วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

Google Logo : 8 มีนาคม 2555 วันสตรีสากล



Women's Day - 2012  (วันสตรีสากล ปี 2012) 8 มีนาคม 2012



คลาร่า เซทกิ้น (CLARE ZETKIN) ค.ศ.1857 - 1933 (พ.ศ.240 - 2476)
ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล

คลาร่า เซทกิ้น เธอจึงได้รับการขนานนามว่า มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล เป็นผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล

นักการเมืองหญิงสายมารค์ซิสต์ และอิตถีนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้ริเริ่มวันสตรีสากลชื่อเดิมชื่อ คลาร่า ไอนส์เนอร์ เกิดที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400) จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเมืองไลป์ซิก และพบรัก กับเพื่อนนักศึกษาชาวรัสเซียด้วยกัน นามว่า ออพซิป เซทกิ้น และได้แต่งงานด้วยกันในเวลาต่อมา มีบุตร 2 คน และเป็นหม้ายในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) 
         
ในปี ค.ศ.1884 (พ.ศ.2424) ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) ซึ่งเป็น พรรคการเมืองที่ก่อตั้งได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกยุบ โดยมหาเอกอัครเสนาบดีของปรัสเซีย (เยอรมัน) นามว่า ออทโต ฟอน บิสมารค์ และคลาร่าได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวิตท์เซอร์

ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) คือ 8 ปี ให้หลังคลาร่าได้กลับสู่เยอรมันดินแดนมาตุภูมิ คลาร่ากลับมาพร้อมกับการก่อตั้ง กลุ่มนักสังคม นิยมหญิง หลักจากนั้น ในปี ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ได้ริเริ่มในการเสนอให้กำหนดวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล 

นับจากปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในขณะที่ประเทศเยอรมันกำลังทำสงครามโลกครั้งที่ 1 คลาร่า เซทกิ้น ได้ร่วมมือกับ โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (นัดคิดสายมารค์ซิสต์หญิงคนสำคัญ) ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามกลุ่ม สปาร์ตาซิสต์* จึงทำให้คลาร่าเดินเข้าออกจากคุกนับครั้งไม่ถ้วน 

*กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ (spatarcist) เป็นกลุ่มกรรมการในเยอรมันที่ประท้วงรัฐบาลเยอรมันสมัยนั้น ในการทำสงครามโลก ครั้งที่ 1 ภายใต้การนำของ 2 นักสังคมนิยมเยอรมัน โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (Rosa Luxemburg) และคารล์ เลี๊ยบเนคท์ (Karl Liebknecht) ด้วยความคิดที่ว่า ทหารที่ส่งไปรบและล้มตาย ก็คือประชาชน หรือผู้ใช้แรงงาน สงครามเป็นการกระทำที่สนองตัณหาของรัฐบาล ในการต้องการความยิ่งใหญ่ แต่ประชาชนมีแต่ต้องสูญเสีย (กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อของ สปาร์ตาคัส ผู้นำของทาศ ในยุคโรมันโบราณที่หาญกล้าขึ้นปฏิวัติล้มอำนาจของจักรพรรดิโรมันยุคโบราณ) 

วันสตรีสากลในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนาและจัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น "วันสตรีไทย" ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการประกาศถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวลี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยกับประเทศ ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายท่าน เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนาสุนันท์, คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และคุณปวีณา หงสกุล ฯลฯ

วันสตรีไทยถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็นหัวหน้างานมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบัน จึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...