วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาษากฎหมายไทย


พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 
คือ กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษซึ่่งรัฐธรรมนูญระบุชื่อไว้โดยเฉพาะ เป็นการกําหนดรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกําหนดหลักการกว้างๆ ไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น 


พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน 
คือ พระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาว่าด้วยการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือวางระเบียบการบังคับเกี่ยวกับภาษีหรืออากร ว่าด้วยการจัดสรร รับ จ่ายเงินแผ่นดิน หรือโอนงบประมาณรายจ่ายของแผนดิน ว่าด้วยการกู้เงิน การค้ําประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันกับทรัพย์สินของรัฐ หรือว่าด้วยเงินตรา



พระราชกําหนด 
คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในเรื่องเกี่ยวกับภาษีอากร หรือเงินตรา


พระราชกฤษฎีกา 
คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) โดยใช้อํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด เพื่อใช้ในการ
บริหารราชการแผ่นดิน

กฎกระทรวง
คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นผู้รักษาการตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจ ตามพระราชบัญญัติหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นการกําหนดรายละเอียดของเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่กําหนดในกฎหมายแม่บท



ศัพท์กฎหมาย

  • Organic law / Organic Act พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  • Monetary Act พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
  • Emergency Decree   พระราชกําหนด
  • Royal decree   พระราชกฤษฎีกา
  • Ministerial regulations   กฎกระทรวง
แหล่งที่มา    MONTHLY JOURNAL JULY  2012 : VOL. 3 สํานักกฎหมาย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เรียบเรียงโดย : นางสาวนภัสวรรณ โพธิภาค นิติกร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...