วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สิทธิประโยชน์ ประกันสังคมแบบประกันตนเอง มาตรา 39

ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป
ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้ นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง [มาตรา 39 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

การคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39 มีเงื่อนไขอย่างไร
  1. ผู้ประกันตนมาตรา 39 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือน ติดต่อกันหรือภายในระยะเวลา 12 เดือน มีการส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน
  2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนในช่วงวันที่ 30 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 หากผู้ประกันตนเข้าเงื่อนไข 2 ข้อ สามารถติดต่อขอรับการคืนสิทธิมาตรา 39 โดยเตรียมเอกสารดังนี้
    • ยื่นแบบ สปส. 1-20/1 ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก ยกเว้น สำนักงานใหญ่
    • บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
หมายเหตุ สำหรับผู้ประกันตนที่มีการลาออกจากมาตรา 39 เองจะไม่สามารถสมัครได้

ผู้ประกันตนลาออกจากสถานประกอบการมาแล้ว 6 เดือน และได้เข้าทำงานที่ใหม่ จะต้องทำอย่างไรบ้าง
กรณี เข้าทำงานใหม่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างครบตามที่กฎหมายกำหนดจะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีก และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 

เพิ่งลาออกจากงานประมาณ 1 เดือน จะสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ต่อไปจะทำอย่างไร
ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อไปจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันลาออก 

ในกรณีลูกจ้างต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนเอง แต่ยังทำงานอยู่สามารถทำได้หรือไม่
การประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ก่อน 

อยากทราบว่า เมื่อเราพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างบริษัทแล้ว ถ้าต้องการที่จะประกันตนเองต่อจะทำอย่างไร
ลูกจ้างที่ต้องการจะได้รับความคุ้มครองต่อจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากบริษัท และต้องส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท และได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกับขณะที่ยังเป็นลูกจ้างอยู่

สงสัยมาตรา 39 ทำไมผู้ประกันตนต้องส่งส่วนของนายจ้างทั้งๆ ที่คนว่างงานเดือดร้อนอยู่แล้ว
กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินสมทบ ร้อยละ 9  ของจำนวนเงิน 4,800 บาท เงินสมทบเดือนละ 432 บาท เพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณี คือ
  1.  กรณีประสบอันตราย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. และชราภาพ
ผู้ประกันตนมาตรา 39 ขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน ทำให้ขาดสิทธิจะทำอย่างไร
ในกรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน  สิทธิจะถูกตัดในวันที่ 15 ของการขาดส่งเดือนที่ 3 และในกรณีการส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน เมื่อนับย้อนกลับไป 12 เดือนสิทธิจะถูกตัดเช่นเดียวกัน ต้องกลับเข้าสู่ระบบการเป็นลูกจ้าง (ม.33) ใหม่เมื่อลาออกจะได้สิทธิประกันตนมาตรา 39 อีกครั้ง 

ลูกจ้างที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน
กฎหมายกำหนดให้สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

ในกรณีลูกจ้างต้องการย้ายเข้าประกันตนเอง แต่ยังทำงานอยู่สามารถทำได้หรือไม่
การประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ก่อน

สอบถามกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 อยู่แล้ว และมีการลาออกไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ 1 เดือน
กรณี มีความประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 อีกจะต้องยื่นแบบแสดงความจำนงขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) พร้อมเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาใหม่

พนักงานที่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง แต่ต้องการส่งประกันสังคมเอง
พนักงาน ที่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง และต้องการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเองต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ น้อยกว่า 12 เดือน และให้ยื่นแบบแสดงความจำนงขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง 

สาเหตุที่ทำให้สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอะไรบ้าง
  1. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง)
  2. ลาออก
  3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
  4. ตาย
  5. ภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน
**กรณีลาออกหรือกลับเข้าทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ยื่นแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-21)

ลูกจ้างอายุครบ 60 ปี นายจ้างให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุจะมาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้
ได้ หากส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน ถ้าอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วสมัครไม่ทันภายใน 6 เดือน จะกลับเข้าสู่ระบบประกันสังคมไม่ได้อีก เนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์สำหรับการขึ้นทะเบียนใหม่ 

ผู้ประกันตนที่ลาออกจากมาตรา 33 แล้วจะสมัครในมาตรา 39 ได้หรือไม่
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน และให้สิทธิคุ้มครองผู้ประกันตน 6 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ยกเว้นกรณีว่างงาน แต่ถ้าเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 อยู่จะออกมาประกันตนในมาตรา 39 ไม่ได้จนกว่าจะมีการลาออกจากงาน 

ผู้ถูกเลิกจ้าง อยากให้ประกันสังคมขยายระยะเวลาการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ให้มากกว่า 6
การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หากต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องสมัครภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเพื่อให้สอดคล้องกับการได้รับการคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ในการที่จะให้ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง จนถึงการได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ด้วย 

ทำไมผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างด้วย
กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินสมทบ 2 เท่าของอัตราเงินสมทบ โดยคำนวณจากฐาน 4,800 x 9% = 432 บาท เพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ยกเว้นกรณีว่างงาน 

ทำไมการคำนวณเงินสมทบจะต้องคิดจากฐาน 4,800 บาท ทุกคน ถ้าหากเงินเดือนที่ลูกจ้างได้รับไม่ถึง 4,800
กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวนเดือนละ 4,800 บาท อัตราเดียวเท่ากันทุกคน

มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

แหล่งที่มา   เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

255 ความคิดเห็น:

  1. การจะสิ้นสุดผู้ประกันตนในมาตรา 39 กรณีหากลืมส่งเงินหรืออาจจำวันผิดพลาดเรื่องส่งเงินสมทบ ก่อนจะตัดสิทธิ์ ทำไม่มีระบบแจ้งเตือนผู้ประกันตนก่อนตัดสิทธิ์ เหมือนระบบอื่นๆ ทีมีการแจ้งก่อนตัด

    ตอบลบ
  2. ถึง คุณที่สอบถาม (ไม่รู้ชื่อ)

    สำหรับข้อคำถามนี้ได้ฝากถามไปยังเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมให้เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ช่วงดึก และได้รับคำตอบทางอีเมล์ในวันนี้

