วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใช้วัฒนธรรมลดขัดแย้งอาเซียนความหวังเล็กๆ ที่ใกล้ได้เป็นจริง

ในปี 2558 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นับจากนี้ไปเราต้องเตรียมพร้อมเตรียมตัวอะไรกันบ้าง หลายคนอาจจะยังไม่รู้ จึงต้องขออธิบายความหมายของประชาคมอาเซียน ก่อนว่าคืออะไร

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปี 2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อปี 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกในปี 2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อปี 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

ประชาคมอาเซียน เกิดจากการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงให้ร่นระยะเวลาเร็วขึ้นเป็น พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015)
ประชาคมอาเซียน จะประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ
  3. ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน
ซึ่งทั้ง 3 เสาหลักนี้ มีความสำคัญในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้คนไทยจะได้อะไรหรือเสียประโยชน์อะไรบ้าง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เป็นผู้ให้คำตอบนี้ว่า

“คนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจด้านเศรษฐกิจ การเมือง มากกว่าด้านวัฒนธรรม แต่ผมเห็นว่าความเป็นอาเซียนมีความหมายมากกว่านั้น ประชากร 600 ล้านคน 10 ประเทศ มีพื้นที่ยืนอยู่อย่างเท่าเทียมกัน เป็นสังคมเอื้ออาทร พร้อมจะแบ่งปันกัน แต่สังคมเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีขันติธรรมและการยอมรับในความแตกต่างทั้งในแง่ความคิด วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษา ศาสนา และที่สำคัญ คือ ยอมรับในความหลากหลาย เพราะในอาเซียนมีทั้งพุทธเถรวาทในไทย ลาว กัมพูชา พม่า คาทอลิกในฟิลิปปินส์ มีชุมชนมุสลิมใหญ่ที่สุดในเอเชียอยู่ที่อินโดนีเซีย มีชุมชนฮินดูโบราณที่เกาะบาหลี ทั้งหมดต้องอยู่ร่วมกันได้

อาเซียนเห็นว่าความหลากหลายเหล่านี้ เป็นปัจจัยมีค่านำไปสู่ประชาคมอาเซียน ไม่ต้องการมีช่องว่าง ระยะห่างระหว่างประเทศสมาชิกมากเกินไป อย่างไรก็ตาม รูปแบบการปกครองแต่ละรัฐไม่เหมือนกัน ยังไม่ไว้วางใจที่จะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนหลากหลายเชื้อชาติ

อย่างแท้จริง อีกทั้งแต่ละรัฐมักจะมีกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียวมากยิ่งขึ้น เช่น เรื่องการศึกษา ยา สิ่งแวดล้อม แล้วแต่ละรัฐจะวางตัวอย่างไร หน้าที่ของเลขาธิ

การอาเซียนจึงต้องทำให้แต่ละประเทศเดินหน้าไปด้วยกันให้ได้ โดยต้องมีการบริหารความแตกต่างหลากหลายนี้ทั้งภายในอาเซียน และโลกสังคมภายนอก ทั้งวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์” ดร.สุรินทร์ อธิบายถึงการอยู่ร่วมกันของอาเซียนในอนาคต

ในขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอแนะที่ดี จากเลขาธิการอาเซียน อีกว่า มีเรื่องเดียวที่อยากจะขอ คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่าทะเลาะกัน เช่น ประเทศที่เป็นพุทธเถรวาทด้วยกันอย่างไทยกับกัมพูชา กลับมาทะเลาะกันเรื่องวัดโบราณอย่างปราสาทพระวิหาร สุดท้ายต้องให้ประเทศมุสลิมอย่างอินโดนีเซียมาช่วยแก้ไข จนเรื่องต้องไปถึงสหประชาชาติ

