วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มาตรการปรับเพิ่มค่าภาษีคาร์บอน ณ จุดผ่านแดน



มาตรการปรับเพิ่มค่าภาษีคาร์บอน ณ จุดผ่านแดน (Border Carbon Tax Adjustment) คือ 
มาตรการที่นํามาใช่ปรับอัตราภาษีให้สูงขึ้น ณ จุดผ่านแดนสําหรับสินค้าของประเทศส่งออกที่มีระดับคาร์บอนแฝงอยู่มากกว่าประเทศผู้นำเข้า โดยมาตรการภาษีที่ถูกนํามาใช้นั้นจะต้องเป็นภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร หรือ ค่าธรรมเนียม


ประเภทต่างๆ (Tariffs)
ยกตัวอย่าง เช่น ประเทศ ก. (ประเทศผู้ส่งออก) ยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายภาษีว่าด้วยการควบคุมระดับก๊าซคาร์บอน ดังนั้น สินค้าที่ผลิตจากประเทศ ก. จึงเป็นสินค้าที่มีต้นทุนต่ําและมีการเจือปนของก๊าซคาร์บอนแฝงอยู่มาก ประกอบกับหากพิจารณาในการผลิตแล้ว โรงงานในประเทศ ก. อาจมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณอันเกินสมควร หากเปรียบเทียบ กับประเทศ ข. (ประเทศผู้นําเข้า) ซึ่งได้มีการเก็บภาษีคาร์บอน หรือ มาตรการทางภาษีอื่นใดอันทําให้สินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในประเทศ ข. มีต้นทุนในการผลิตมากกว่า ในกรณีเช่นว่านี้ ประเทศ ข.  ในฐานะผู้นําเข้าจะใช้มาตรการปรับเพิ่มภาษีคาร์บอนในสินค้าที่ผลิตจากประเทศ ก. เพื่อเป็นการชดเชยความต่างของระดับคาร์บอนที่แฝงอยู่สินค้ารายการดังกล่าว  


ในปัจจุบัน มาตรการปรับเพิ่มค่าภาษีคาร์บอน ณ จุดผ่านแดนกําลังเป็นที่สนใจของประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศ ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปรับใช้มาตรกา รการเพิ่มภาษี ณ จุดผ่านแดนไว้ในกฎหมายฉบับต่างๆ เช่น The Clean Energy jobs and American Power Act (CEJAP Act) และ ประมวลรัษฐากรของสหรัฐฯ ว่าด้วยการควบคุมสินค้าที่เจือปนสาร Chlorofluorocarbon (CFCs) แต่อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมและมีแนวทางการปฎิบัติที่ชัดเจนมากกว่าในประเทศ


กลุ่มสหภาพยุโรป (EU)   ซึ่งบางประเทศใน EU นั้น ได้นํากฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ เช่น EU energy tax มาใช้ควบคู่กับกรอบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนในสหภาพยุโรป (European 
Union Emission Trading Scheme หรือ EU ETS)

กล่าวคือ หากประเทศใน EU  ส่งสินค้าไปยังประเทศที่ไม้มีมาตรการทางภาษีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประเทศสมาชิกผู้ส่งออกนั้นจะได้รับค่าชดเชยบางส่วนที่ได้จากการเสียภาษีสิ่งแวดล้อม  ในรายการดังกล่าว และในทางกลับกัน หากประเทศผู้นําเข้าที่ยังไม่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็จะถูกเพิ่มราคาสินค้าในรายการดังกล่าวให้สูงขึ้น หรือ อาจโดนบังคับให้ซื้อค่าสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission allowance)  ตามกรอบ EU ETS  เพื่อเป็นการชดเชยต่อสินค้าที่มีต้นทุนต่ําและอาจผลิตโดยกระบวนการที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 


ดังนั้น ประเด็นเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อมและมาตรการต่างๆ
ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สําคัญของประเทศไทยอันไม่อาจมองข้ามได้ในเวทีการค้าระดับโลก


แหล่งที่มา    MONTHLY JOURNAL JULY  2012 : VOL. 3 สํานักกฎหมาย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เรียบเรียงโดย : ดร.สุมาพร ศรีสุนทร นิติกรปฎิบัติการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...