    จาก : contactcenter@1506.sso.go.th ;
    หัวข้อเมล์ : ช่องทางการนำส่งเงินสมทบ
    คำตอบ :
    จากข้อมูลที่มีการสอบถามมายังสำนักงานประกันสังคมสำหรับเงื่อนไขหลักเกณท์การสมัครประกันตนเองมาตรา 39 สำหรับกรณีการตัดสิทธิมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนมีการขาดการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันหรือภายใน 12 เดือนนำส่งไม่ถึง 9 เดือน ซึ่งในการสมัครประกันตนเองมาตรา 39 ในวันที่มีการสมัครทางสำนักงานประกันสังคมจะมีการแนะนำหรือแจ้งระเบียบในการนำส่งเงินสมทบให้กับทางผู้ประกันตนรับทราบแล้ว สำหรับการแจ้งเตือนการนำส่งเงินสมทบทางสำนักงานประกันสังคมมีการปฏิบัติแจ้งเตือนผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่ทั้งนี้ ความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นกรณีการสมัครใจและมีช่วงระยะเวลาในการชำระเงินสมทบมีเงื่อนไขให้แก่ผู้ประกันตนรับทราบก่อนการสมัคร จึงทำให้การติดตามเป็นการทวงการชำระซึ่งอาจจะทำให้ผู้ประกันตนรู้สึกไม่ดีต่อการแจ้งเตือน
    แต่หากผู้ประกันตนมีการถูกตัดสิทธิประกันสังคม ทางสำนักงานประกันสังคมจะมีการแจ้งเอกสารการตัดสิทธิให้กับทางผู้ประกันตนรับทราบพร้อมทั้งแจ้งการับเงินชราภาพที่สะสมคืนเมื่อมอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และสถานะความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงแล้วค่ะ
    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 และระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ไม่ทราบว่าคำตอบที่ได้รับชัดเจนพอหรือไม่ หากมีข้อคำถามเพิ่มเติมให้ติดต่อทางอีเมล์ที่ให้ไว้โดยตรง หรือติดต่อทางโทรศัพท์ CALL CENTER ก็ได้ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มาตรา 39 เป็นกรณีการสมัครใจและมีช่วงระยะเวลาในการชำระเงินสมทบมีเงื่อนไขให้แก่ผู้ประกันตนรับทราบก่อนการสมัคร จึงทำให้การติดตามเป็นการทวงการชำระซึ่งอาจจะทำให้ผู้ประกันตนรู้สึกไม่ดีต่อการแจ้งเตือน
      อ่านเหมือนจะดี แต่ ถามหน่อย ถ้ามีการแจ้งเตือนตั้งแต่เดือนแรกที่ขาด จะดีกว่า นะ บางทีคนเรา นะไม่ได้ มานั่งว่าง ต้อวคอยดุเงินในบัญชีว่าพอหักมั้ย ถ้าแจ้งเตือนตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง จะได้ รู้ ล่วงหน้า รีบเอาเงินเข้า แต้นีาแจ้งตอน สิ้นสภาพแล้ว แจ้งเพื่ออะไร มีวิธีไหน จะช่วยผู้ประกันตนได้ บ้าง อย่าผลักความรับผิดชอบ มาที่ผู้ประกันตนฝ่ายเดียว เงินก็เอาไปบริหาร ทุกเดือน เงินใคร มีปัญหาอะไร ไม่เคยเห็นทางประกันสังคมจะช่วยแก้ได้เลยนอกจากผลักความรับผิดชอบมาที่ผู้ประกันตน

      ลบ
  3. ผมเคยเป็นผู้ประกันตน ม.39 แต่ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากขาดส่ง (ด้วยความเข้าใจผิดเรื่องระยะเวลา) อยากกลับเข้าสู่ ม.39 ใหม่ มีวิธีการอย่างไรบ้าง และถ้ากลับไปเป็นลูกจ้างต้องอยู่ใน ม.33 อย่างน้อยกี่เดือนครับ

    ภาณุวัฒน์

    ตอบลบ
  4. ตอบ คุณ Richy Walker

    ได้สอบถามผ่านทางเว็บไซต์ประกันสังคมและได้ตอบกลับทางอีเมล์ดังนี้

    หลักเกณท์การสมัครมาตรา 39
    เบื้องต้นจากข้อมูลที่มีการสอบถามมายังสำนักงานประกันสังคมสำหรับการประกันตนเองมาตรา 39 หากผู้ประกันตนมาตรา 39 มีการขาดการนำส่งเงินสมทบและทางสำนักงานประกันสังคมมีการตัดสิทธิ หากต้องการต่อประกันตนเองมาตรา 39 อีกครั้งต้องกลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ก่อนค่ะ การกลับเข้าทำงานใหม่ทางสำนักงานประกันสังคมไม่มีกาารระบุระยะเวลาในการทำงานค่ะ หากมีการลาออกจากงานแล้วสามารถสมัครมาตรา 39 ได้ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานเช่นเดิมค่ะ
    จึงเรียนมาเพื่อทราบ

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อทางอีเมล์ที่เขาตอบกลับมา คือ contactcenter@1506.sso.go.th

    ตอบลบ
  5. กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ทุพพลภาพจะได้สิทธิอย่างไรบ้างค่ะ

    ตอบลบ
  6. ถึง ผู้ไม่ระบุชื่อ

    ได้สอบถามไปยังสำนักงานประกันสังคมให้แล้ว กำลังรอคำตอบ ถ้าได้คำตอบจะตอบกลับทันที

    ตอบลบ
  7. ถึง ผู้ไม่ระบุชื่อ

    ได้รับคำตอบอีเมล์จากสำนักงานประกันสังคมดังนี้

    เบื้องต้น หลักเกณฑ์เงื่อนไข ได้รับสิทธิต่อเมื่อได้ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดให้เป็นผู้ทุพพลภาพ สิทธิที่ได้รับ

    1. บริการทางการแพทย์
    1.1 กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐบาล
    ผู้ทุพพลภาพสามารถเข้าในสถานพยาบาลที่เลือก หรือสถานพยาบาลของรัฐทั้งในกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกได้โดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทางสถานพยาบาลจะเป็นผู้มายื่นเรื่องเบิกที่สำนักงานประกันสังคม

    เอกสารที่สถานพยาบาลของรัฐมายื่นเบิกกับทางสำนักงานประกันสังคม มีดังนี้
    1. แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม (สำหรับสถานพยาบาล) (สปส.2-19)
    2. ใบรับรองแพทย์
    3. ใบเสร็จรับเงินหรือใบสรุปค่าใช้จ่าย


    1.2 กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน ผู้ทุพพลภาพสำรองค่ารักษาและไปยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม
    - กรณีผู้ป่วยนอก จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
    - กรณีผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

