ปัจจุบันในบ้านเรามีกองทุนรวมให้เลือกลงทุนนับพันกอง ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบาย จ่ายปันผลกว่า 200 กองและไม่จ่ายปันผลอีกกว่า 1,000 กอง หลายคนมีคำถามว่าจะเลือกลงทุนอย่างไรดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจเลือกระหว่างกองทุนที่มีนโยบายลงทุนเหมือนกัน ต่างกันเพียง การจ่ายหรือไม่จ่ายปันผลเท่านั้น กองทุนรวมทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อด้อยที่ต่างกันไป วันนี้จึงจะขอมาให้ข้อมูล เพื่อการพิจารณากัน
กองทุนรวมปันผล: ทยอยปันผลกำไร สร้างกระแสรายได้ประจำ
กองทุนรวมประเภทนี้ เมื่อมีกำไรจะนำกำไรนั้นจ่ายให้ผู้ลงทุนเป็นระยะ ๆ ในรูปของเงินปันผลทุก 3 เดือนหรือ 6 เดือน ตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน ผู้ลงทุนจึงได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้ก่อนโดยไม่ต้องขายหน่วยลงทุน ช่วยลดความกังวลในเรื่องความผันผวนของราคาได้ อย่างไรก็ดี กองทุนรวมที่มีนโยบายจ่าย เงินปันผลไม่ได้หมายความว่าต้องจ่ายเงินปันผลทุกงวด เพราะการจ่ายปันผลจะทำได้ก็ต่อเมื่อกองทุนรวมมีกำไรเท่านั้น
นอกจากนี้ ทุกครั้งที่จ่ายเงินปันผล มูลค่าหน่วยลงทุนจะลดลงไปเป็นจำนวนเท่ากับเงินปันผลที่จ่ายออกไป ซึ่งจะทำให้ขนาดของกองทุนรวมลดลง หากช่วงนั้นเป็นภาวะตลาดขาขึ้น กองทุนรวมก็จะมีเงินไปลงทุนได้น้อย ลดโอกาสในการสร้างผลกำไรให้มูลค่าหน่วยลงทุนเติบโตได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องไปด้วย ที่สำคัญเงิน ปันผลนี้จะถูกหักภาษี 10% โดยบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ให้เลย แต่หากใคร มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน ควรแจ้ง บลจ. ไว้ว่าไม่ต้องหักภาษี เพราะรายได้ทั้งปีของคุณเมื่อคำนวณหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้วเหลือไม่เกิน 150,000 บาท ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษี กองทุนรวมประเภทนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่ตั้งใจจะลงทุนระยะยาว ต้องการทยอยเก็บดอกผลจากการลงทุนไปเรื่อย ๆ อย่างเช่นผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่ไม่มีรายได้ประจำจากการทำงาน ก็จะได้เงินปันผลนี้มาใช้จ่าย เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
กองทุนรวมไม่มีปันผล: สะสมมูลค่าไว้ ทำกำไรเมื่อขายหน่วยลงทุน
กองทุนรวมประเภทนี้ หากมีกำไรจะไม่จ่ายออกมาเป็นเงินปันผล แต่นำไปลงทุนต่อซึ่งจะทาให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มูลค่าหน่วยลงทุนจึงเติบโตได้เร็วกว่าประเภทแรก ข้อดีคือผู้ลงทุน จะสามารถทำกำไรได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเมื่อทำการขายหน่วยลงทุน และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนทั้งหมดไม่มีภาระภาษี
ผู้ที่เหมาะสมกับการลงทุนในกองทุนรวมประเภทนี้ เช่น ผู้ที่มีกระแสรายได้ประจำอยู่แล้วและไม่ได้ ต้องการกระแสเงินสดเป็นระยะๆ จากการลงทุนนี้ คาดหวังกำไรเป็นกอบเป็นกำจากการขายหน่วยลงทุน มากกว่า หรือมุ่งหวังทาเงินลงทุนให้ งอกเงยจนได้ผลตอบแทนในจำนวนที่ต้องการแล้วจึงขายหน่วยลงทุนเพื่อนำเงิน ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ที่วางไว้ เช่น ซื้อรถ ดาวน์บ้าน เป็นต้น ข้อควรคำนึงสำหรับผู้ที่เลือกกองทุนรวม ประเภทนี้คือ จำเป็นต้องจับจังหวะการขายหน่วยลงทุนให้เป็น โดยติดตามข่าวสารที่จะมีผลกระทบต่อกองทุนรวม และผลการดำเนินงานของกองทุนรวมอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อให้ สามารถขายหน่วยลงทุน และทำกำไรได้ถูกจังหวะเวลา
การตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมแบบที่มีปันผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณเองว่าอยากได้รับผลตอบแทนมาใช้ก่อนเรื่อย ๆ หรืออยากจับจังหวะซื้อขายทำกำไรก้อนใหญ่ทีเดียวเลย และควรพิจารณาไปถึงระดับความผันผวนของการลงทุนที่คุณรับได้ด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น จุดต่างที่สาคัญคือเรื่องเงินปันผล มีภาระภาษี
แหล่งที่มา เว็บไซต์จดหมายข่าวกองทุนรวม ฉบับเดือนพฤษภาคม 2555 โดย สุรีรัตน์ สุรเดชะ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...

-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น