใดๆ ให้เห็น แต่คุณพ่อคุณแม่อาจ จะสังเกตได้จากริมฝีปากที่แห้งและอาการกระหายน้ำ นอกจากนี้ยังอาจจะสังเกตว่าเด็กมีอาการผิวแห้ง ตัว อุ่นๆ มีอาการเวียนศีรษะ เป็นตะคริวที่แขนหรือขาหรือไม่ และถ้าหากอาการขาดน้ำมีความรุนแรงมากขึ้น เด็กๆ
อาจจะมีอาการต่างๆ เหล่านี้
- ร้อนวูบวาบที่ใบหน้า
- ชีพจรเต้นเร็ว
- ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
- ปัสสาวะน้อยลง
- ตาโหล
- สำหรับในเด็กทารก อาจจะสังเกตเห็นรอยลึกที่บริเวณกระหม่อมด้านหน้า ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนที่สุดของ กะโหลกศีรษะ
- ผิวหนังขาดความชุ่มชื้นและไม่คืนตัวอย่างรวดเร็วหากลองบีบหรือหยิกดู
- ร้องโยเยหรือง่วงซึม
- งอแง หงุดหงิด
- ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา
สำหรับการแก้ไขในเบื้องต้นนั้น ควรทำดังนี้
ถ้าหากว่าเด็กๆ มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรืออ่อนเพลียอย่างฉับพลันในช่วงที่อุณหภูมิสูงหรือแดดร้อน ให้รีบนำตัวเด็กหลบเข้าไปในที่ร่ม และให้ดื่มน้ำเย็นเพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป รวมถึงเช็ดตัวด้วย ฟองน้ำหรือผ้าเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ก่อนที่จะให้อาบน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือไม่หายหลังจากหาก เวลาผ่านไปเกินกว่าหนึ่งชั่วโมงให้รีบนำตัวไปพบแพทย์ เพราะถ้าปล่อยให้เด็กมีอาการผิวหนังแห้ง หรือแดง ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการเพ้อ หรือร่างกายมีความร้อนสูงมาก จะทำให้เด็กตกอยู่ในอันตราย เพราะอาจจะทำ ให้ช็อกหรือเสียชีวิตได้
ป้องกันอย่างไรไม่ให้ขาดน้ำ
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การดื่มน้ำทดแทนน้ำที่สูญเสียไป โดยควรดื่มก่อนที่จะรู้สึกว่ากระหายน้ำ อาทิ ควรดื่มน้ำ 1 แก้วครึ่งทุกๆ ครึ่งชั่วโมง และดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้วครึ่งเป็นเวลา 20 นาทีก่อนเล่นกีฬาหรือ ออกกำลังกายในช่วงที่อากาศร้อน
- ควรรู้ไว้ว่าเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น น้ำอัดลม กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่ใช่เครื่องดื่มที่ทด แทนน้ำ ถึงแม้ว่าจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบก็ตาม เพราะเป็นเครื่องดื่มที่มีสารที่ทำให้ร่างกายขับน้ำออกจากร่าง กาย
- ส่วนสปอร์ตดริ้งก์หรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่จะช่วยทดแทนเกลือแร่บางอย่างที่สูญเสียไปจากการเสีย เหงื่อจากการออกกำลังกายหรือการทำงานงานหนักได้
- ถ้ามีเหงื่อออกมาก หรือมีการอาเจียน หรือท้องเสียควรรับประทานเกลือแร่ทดแทน โดยให้รับประทาน ตามปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำ
- หลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงวัน (11.00-14.00 น.) โดยหากต้องการออกกำลังกายกลางแจ้งควรทำ ในเวลาเช้าตรู่และเย็น
- สวมแว่นกันแดดและหมวก รวมถึงสวมเสื้อผ้าบางๆ หลวมๆ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อทำให้ เหงื่อออกน้อยลง โดยไม่ควรสวมเสื้อผ้าสีเข้ม ซึ่งจะดูดความร้อนเอาไว้มากกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน
ปลอดภัยจากไมเกรนหน้าร้อน
ไมเกรน (migraine) เป็นอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญคือปวดตุ้บๆ ที่บริเวณ ขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางคนอาจเริ่มจากการปวดแบบตื้อๆ จี๊ดๆ ก่อน แล้วค่อยรุนแรงขึ้นจนเป็นตุ้บๆ ในที่สุด ความรุนแรงของอาการปวดมีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรง มากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว รวมถึงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อ แสงหรือเสียง
ตามปกติ อาการปวดไมเกรนจะกำเริบขึ้นเมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น โดยอากาศร้อนหรือการอยู่ ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานานเป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่กระตุ้นให้บางคนเป็นไมเกรนได้ เพียงแต่ว่าในหน้าร้อนปีนี้คุณอาจจะไม่มีปัญหาแบบนั้น หากปฏิบัติดังนี้
- หลบเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแสงแดดจัด โดยเฉพาะในเวลา 9.00-16.00 น.