    2. ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท เอกสารที่ผู้ทุพพลภาพยื่นเบิกค่าพาหนะกับทางสำนักงานประกันสังคม โดยกรอกแบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01/3)

    3. เงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนโดยได้รับตลอดชีวิต ผู้ที่ได้รับอนุมัตเป็นผู้ทุพพลภาพก่อนวันที่ 30 มีนาคม 2538 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เป็นเวลา 15 ปี

    4. กรณีผู้ทุพพลภาพถึงแก่ความตายจะได้รับสิทธิดังนี้
    4.1 ค่าทำศพ 40,000 บาท
    4.2 เงินสงเคราะห์กรณีตายตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบก่อนทุพพลภาพ ดังนี้
    - ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหนึ่งเดือนครึ่ง
    - ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยห้าเดือน

    5. ได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางร่างกาย จิตใจและอาชีพเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 40,000 บาท ต่อราย ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์อัตราฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ซึ่งผู้ทุพพลภาพจะต้องพร้อมที่จะรับ การฟื้นฟูโดยสามารถติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา เพื่อกรอกแบบเพื่อเข้ารับการฟื้นฟู

    หากมีข้อมูลอื่นสอบถามสามารถติดต่อที่สายด่วน 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อ3เฉลี่ยคืนรายได้จากอะไรในเมื่อคนไม่มีรายได้ส่งมาตรา39อง

      ลบ
    2. ตอบ คุณวีระ คีรีไกวัล9 กรกฎาคม 2558 19 นาฬิกา 12 นาที 00 วินาที GMT+7

      คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท สำหรับการส่งประกันตนเอง ม.39 จะส่งเดือนละ 432 บาทคะ

      ลบ
  8. อยากทราบเกี่ยวกับการประกันตนค่ะ เป็นผู้ประกันตนหลังออกจากงานและได้ส่งเงินสมทบประกันตนมาตรา 39 ครบ 1 ปี และตอนนี้ได้งานใหม่ ซึ่งบรรจุในโรงเรียนเอกชนไม่มีประกันสังคมให้ แต่มีวงเงินในการรักษาพยาบาลให้ 100000 บาท ต่อปี ดิฉันยังต้องส่งเงินสมทบอยู่หรือต้องไปลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนเองค่ะ และถ้าลาออกแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างค่ะ

    ตอบลบ
  9. เรียน ผู้ที่ไม่ได้ระบุชื่อ

    ได้ส่งคำถามของคุณไปยังสำนักงานประกันสังคมเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2556 และเพิ่งได้รับคำตอบจากอีเมล์ในวันนี้ (5 มิ.ย. 2556) ดังนี้

    จาก contactcenter@1506.sso.go.th
    เรื่อง ตอบข้อสอบถาม

    สำนักงานประกันสังคมขอเรียนว่า กรณีที่สอบถามถ้าเป็นผู้ประกันตน ม.39 อยู่ และได้ทำงานโดยที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
    - หากผปต.ไม่ต้องการลาออกโดยจะส่งต่อไปก็ได้ หรือ
    - ถ้าลาออกสิทธิคุ้มครองต่อ 6 เดือนใน 4 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพและเสียชีวิต

    ส่วนเงินออมกรณีชราภาพ คุณจะได้รับเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสภาพความเป็นผปต.

    ทั้งนี้ในกรณีเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 อยู่ และมีการลาออก การจะกลับมาเป็นผปต.มาตรา 39 ได้ผปต. ก็จะต้องกลับเข้าทำงานสถานประกอบการที่อยู่ในระบบประกันสังคม และเมื่อลาออกจากงานจึงมีสิทธิมาสมัครภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ลาออก

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ

    ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม
    วันที่ 4/06/2556
    ---------------------------------------------------
    ไม่ทราบว่าคำตอบข้างต้นจะตรงตามที่ถามหรือไม่ หากมีข้อสงสัยใดให้เมล์สอบถามโดยตรงถึงสำนักงานประกันสังคม contactcenter@1506.sso.go.th หรือโทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ CALL CENTER 1506

    ตอบลบ
  10. ถ้าลืมส่งเงินผ่านบญชีธนาคาร แต่ไปจ่ายเองโดยตรง เดือนถัดไปจะตัดบัญชีธนาคารอัตโนมัติต่อเนื่องหรือไม่?

    ตอบลบ
  11. ได้รับคำตอบจากสำนักงานประกันสังคมทางอีเมล์ ดังนี้

    เรื่อง ช่องทางในการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39
    จาก contactcenter@1506.sso.go.th

    เบื้องต้นจากข้อมูลที่มีการสอบถามมายังสำนักงานประกันสังคม สำหรับกรณีการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 หากผู้ประกันตนมีการนำส่งเงินสมทบโดยการหักผ่านบัญชีธนาคาร แต่ไม่มีการสำรองเงินในบัญชี สำหรับเงินสมทบประจำงวดนั้น ผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งผ่านทางช่องทางอื่นค่ะ ระบบจะไม่มีการหักผ่านบัญชีย้อนหลัง ในเดือนถัดไปแนะนำให้สำรองเงินในบัญชีปกติและให้ตรวจสอบเงินสมทบอีกครั้ง หลังจากที่ถึงกำหนดระยะเวลาในการนำส่งเงินสมทบค่ะ

    หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสอบถามทางอีเมล์ด้านบน หรือ Call center 1506

    ตอบลบ
  12. ต้องการสอบถามในกรณี ที่ในอดีตเคยทำงาน ถูกหักเงินประกันสังคมมาเป็นเวลา 12 เดือน แล้วลาออกจากงาน หลังจากนั้นไม่ได้ส่งเงินประกันสังคมต่ออีกเลย เป็นเวลา 4ปี ตอนนี้ยังถือเป็นผู้มีสิทธิ์หรือไม่ หากต้องการส่งต่อควรทำอย่างไร ติดต่อหน่วยงานใด หมากหมดสิทธิ์แต่ต้องการสมัครประกันตนเองได้หรือไม่ ถ้าได้ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ถ้าไม่ได้ต้องบริหารจัดการกับเงินที่เคยส่งไปอย่างไร

    ตอบลบ
  13. ได้รับคำตอบจากสำนักงานประกันสังคม ว่า

    เรื่อง สิทธิประกันสังคม
    จาก contactcenter@1506.sso.go.th

    ตามเงื่อนไขของทางประกันสังคมต้องมีหลักเกณท์ ดังนี้ค่ะ
    1.มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์หรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย และ
    2.ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหากปัจจุบันผู้ประกันตนมีสถานะความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงแล้วแต่อายุยังไม่ครบ 55 ปี จะไม่สามารถรับได้ค่ะ ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบตามหลักเกณท์และเงื่อนไขของทางประกันสังคมค่ะ

