วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ถอยป้ายแดงทั้งที.. ต้องมีข้อควรรู้


ปัจจัย 4 ในทุกวันนี้แทบจะพูดได้ไม่เต็มปากว่าพอกับการดำเนินชีวิตประจำวัน หลายคนที่ใช้รถจนชิดอาจจะขอเพิ่มปัจจัยที่ 5 นั่นก็คือ รถยนต์ พาหนะที่จะพาเราไปถึงที่หมายได้รวดเร็วและสะดวกสบายกว่าการโดยสารรถประจำทางในบางเวลา หากคุณกำลังคิดจะถอยรถคันใหม่ป้ายแดงมาเป็นตัวช่วยในการเดินทางแล้วละก็สิ่งที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับหนึ่งคือการ รัน-อิน

รัน-อิน บางคนยังไม่รู้จัก และอีกหลายๆ คนคงนึกสงสัยว่าทำไมรถป้ายแดงจะต้องรัน-อิน เพราะทางโรงงานก็ได้ทำการ รัน-อิน เครื่องยนต์มาแล้ว ซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูก แต่สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เกียร์ เฟืองท้าย เบรก ช่วงล่าง ฯลฯ แม้จะมีมาตรฐานการผลิตกำหนดไว้ แต่การทำงานร่วมกันย่อมมีอาการ คับ ฝืด ตึง เป็นเรื่องธรรมดา

วิธีการรัน-อินรถป้ายแดงก็ไม่มีอะไรยาก เพียงแค่ในระยะ 2,000 – 3,000 กิโลเมตรแรกควรเอาใจใส่รถดังนี้

1. เครื่องยนต์

  • ไม่เติมหัวเชื้อใดๆลงในเครื่องยนต์เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุเก็บส่วนนั้นไว้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆจะเวิร์คกว่าครับ
  • อย่าเหยียบคันเร่งหลังจากเครื่องยนต์ติดแล้วทันที ควรรอให้น้ำมันหล่อลื่นวิ่งในเครื่องยนต์เสียก่อน และไม่ควรเปิดแอร์ทันที รอให้เครื่องยนต์อยู่ในอุณหภูมิทำงานก่อน
  • จริงอยู่รถใหม่ๆใครๆก็อยากลองความแรง ใจเย็นๆก่อนครับอย่างพึ่งใช้แรงม้าในช่วงเวลานี้
  • หากวิ่งในทางไกลหลีกเลี่ยงการใช้รอบเครื่องยนต์ที่คงที่เกิน 5 นาที และไม่ควรใช้รอบเครื่องเกิน 4,000 รอบ/นาที
  • หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันคลัทซ์ น้ำมันในหม้อน้ำฯลฯ
  • ควรให้รอบเครื่องเดินเบาที่สุดก่อนดับเครื่องโดยการปิดแอร์ (ห้ามเร่งเครื่องเพราะจะเป็นอันตรายกับกระบอกสูบเมื่อคุณติดเครื่องครั้งต่อไป)

2. เกียร์และเฟืองท้าย

  • เมื่อจะเปลี่ยนเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลัง ควรรอให้รถหยุดสนิทเสียก่อน แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติเวลาเปลี่ยนเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลังควรเหยียบเบรกให้รถหยุดสนิทก่อน 2-3 วินาที เพื่อให้ราวเกียร์หยุดหมุนอย่างสนิทเสียก่อน
  • หากขับรถทางไกลควรมีการหยุดพักรถทุกๆ 2 ชั่วโมง ซัก 5-10 นาที เพื่อการระบายความร้อนออกจากห้องเกียร์และเฟืองท้าย และคงสภาพให้น้ำมันไม่เสื่อมสภาพเร็ว
  • การปลดเกียร์ว่างในขณะที่รถเคลื่อนที่จะเป็นการทำลายระบบเกียร์โดยไม่จำเป็น เพราะน้ำมันเกียร์จะไม่ถูกสูบฉีดในห้องเกียร์อย่างเต็มที่

3. คลัทซ์

  • ควรใช้เบรกมือแทนการเข้าเกียร์และเหยียบคลัทซ์ค้างไว้ขณะรถติดไฟแดง
  • หากไม่จำเป็นไม่ควรใช้คลัทซ์แทนการเบรกยกเว้นกรณีฉุกเฉินเช่น ขับรถลงเขา
  • ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินความจำเป็นจะทำให้คลัทซ์เสื่อมเร็วขึ้น


4. ระบบพวงมาลัย กันสะเทือนและล้อ

  • ไม่หมุนพวงมาลัยอยู่กับที่โดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ลูกหมากระบบพวงมาลัยทำงานหนักโดยไม่จำเป็น
  • ชะลอรถเมื่อเจอหลุมหรือลูกระนาด
  • ไม่จอดรถในพื้นที่ตะแคงและหักล้อรถจนสุดด้านใดด้านหนึ่งเวลาจอดรถ
  • ตรวจสอบลมยางให้อยู่ในพิกัดเสมอ หากลมยางอ่อนจะเป็นการทำร้ายยาง ระบบช่วงล่าง และระบบพวงมาลัย

แหล่งที่มา     เว็บไซต์ THAIZA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...