- เมื่อจำเป็นต้องเดินออกไปในที่ที่มีอากาศร้อน อาจป้องกันการปวดศีรษะจากไมเกรนโดยการดื่มน้ำ เย็นหรืออมน้ำแข็งไปด้วยขณะเดิน เพื่อช่วยคลายความร้อน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ปวดศีรษะ
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ร้อนและแออัด โดยเฉพาะงานนิทรรศการต่างๆ ที่ผู้คนหนาแน่น มีอากาศหายใจไม่ เพียงพอ เพราะจะทำให้วิงเวียนศีรษะได้ง่าย
- ในกรณีที่ต้องขับรถในช่วงที่มีแดดจัด ควรสวมแว่นตากันแดด และหากรู้สึกว่าไมเกรนกำลังคุกคามให้ รีบหาที่นั่งพักหลับตาสักครู่ ใช้ผ้าเย็นประคบหน้าผากหรือต้นคอ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการได้
- รับประทานอาหารครบทุกมื้อ โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า เพราะหากปล่อยให้ท้องว่าง น้ำตาลในเลือดจะ ลดต่ำลง อาจทำให้อาการไมเกรนกำเริบได้
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และใช้เวลาหยุดสุดสัปดาห์ในการพักผ่อนอย่างเต็มที่
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำจะช่วยให้อาการปวดไมเกรนดีขึ้น เพราะร่างกายจะหลั่งสาร เอ็นดอร์ฟิน ช่วยบรรเทาความเครียดและปรับอารมณ์ให้เป็นปกติ แต่หากมีอาการไมเกรนอยู่ก่อนก็ไม่ควร ออกกำลังกาย เพราะจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
- การใช้ก้อนน้ำแข็ง หรือกระเป๋าน้ำแข็งประคบที่ศีรษะ เมื่อมีอาการปวดไมเกรน จะช่วยให้เส้นเลือดหด ตัวลง ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่บางคนการนอนหลับก็สามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้
- สำหรับบางคนเมื่อมีอาการปวดขึ้นมา อาจใช้วิธีการนวด การกดจุด บริเวณเส้นเลือดใหญ่หลังใบหูก็ สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด
- หากอาการปวดไมเกรนไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป เพื่อให้เกิดการรักษา ได้ทันท่วงที
ทุกปีกรมควบคุมโรคจะออกประกาศเตือนประชาชนให้ป้องกันโรคที่พบได้บ่อยในหน้าร้อน 6 โรค ประกอบด้วยโรคอุจจาระร่วง (Acute Diarrhea) โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) บิด (Dysentery) ไทฟอยด์ (Typhoid) อหิวาตกโรค (Cholera) และโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) แต่โรคที่มีผู้ป่วยมากที่สุดและ ผู้เสียอายุมากที่สุดคือโรคอุจจาระร่วง ซึ่งมีวิธีการป้องกันไม่ยาก เนื่องจากโรคอุจจาจาระร่วงมีสาเหตุจากการ รับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม หรืออาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ อาหารค้างคืน เป็นผลให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว เป็นน้ำ หรือมีมูก เลือดปน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน โดย สำหรับวิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงที่ดีก็คือ
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุง หรือรับประทานอาหารและภายหลังถ่ายอุจจาระ
- ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุดและเลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวัน ตอม หากจะเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรืออาหารสำเร็จรูปที่ชื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้ เดือดทั่วถึงทุกครั้ง และก่อนรับประทานผักหรือผลไม้ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
- ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กมีภูมิต้านทานโรค
- ขวดนมล้างให้สะอาด และต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที
- กำจัดขยะมูลฝอย และถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น