    หากผู้ประกันตนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมีการขาดการนำส่งเงินสมทบ และถูกตัดสิทธิจากทางสำนักงานประกันสังคม หากมีความประสงค์จะต่อประกันตนเองมาตรา 39 นั้นต้องมีการกลับเข้าทำงานใหม่ หากมีการลาออกจากงานแล้วสามารถสมัครมาตรา 39 ได้อีกภายใน 6 เดือนหลังจากที่มีการลาออกจากงานค่ะ หรือรอการคืนสิทธิจากทางสำนักงานประกันสังคม หากทางสำนักงานประกันสังคมมีการคืนสิทธิสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ถูกตัดสิทธินั้น ทางสำนักงานประกันสังคมจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้งค่ะ ส่วนกรณีการรับเงินสะสมชราภาพคืนนั้น ผู้ประกันตนต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณท์และเงื่อนไขที่มีการแจ้งข้างต้นค่ะ

    หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสอบถามทางอีเมล์ด้านบน หรือ Call center 1506

    ตอบลบ
  14. สมมุิติ หากทำประกัน สังคมแบบประกันตนมาตรา 39 มาตั้งแต่อายุ 23 แล้ว จะได้เงินคืนบ้างไหมคะหากจ่ายเบี้ยประกันครบ 15 ปี ตอนอายุ 38 หรือจะได้รับเงินบำนาญครั้งเดียวที่ตอนอายุ 55 ปีค่ะ
    หากได้รับเงินบำนาญตอน 55 ปี แปลว่า เราส่งเงินบำนาญ ถึง 38 ปี กว่าจะได้เงินคืน แล้วเราจะได้เงินเยอะกว่า คน ที่จ่ายเงินบำนาญแค่ 15 ปีใช่ไหมคะ
    หรือพูดง่ายๆอีกอย่างคือ หากประกันตน นาน 15 ปีแต่อายุไม่ถึง 55 ปี เราจะได้รับเงินคืนบ้างไหมคะ


    อีกคำถาม ผู็้้้ประกันตนมีอาชีพ อิสระเป็นเจ้านายตัวเอง ไม่ผิดใช่ไหมคะ หากจะเบิกจ่ายปกติ เพราะมีป้าคน 1 กินเงินเดือนลูกสาวโดยมีเงินโอนเข้าบัญชีทุกเดือน เดือนละ5000 บาทแล้วเกิดเข้าใจผิด ว่า แอบไปทำงานโดยมีเงินเดือนแล้วไม่แจ้งแต่เจ้าพนักงาน ทำให้ถูกตัดสิทธะ์ ผู้ประกันตน มาตรา 39


    หากจ่ายประกันสังคม อายุตั้งแต่ 23 นาน ถึง 38 ปี ถึงจะครบอายุ 55 ปีมันนานมากเลยนะคะกว่าจะได้เงินคืน ช่วยอธิบายหน่อยคะ












    ตอบลบ
  15. สำหรับคำถามที่ถามมานี้ เป็นเรื่องสมมุติไม่ใช่เรื่องจริงหรือ???

    ก่อนอื่นๆ คงต้องทำความเข้าใจกับ "ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร" เสียก่อน

    1) มาตรา 33
    ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน

    2) มาตรา 39
    ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

    3) มาตรา 40
    บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน

    สำหรับคำถามมาตรา 39 คือผู้ประกันตนที่เคยเป็นลูกจ้างมาก่อน แล้วสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างโดยจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 12 เดือนจึงจะสามารถสมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน หากพ้นกำหนดก็จะไม่สามารถสมัครได้ ดังนั้นเมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็คือการส่งประกันด้วยตนเอง

    การจะได้รับเงินคืนจากการประกันสังคมในกรณีชราภาพ มี 2 แบบ
    1) กรณีบำนาญชราภาพ
    จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
    การจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตรา 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

    2) กรณีบำเหน็จชราภาพ
    จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

    กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

    หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสอบถาม Call center 1506

    ตอบลบ
  16. จะเช็คได้อย่างไรค่ะว่ามีเงินสะสมเท่่าไหร่แล้ว และต้องส่งถึงอายุเท่าไหร่ ( ม. 39 ) เพราะได้ส่งตั้งแต่เริ่มมีประกันสังคมโดยส่ง ม. 33 และ ม. 39 สลับกันมาจนถึงปัจจุบัน ( ทำงาน ม. 33 ออกจากงานเป็น ม. 39 )

    ตอบลบ
  17. ได้รับคำตอบจากสำนักงานประกันสังคม ว่า

    เรื่อง สิทธิประกันสังคม
    จาก contactcenter@1506.sso.go.th

    สำหรับกรณีชราภาพผู้ประกันตนจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณท์และเงื่อนไข ดังนี้ค่ะ จึงจะสามารถรับได้

    **กรณีเงินบำนาญชราภาพ
    1. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม และ
    2. ต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และ
    3. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

    **กรณีบำเหน็จชราภาพ
    1. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 180 เดือน และ
    2. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์หรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย และ
    3. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

    กรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมีการลาออกจากงานและมีการสมัครประกันตนเองเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สำหรับกรณีเงินสะสมชราภาพจะมีการนับต่อเนื่อให้ค่ะ เพราะทั้ง 2 มาตรามีการคุ้มครองชราภาพเช่นเดียวกันค่ะ

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  18. ขอเพิ่มคำตอบอีกนิด

    การตรวจสอบยอดเงินออมชราภาพ จะต้องทำการตรวจสอบด้วยตนเอง โดยตรวจสอบได้ผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ ตรวจสอบที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ หรือ ผ่านทางเว็บไซต์ประกันสังคมเป็นการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล(มีการสมัครเป็นสมาชิกแล้ว) ค่ะ

    ตอบลบ
  19. อาชีพครู รร.นนานาชาติ มีใบประกอบวิชาชีพครู ทางรร.ทำประกันสังคมให้เฉพาะมาตรา39เท่านั้น ถ้าวันไหนถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินกรณีว่างงานไหมคะ (ถ้าใครไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู สามารถทำประกันสังคมมาตรา33ได้)