“ผมมองว่าปัญหาเขต แดน ปัญหาชายแดนมีวิธีแก้ 2 วิธี คือ
  1. เราต้องถอยหลังไปช่วงก่อนอาณานิคม ก่อนมีแผนที่ ก่อนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและทะเลาะกัน ทั้งสองประเทศเรามีวัฒนธรรมร่วมกัน และ
  2. รอให้อาเซียนเป็นประชาคม เส้นเขตแดนเหล่านี้จะไม่มีความสำคัญอีกต่อไป แต่จะมีการแลกเปลี่ยนกันได้หมดทุกเรื่อง บนพื้นฐานในการเคารพสิทธิแต่ละประเทศ โดยจะต้องยอมรับความแตกต่างในเชื้อชาติ บริหารความแตกต่างเหล่านั้นให้ได้ ไม่ใช่แอบซ่อนอัตลักษณ์ของตัวเองไว้ ความหลากหลาย คือ สิ่งที่มีค่า เราต้องพยายามใช้ความหลากหลายนี้อยู่ร่วมกันภายใต้ประชาคมเดียวกันให้ได้ ไม่นำมาเป็นข้อขัดแย้งกัน” ดร.สุรินทร์ ให้ข้อคิด
ถึงแม้ว่าประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจอาเซียน สังคมวัฒนธรรม ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่า การเมือง เศรษฐกิจ จะมีความสำคัญอันดับต้น ๆ แต่อย่าลืมว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในอาเซียนได้ง่ายก็คือเรื่องของวัฒนธรรม ซึ่งการเชื่อมสัมพันธ์ด้วยวัฒนธรรม คือ หัวใจหลักของงานนี้ นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บอกว่า วธ.ในฐานะหน่วยงานหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม ในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ได้เตรียมร่างยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านประชาคมอาเซียน เพื่อบรรจุเป็นยุทธศาสตร์หลักของ วธ. รวมทั้งได้กำหนดกิจกรรมหลักในปีงบประมาณ 2555 ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม ทั้งระดับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ช่างหัตถกรรม นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจและพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยจะยกระดับโครงการดังกล่าวให้เป็นโครงการระดับภูมิภาคอาเซียนต่อไป
“จากนี้ไปเราจะประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ ในการนำเสนอโครงการดังกล่าวต่อกรมอาเซียน และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อมติครม. เห็นชอบแล้ว ขั้นตอนต่อไปเสนอให้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน รับทราบและประสานความร่วมมือกับประเทศกลุ่มอาเซียน ในการใช้มิติวัฒนธรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันโดยไม่มีเส้นเขตแดนมาขวางกั้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ โครงการค่ายเยาวชนไทยและอาเซียน โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านให้กับเยาวชน โครงการค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์อาเซียน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทความร่วมมือด้านวัฒนธรรมกับกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น”
ปลัดสมชาย ยังย้ำอีกว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะยกระดับกิจกรรมระดับประเทศไปสู่กลุ่มประเทศอาเซียนโดยนำมิติทางวัฒนธรรมที่ไม่สร้างความขัดแย้งมาให้ประชาชนใน 10 ประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จะต้องได้ศึกษาความเป็นเพื่อนบ้านกันและเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยไม่มีเส้นแบ่งเขตแดนมาขวางกั้นความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ดีระหว่างกัน

“ผมเชื่อว่าหากโครงการนี้ยกระดับความร่วมมือจากกลุ่มอาเซียน จะทำให้วัฒนธรรมของกลุ่มอาเซียนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ความขัดแย้งด้านต่าง ๆ ก็จะลดลงด้วยการเชื่อมสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม” ปลัด วธ.กล่าวถึงการสร้างความสัมพันธ์อาเซียนด้วยมิติวัฒนธรรมเหลือเวลาจริง ๆ ไม่ถึง 3 ปีแล้วที่เราจะต้องเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ลองถามตัวเรา ประเทศเราว่าพร้อมหรือยังกับการอยู่ร่วมกันโดยไม่มีเส้นเขตแดน ถามต่อถึงรัฐบาลในการพัฒนาบ้านเมือง บุคลากรของประเทศไว้แข่งขัน เราได้เตรียมพร้อมหรือยัง ให้หันไปมองเพื่อนบ้าน จะเป็นกระจกสะท้อนดูเราได้เป็นอย่างดี ว่าเราจะอยู่อย่างไร จะสู้เขาได้หรือไม่ ตัวเราย่อมรู้ดีที่สุด

แหล่งที่มา   เว็บไซต์เดลินิวส์ โดย มนตรี ประทุม วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม 2555 เวลา 00:00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...