วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลงทุนสไตล์ ทยอยออมรายเดือน

คำถามยอดฮิตที่นิยมถามกันอย่างมากเมื่อคิดที่จะลงทุนในกองทุนก็คือ “ช่วงเวลานี้ลงทุนได้หรือยัง” คงไม่มีใครตอบได้แน่ๆ และโดยอุปนิสัยของนักลงทุนทั่วไป นิยมลงทุนแบบม้วนเดียวจบ และคาดหวังให้ได้กำไรสูงสูดอีกด้วย ซึ่งหมายถึงต้องลงทุนในช่วงเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนถูกที่สุดในรอบปี เป็นเรื่องที่คาดการได้ยากว่าช่วงเวลาใดเหมาะสมที่สุด (Market Timing) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในและต่างประเทศมีความผันผวนเป็นอย่างมาก อีกทั้งถ้าไม่ลงทุนและรอดอกเบี้ยจากเงินฝากก็งอกเงยไม่ทันเงินเฟ้ออีกด้วย จึงยากที่จะตอบคำถามเรื่องช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดได้ เคยมั๊ย ที่คิดว่า
  • วันนี้ ราคาหน่วยลงทุนน่าจะต่ำที่สุดแล้ว “ลงทุนเลย” ปรากฏว่าเวลาผ่านไปราคากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้รู้สึกว่า “ไม่น่าลงทุนวันนั้นเลย น่าจะรอลงทุนวันนี้ดีกว่า”
  • แต่ถ้าในทางกลับกัน ราคากลับสูงขึ้นแล้วเราไม่ได้ลงทุนเมื่อวันที่ราคาหน่วยลงทุนถูก เราก็จะต้องลงทุนในราคาที่แพงกว่าเป็นต้น
ดังนั้นหากเราทยอยลงทุนสม่ำเสมอในสัดส่วนเงินที่เท่าๆ กันทุกเดือนในระยะยาวนั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนเพียงครั้งเดียว เพราะการลงทุนสไตล์ทยอยลงทุนทุกเดือนเป็นการเฉลี่ยต้นทุนของเงินลงทุนและความเสี่ยงจากความผันผวนของราคากองทุนในตลาดให้ต่ำลง

จึงเป็นที่มาของสไตล์การลงทุนที่เรียกว่า “ใช้เงินน้อย ทยอยออม ด้วยกองทุนรวม” แถมยังสามารถใช้เงินก้อนเล็ก ในการลงทุนได้อีกด้วย

เริ่มต้นอย่างไร
  1. กำหนดจำนวนเงินที่จะลงทุนในแต่ละเดือน เช่นตั้งใจลงทุนปีนี้ที่ 60,000 บาท ให้เฉลี่ยนเป็นเดือนละ 5,000 บาท
  2. เลือกลงทุนในกองทุนที่ต้องการ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของคุณว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเหมาะสมกับกองทุนรวมประเภทใด โดยสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนรวมทุกประเภทได้ที่ www.thaimutualfund.com 
  3. ติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อขอนโยบายการลงทุนตามประเภทกองทุนที่คุณสนใจ   
  4. กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน (รายสัปดาห์ รายเดือน) โดยใช้ระบบตัดเงินอัตโนมัติเพื่อความ สะดวกในการดำเนินการ
 เทคนิคลงทุน
  1. ต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว เช่น 5 ปี ขึ้นไป เช่น กองทุนหุ้นระยะยาว LTF และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF แถมยังได้สิทธิ์ในการลดหย่อยภาษีอีกด้วย  
  2. สำรวจตัวคุณเองว่ามีความสามารถในการลงทุนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอหรือไม่  
  3. กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น ทุกวันที่ 1 ของเดือน หรือ ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ เป็นต้น  
  4. กำหนดวงเงินให้เท่าๆ กันในแต่ละงวด โดยพิจารณาจากวงเงินที่สามารถลงทุนได้ในแต่ละปี  
  5. ต้องมีวินัยและไม่หวั่นไหวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะการที่เกิดขึ้นในตลาดทุน
ประโยชน์
  1. ใช้เงินน้อย สำหรับการลงทุนในกองทุนรวม ในแต่ละเดือน  
  2. ลดความเสี่ยงของการผันผวนของราคาตลาด สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนด้วยเงินก้อนเดียว  
  3. เสริมสร้างวินัยในการออมและการลงทุน ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้
  4. ไม่ต้องเสียเวลาติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
  5. กระจายความเสี่ยงด้วยการเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging (DCA)
  6. ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การลงทุนในตลาดทุน
ตัวอย่างการลงทุน
ตัวอย่างนี้จะยกกองทุนรวม 1 ตัวในตลาดทุนมานำเสนอ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้น ที่ให้ผลตอบแทนที่สูง เช่น กองทุนหุ้น กองทุนหุ้นระยะยาว LTF หรือ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ที่ลงทุนในหุ้น ซึ่งสามารถช่วยตอบคำถามในเรื่องช่วงเวลาไหนที่ไม่มีความแนะนอน ลองดูว่าวิธีลงทุนแบบเฉลี่ยรายเดือนในรอบ 1 ปี ผลจะออกมาอย่างไรเมื่อเทียบกับการลงทุนปีละครั้ง
โจทย์
  1. มีเงินต้นสำหรับลงทุนปีละ 60,000 บาท นำไปซื้อกองทุนเปรียบเทียบตามช่วงเวลา
    • ลงทุนครั้งละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ของเดือน
    • ลงทุนครั้งเดียวต้นปี (Lump Sum)
    • ลงทุนครั้งเดียวปลายปี (Lump Sum)  
  2. เริ่ม 1 มกราคม xxxx ถึง 31 ธันวาคม xxxx (กรณีตรงกับวันหยุดจะเลือนเป็นวันทำการถัดไป)
  3. ขายคืนกองทุนหมดครั้งเดียว โดยใช้ราคาขายคืนในวันที่ 31 ธันวาคม xxxx
    
จะเห็นได้ว่าหากลงทุนครั้งเดียวที่ต้นปีจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 17,225.41 บาท คิดเป็น 28.71 % แต่ถ้าเปลี่ยนมาลงทุนปลายปีจะกลับกลายเป็นขาดทุน 3,134.88 บาท คิดเป็น - 5.22 % เหตุการณ์เช่นนี้จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนที่ไม่สามารถตอบได้แน่นอนว่าช่วงใดเหมาะสมที่สุด ซึ่งตัวเลขที่ยกตัวอย่างมาก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะเป็นอย่างนี้เสนอไป แต่ถ้าเป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยรายเดือน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงในเรื่องของการผันผวนของราคาได้ ซึ่งผลตอบแทนจากตัวอย่างข้างต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 10.32 % แต่ในทางกลับกันหากขาดทุน ก็จะขาดทุนแบบเฉลี่ยเช่นกัน
Saving Plan 
การออมเงินให้ได้ 1,000,000 บาท ไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแค่มีวินัยในการออมและบริหารเงิน โดยการออมก็มีหลายรูปแบบ เช่นการเก็บเป็นเงินสด การฝากเงินกับสถาบันการเงิน การซื้อกองทุนรวม หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ระยะเวลาและอัตราผลตอบแทนจะเป็นตัวบอกว่าต้องเก็บเงินนานเท่าไหร่ ซึ่งหากเราเริ่มสะสมการออมและการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ก็ไม่ไกลอีกต่อไป
ข้อมูลจาก www.aimc.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...