    กองทุนสงเคราะห์ครูมีข้อจำกัด ให้สิทธิ์ประโยชน์ไม่ครบ ไม่ครอบคลุมเเหมือนกับรร.เอกชน ครูที่รร.นานาชาติที่นี่จึงไม่มีใครอยากเข้ากองทุนสงเคราะห์ จ่ายเงินเท่ารร.เอกชน แต่ได้สิทธิ์น้อยกว่า

    ตอบลบ
  20. ขอให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสังคมก่อน ดังนี้

    1. ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มีกี่ประเภท? ดูได้ที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/06/blog-post_12.html
    2. "บำเหน็จชราภาพ" จากกองทุนประกันสังคม ดูได้ที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/07/blog-post_8821.html

    จากข้อมูลที่เคย post ไปแล้ว ตามข้อ 1-2 น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  21. รบกวนหน่อยค่ะคือคุณแม่ขาดส่งประกันตนเองมาตั้งอต่เดือนกุมภา56 และถูกตัดสิทธิแล้ว แต่ว่าที่ทำงานเดิมให้กลับไแทำงานเมื่อวันที่ 1มิถุนายน 56 ตินนี้คุณแม่อายุครบ60ปีเต็ม และที่ทำงานต้องรอให้ทำงานครบ 3 เดือนก่อนถึงจะต่อประกันสังคมให้ แบบนี้จะสามารถต่อประกันสังคมได้อยู่หรือเปล่าเพราะอายุ 60 ปีบริบูณร์แล้ว

    ตอบลบ
  22. ตอบคำถามคุณ ชไมพร กันธิมัย

    ได้ค่ะ การต่อประกันสังคมจะเกิดขึ้นได้ทันทีเมื่อได้กลับมาเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ หากยังได้รับการว่าจ้างก็เข้าหลักเกณฑ์ประกันสังคมเท่าเทียมเสมอกันค่ะ

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  23. อยากสอบถามว่าถ้าส่งเงินประกันสังคมในม.39ซึ่งต่อเนื่องจากม.33หลังจากที่ได้ลาออกจากงานจนเกิน180เดือนแล้ว ถ้าจะลาออกจากม.39คือไม่ส่งแล้ว เมื่ออายุครบ 55 ปีจะได้เงินบำนาญชราภาพไหมครับ และได้กี่เปอร์เซนต์คิดจากตรงไหน ใช่คิดจากยอดเงินเดือนที่ทำงานเก่าใช่รึเปล่าครับ

    ตอบลบ
  24. ได้รับเงินบำนาญชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปี

    การตรวจสอบยอดเงินออมชราภาพ
    1. จะต้องทำการตรวจสอบด้วยตนเอง โดยตรวจสอบได้ผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ
    2. ตรวจสอบที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ หรือ
    3. ผ่านทางเว็บไซต์ประกันสังคมเป็นการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล (มีการสมัครเป็นสมาชิกแล้ว) ค่ะ

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  25. เป็นผู้ประกันตนมาตรา33มา19ปี6เดือนและได้ลาออกจากงานมา5เดือนไม่ได้ใช้สิทธิ์กรณีว่างงานจะสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา39ได้หรือไม่ ใช้เอกสารอะไรบ้างยื่นเรื่องได้ที่ไหนหรือยื่นที่ไหนก็ได้กรณีเงินชราภาพเราต้องส่งประกันสังคมจนครบอายุ55ปีใช่มั้ยตอนนี้อายุ38ปีต้องส่งประกันสังคมต่ออีกประมาณ17ปี ต้องส่งปีละประมาณ5,184(432X12)17ปีก็ประมาณ88,128(5,184X17)อยากทราบว่าเราจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จหรือบำนาญและจะได้ประมาณเท่าไหร่ขอคำตอบแบบคร่าวๆค่ะ ปล..รบกวนปรึกษาค่ะ ระหว่างใช้สิทธิ์ประกันสังคมมาตรา39กับใช้สิทธิ์ของสามีอันไหนดีกว่ากันคะสามีทำงานเขตเป็นลูกจ้างชั่วคราวยังไม่ได้ประจำค่ะ รบกวนตอบด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  26. อยากสอบถามว่ากรณีที่เราจะเข้าโรงพยาบาลอื่นที่เป็นโรงพยาบาลที่เราไม่ได้เลือกไว้จะสามารถเข้าได้ไหมแล้วสามารถไปเบิกไปประกันสังคมได้หรือไม่กรณีเจ็บป่วย

    ตอบลบ
  27. เมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออกเอง ดูรายละเอียดได้ที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/08/blog-post_3534.html

    การตรวจสอบยอดเงินออมชราภาพ
    1. จะต้องทำการตรวจสอบด้วยตนเอง โดยตรวจสอบได้ผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ
    2. ตรวจสอบที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ หรือ
    3. ผ่านทางเว็บไซต์ประกันสังคมเป็นการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล (มีการสมัครเป็นสมาชิกแล้ว) ค่ะ

    ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
    - เอกสารที่ใช้ ให้ยื่นแบบแสดงความจำนงขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง + บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  28. สวัสดีค่ะ ดิฉันอย่างสอบถามว่า แม่ของดิฉันสงประกันสังคมให้พี่ชายทุกเดือนจนพี่ชายมาล้มป่วยแล้วเสียชีวิต แต่พี่ชายมีภรรยาจดทะเบียนสมรสด้วย ดิฉันอยากทราบว่า แม่ของดิฉันจะได้รับเงินทางประกันสังคมหรือป่าวค่ะ หรือว่าถ้าภรรยาของพี่ชายดิฉันเป็นคนรับแต่เพียงผู้เดียว ช่วยตอบด้วยค่ะ ขอบคุณมาก จาก บำเพ็ญ

    ตอบลบ
  29. ได้รับคำตอบจากประกันสังคมเกี่ยวกับการเข้าโรงพยาบาลอื่น สำหรับกรณีเจ็บป่วย ดังนี้

    สำหรับกรณีเจ็บป่วยนั้น สามารถเข้าทำการรักษาสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ หรือเครือข่ายได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอันตรายและไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลได้กรณีผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เนื่องจากประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลโดยเร็ว โดยสำนักงานประกันสังคม จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากผู้ประกันตนมีความจำเป็นในการเข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาลอื่น สามารถยื่นเรื่องเบิกคืนได้เฉพาะกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉินเท่านั้นค่ะ

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  30. ได้รับคำตอบจากประกันสังคมเกี่ยวกับการรับเงิน กรณีเสียชีวิต ดังนี้

    สำหรับกรณีเสียชีวิต ตามหลักเกณท์และเงื่อนไขของทางสำนักงานประกันสังคม ผู้ที่มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตและเงินชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้ค่ะ

    1. ค่าทำศพ 40,000 บาท จ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ ได้แก่
    - บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
    - สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
    - บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

    2.เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย จ่ายให้แก่ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย หากผู้ประกันตนมิได้ทำหนังสือระบุไว้ จะเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ในจำนวนเท่ากัน ดังนี้
    - ก่อนผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินสงเคราะห์จำนวนร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย 3 (หรือเท่ากับ 1.5 เดือน)
    - ก่อนผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสงเคราะห์จำนวนร้อยละ 50ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย 10 (หรือเท่ากับ 5 เดือน)

    ผู้ที่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ จะประกอบไปด้วย
    1. บิดา มารดา ที่ถูกต้องตามกฏหมาย หากไม่มีการจดทะเบียนสมรส มารดามีสิทธิ
    2. ภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมาย
    3. บุตร ที่ถูกต้องตามกฏหมาย

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  31. ถ้าใช้ประกันสังคม มาตรา 40 อยู่ จะเปลี่ยนเป็น 39 ควรทำอย่างไรดีค่ะ

    ตอบลบ
  32. ตอบคำถาม คุณ Phet Sang

    ก่อนอื่นจะต้องเข้าทำงานในสถานประกอบการที่หักประกันสังคมก็จะเป็นลูกจ้างในมาตรา 33 และเมื่อสิ้นสภาพลูกจ้าง ก็จะสามารถสมัครเป็นมาตรา 39 ได้ค่ะ

    ส่วนประกันสังคมมาตรา 40 คือ ผู้ทำงานอิสระ หรือไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการที่หักประกันสังคม ก็จะสามารถสมัครเข้าร่วมมาตรา 40

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://carebest2555.blogspot.com/2012/05/333940.html

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  33. ปัจจุบันทำงานจ้างเหมาให้กับหน่วยงานรัฐบาลอยู่ค่ะ ไม่มีการทำประกันสังคมให้
    ก็เลยไปทำประกันสังคมในมาตรา 40 แต่แล้วทีนี้จะเปลี่ยนเป็น มาตรา 39 เพราะ 40 ไม่ได้ช่วยอะไรในส่วนที่จะคุ้มครองเลยค่ะ
    เลยอยากจะทราบว่า ถ้ายกเลิกควรทำอย่างไรบ้างค่ะ

    ตอบลบ
  34. ถ้าสมัครมาตรา39ไปแล้วได้ประมาณอาทิตย์กว่าแล้วยังไม่ได้ส่งเงินสมทบเลย แล้วอยากเปลี่ยนไปทำบัตรทองจะต้องทำยังไงคะ แล้วถ้าลาออกจากมาตรา39แล้ว สามารถทำบัตรทองได้เลยหรือเปล่าคะ

    ตอบลบ
  35. ตอบ คุณ Phet Sang

    ทางประกันสังคมแจ้งว่า
    1. สำหรับผู้ประกันตนที่ต้องการยกเลิกมาตรา 40 เเนะนำให้มีการติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบ
    2. ให้เตรียมเอกสาร แบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  36. ตอบคุณ ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2556, 13 นาฬิกา 56 นาที 00 วินาที GMT+7

    ทางประกันสังคมแจ้งว่า
    สำหรับการเเจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ให้กรอกเอกสารแบบแจ้งการสิ้นสุดความผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-21) โดยบื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่รับผิดชอบ

    สำหรับการใช้สิทธิบัตรทองเเนะนำให้ติดต่อ หมายเลขโทรศัพทฺ์ 1330 สายด่วนบัตรทอง

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  37. ดิฉันมีบัตรประกันสังคมอยู่ในมือ แต่ทำไมเวลาไปตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนโดยใช้เลขบัตรประชาชน กลับมีข้อความว่า ไม่มีสิทธิเป็นผู้ประกันตน อยากทราบค่ะ ว่าทำไม เพราะอะไร

    ตอบลบ
  38. อยากรู้ว่าการเปลี่ยนจาก39เป็น33. เริ่มทำงานวันที15สค56แต่ส่งเงิน39เดือนสุดท้ายวันที่มิย-กค.56. ในเดือนกัยายนได้เช็คว่าขึ้นเป็นประกัน33หรือยังสรุปว่ายัง ถาเป็นแบบนิสิทธิประโยชนืที่เคยทำมาจะถูกตัดไหม เช่นสิทธิการสงเคราะบุตร และต่ องดำเนินการยังไง

    ตอบลบ
  39. ออกจากงานมาจะครบ6เดือนวันที่25กยนี้อยากทราบว่ายังยื่นเรื่องสมัครเป็นผู้ประกันคนมาตรา39ได้อยู่รึไม่

    ตอบลบ
  40. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2556, 16 นาฬิกา 56 นาที 00 วินาที GMT+7

    สามารถตรวจสอบข้อมูล โดยการสมัครสมาชิกผ่านหน้าเว็บของประกันสังคม ที่ http://www.sso.go.th/ และทำการ log-in เข้าระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลตนเองได้ หรือติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  41. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ18 กันยายน 2556, 23 นาฬิกา 35 นาที 00 วินาที GMT+7

    การเปลี่ยนจาก ม.39 เป็น ม.33 เนื่องจากเข้าทำงาน ให้ตรวจสอบกับสถานที่ทำงานว่าได้ส่งเงินประกันสังคมให้แล้วหรือยัง เพราะเมื่อส่งแล้ว จะเข้าสู่ระบบ ม.33 โดยอัตโนมัติ

    ส่วนการออกจาก ม.39 สิทธิประกันสังคมก็ยังคุ้มครองต่อ 6 เดือน

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  42. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ19 กันยายน 2556, 9 นาฬิกา 16 นาที 00 วินาที GMT+7

    ลูกจ้างที่ต้องการจะได้รับความคุ้มครองต่อจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากบริษัท

    ตอบลบ
  43. ขอสอบถามหน่อยนะคะ คือ ปี 1 เราส่งไม่ครบ 12 เดือนขาดส่ง 2-3 คร้ง ประกันสังคมสามารถเรียกเก็บย้อนหลังได้หรอคะ เราต้องจ่ายย้อนหลังเดือนที่เราไม่ได้ส่งใช่ป่ะคะ ปรักันสังคมเรียกเก็บย้อนหลังต้งแต่ปี 2553 คะ

    ตอบลบ
  44. เรียน Koyd thanyawadee25 กันยายน 2556, 21 นาฬิกา 43 นาที 00 วินาที GMT+7

    ในกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ตามเงื่อนไขแล้ว ผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่งเงินสมทบเข้ามาทุกเดือน ในขณะที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อให้ใช้สิทธิของประกันสังคมได้ หากเดือนใดผู้ประกันตนไม่มีการนำส่งเข้ามา จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบเดือนดังกล่าวย้อนหลังเข้ามา

    สำหรับกรณีคุณ Koyd thanyawadee ให้ผู้ประกันตนติดต่อจ่ายเงินสมทบ พร้อมเงินเพิ่ม กับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ใดก็ได้ที่สะดวก ยกเว้น สำนักงานใหญ่

    หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  45. เป็นผู้ประกันตัวตาม มาตรา ๓๙ มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เชียงใหม่ (ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน) มาทำงานต่างจังหวัด ใช้สิทธิที่รพ.ต่างจังหวัด ต้องการกลับไปใช้สิทธิที่เชียงใหม่ ตอนไปกรอกรายละเอียดผู้ประกันตน ข้อ ๑.๒ ต้องกรอกหรือไม่ ไม่กรอกได้ไหม

    ตอบลบ
  46. ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่ขาดส่งโดยไม่ได้ตั้งใจ เรียกว่าพลาดไป1เดือน ตั้งแต่พฤษภาคมปี2553 มีจดหมายให้ไปชำระพร้อมเบี้ยปรับ อยากถามว่าหลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานทำอะไรกันอยู่ ทำไมข้อมูลพึ่งจะมาฟ้องเอาเมื่อ3ปีผ่านไป ดิฉันยังส่ง ม39 มาตลอดด้วยความคิดว่าตัวเองไม่เคยขาดส่ง ค่อนข้างเสียความรู้สึกมากกว่าเสียดายเบี้ยปรับค่ะ

    ตอบลบ
  47. กรณีขาดส่งมาเป็นปีแล้ว ถ้าจะขอสัครส่งใหม่จะได้ไหมครับ และต้องทำอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ
  48. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ28 ตุลาคม 2556, 10 นาฬิกา 30 นาที 00 วินาที GMT+7

    ส่วนนี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยคงตอบคำถามชัดเจนไม่ได้ กรุณาติดต่อที่สำนักประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่ยื่นติดต่อน่าจะให้คำตอบได้ตรงกว่า หรือติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506
    -------------------------------------------------------------------------
    ตอบ คุณ Koko12 พฤศจิกายน 2556, 15 นาฬิกา 14 นาที 00 วินาที GMT+7

    ส่วนนี้เป็นข้อเสียของสำนักงานประกันสังคมเองค่ะ ที่ไม่มีการติดตามทวงถามผู้ที่ค้างส่งเพียงเดือนเดียว ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนเอง อย่างไรลองติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อแจ้งให้ปรับปรุงการบริการต่อไป หรือมีกลุ่มคนที่ร้องเรียนจำนวนมากน่าจะมีน้ำหนักให้ทางสำนักงานประกันสังคมปรับปรุงต่อไป
    -------------------------------------------------------------------------
    ตอบ คุณเอก ระยอง 17 พฤศจิกายน 2556, 14 นาฬิกา 12 นาที 00 วินาที GMT+7

    สาเหตุที่ทำให้สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอะไรบ้าง
    1. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง)
    2. ลาออก
    3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
    4. ตาย
    5. ภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

    ที่ได้ให้ข้อมูลมาคือขาดส่งเป็นปีแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะสามารถสมัครเข้าประกันสังคมได้หรือไม่เพราะน่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นแล้ว ให้ติดต่อที่สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  49. จ่ายเงินประกันสังคมมา 4 เดือนแล้ว (ม.39) ทำไมเงินสงเคราะห์บุตรยังไม่เข้าค่ะ

    ตอบลบ
  50. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ4 ธันวาคม 2556, 9 นาฬิกา 44 นาที 00 วินาที GMT+7

    รายละเอียดที่ให้มายังไม่ครบถ้วน ไม่ทราบว่าได้ยื่นยื่นเรื่องกรณีสงเคราะห์บุตรเมื่อใด??

    สำนักงานประกันสังคมคาดเดาและตอบว่า
    -------------------------------------------------
    ในกรณีดังกล่าว หากผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้างและได้ยื่นเรื่องใช้สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรไว้ ต่อมาได้มีการออกจากงาน และสมัครประกันตนเองมาตรา 39 ตามเงื่อนไขหากมีการนำส่งประกันสังคม มาตรา 39 ผู้ประกันตนสามารถที่จะขอรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตรได้ โดยยื่นเรื่องขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม กรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน เมื่อมีการกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนของประกันตนสังคม จะต้องยื่นเรื่องขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน อายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

    สรุป เมื่อมีการกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนของประกันตนสังคม จะต้องยื่นเรื่องขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน อายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ซึ่งตามเงื่อนไขในการรับสิทธิ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน โดยสามารถเบิกได้คราวละไม่เกิน 2 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนบุตร อายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย "

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  51. ถามว่า
    ถ้าเราพ้นสภาพจาก ผปต.มาตรา33 มา7เดือนแล้วไม่ได้ทำงานด้วยและตอนนี้กำลังตั้งครรภ์ 2อาทิตย์อยากสมัคร ผปต.มาตรา39แล้วส่งเงินสมทบจะได้ไหมค่ะถ้าในกรณีคลอดบุตร จะได้ค่าคลอดบุตรไหมค่ะ
    ช่วยตอบด้วยน่ะค่ะขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  52. ตอบคุณ ไม่ระบุชื่อ4 ธันวาคม 2556, 14 นาฬิกา 56 นาที 00 วินาที GMT+7

    ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อไปจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันลาออก

    แต่ที่ให้ข้อมูลมาได้ผ่านมา 7 เดือนนับจากพ้นสภาพ ม.33 แล้ว ไม่แน่ใจว่าเกิน 6 เดือนแล้วหรือยัง เพราะหากเกินกำหนดดังกล่าวก็ไม่สามารถสมัคร ม.39 ได้ ปกติเมื่อพ้น ม.33 แล้ว ประกันสังคมก็ยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนแม้ไม่ได้ส่งเงินประกันในช่วงดังกล่าว

    อย่างไรก็ตาม ให้ตรวจสอบกับสำนักงานเขตประกันสังคมตนเองอีกครั้งว่าพ้นเวลาเกิน 6 เดือนหรือยัง หากยังอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวก็สามารถสมัครเข้า ม.39 ได้ หรือหรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  53. อยากทราบว่าค่าคลอดบุตรมาตรา39 เท่ากับ มาตรา33 หรือไม่

    ตอบลบ
  54. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ11 ธันวาคม 2556, 10 นาฬิกา 40 นาที 00 วินาที GMT+7

    การขอเบิกค่าคลอดบุตร ทั้ง ม.33 และ ม.39 เหมือนกันค่ะ เพราะ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินสมทบ ร้อยละ 9 ของจำนวนเงิน 4,800 บาท เงินสมทบเดือนละ 432 บาท เพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณี คือ
    - กรณีประสบอันตราย
    - ทุพพลภาพ
    - ตาย
    - คลอดบุตร
    - สงเคราะห์บุตร
    - และชราภาพ

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  55. ขอสอบถามค่ะ เคยเป็น ผปต ม.33 เป็นเวลา 6 ปี (จ่ายมา 72 เดือน)แล้วลาออก หลังจากนั้นลืมไปขึ้นทะเบียนประกันตนเอง ม.39 (เกิน 6เดือน มา 15 วัน) หลังจากนั้นได้เข้าทำงานและเข้าเเป็น ผปต ม.33 ได้ 2 เดือน และกำลังจะลาออก(พอดีได้งานใกล้บ้าน แต่ไม่มี ปกส ให้) อยากสอบถามว่าดิชั้นจะไปขอขึ้นทะเบียนประกันตนเอง ม.39 ได้รึเปล่าค่ะ หรือควรจะทำให้ครบ 3 เดือนก่อนรึเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  56. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2556, 11 นาฬิกา 39 นาที 00 วินาที GMT+7

    การออกจากงานครั้งแรก เกิน 6 เดือนก็จะไม่สามารถสมัครเข้า ม.39 ได้ แต่เมื่อได้เข้าทำงานใหม่ และได้เป็นผู้ประกันตน ม.33 ก็จะเข้าหลักเกณฑ์ใหม่อีกครั้ง หลังจากออกจากประกันสังคมแล้วยังได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน และในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถสมัครเข้า ม.39 ได้ค่ะ

    นอกจากนี้ ระยะเวลาของการประกันก็ยังนับต่อเนื่อง แม้จะมีบางช่วงหายไปก็ไม่เป็นไร นำระยะเวลาที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมมานับรวมทั้งหมดค่ะ

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  57. พอดีทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายประกันสังคมได้ 1 เดือน แล้วลาออก ปัจจุบันว่างงานอยู่ 2 เดือนแล้ว จะไปต่อประกันตนเองได้รึเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  58. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2556, 15 นาฬิกา 06 นาที 00 วินาที GMT+7

    ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

    ดังนั้น ในกรณีของคุณเพิ่งเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้เพียง 1 เดือนแล้วลาออก ก็จะไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสมัครเข้า ม.39 ได้ ตามเหตุผลข้างต้น

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  59. ดิฉันเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือน และได้ลาออกจากงานและจะส่งเงินประกันตนมาตรา 39 ได้เปล่าคะ และตอนนี้ดิฉันยังไม่ได้ไปขึ้นทะเบียนเงินสงเคราะห์บุตรเลย แต่ดิฉันจะไปต่อเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 และจะขึ้นทะเบียนเงินสงเคราะห์บุตรเปล่าคะ

    ตอบลบ
  60. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2556, 15 นาฬิกา 47 นาที 00 วินาที GMT+7

    ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.39 ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วยื่นคำขอภายใน 6 เดือนนับแต่วันลาออก

    หากเข้าหลักเกณฑ์ดังข้างต้น ก็สามารถไปสมัครเข้า ม.39 ได้ และได้สิทธิ์ที่จะขอเบิกนเงินสงเคราะห์บุตรได้ต่อไป

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  61. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มาตั้งแต่54 แต่ได้รับจดหมายว่าให้ไปชำระเงินทที่ค้างของเดือน มิย.56 เราจึงไปจ่ายทั้งเดือนมิย.และกค....จากนั้นเราเดินทางไป ตจวค่ะ..กลับมาถึงก็รีบไปจ่ายเงินต่อแต่ไม่ได้ดูบิลที่จ่ายว่าถึงเดือนไหนแล้ว..ไปจ่ายเงินของเดือน กย-ตค.รวดเลย..จากนั้นมี จดหมายมาที่บ้านว่าของเดือน สค.เราไม่ได้จ่าย...แต่ไปจ่ายเดือนกย-ตค.แทน เลยโดนตัดสิทธิ์..เราก็สงสัยค่ะวันที่เราไปจ่ายของเดือน กย-ตค.56 เจ้าหน้าที่ก็รับเงินปกติไม่ได้ทักท้วงอะไรเลย..แล้วตัดสิทธิ์ตั้งแต่เดือน สค. เลย..คือเจ้าหน้าที่ทำอะไรอยู่ข้อมูลไม่ลิงค์กันหรือ..เราเองก็ยอมรับว่าผิดพลาดเองที่ไปทำงาน ตจว.ซะนานรับงานเป็นช่วงๆ..เลยไม่ได้จ่ายเงินต่อเนื่องแต่..สงสัยการทำงานของเจ้าหน้าที่มากและที่สำคัญการกลับเข้าไปใช้สิทธิ์นี่เราต้องทำอย่างไรได้บ้างค่ะ..เห็นก่อนหน้านี่มี พระราชกิจจาฯให้สามารถกลับมาได้...ตอนนี้มีอีกหรือไม่..ค่ะ

    ตอบลบ
  62. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ26 ธันวาคม 2556, 12 นาฬิกา 12 นาที 00 วินาที GMT+7

    ผู้ประกันตนมาตรา 39 ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน และกรณีภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ถึง 9 เดือน จะถูกตัดสิทธิการเป็นผู้ประกันตนทันที

    จากข้อมูลดังข้างบน ไม่ทราบว่าที่ให้ข้อมูลมาก็ไม่น่าเข้ากรณีขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าใน 12 เดือนได้ส่งเงินสมทบถึง 9 เดือนหรือไม่ เพราะรายละเอียดไม่ชัดเจน หากได้แจ้งว่าถูกตัดสิทธิ์แล้วก็น่าจะเข้าในกรณีหลังกระมั่ง

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  63. สามีดิฉันส่งประกันสังคมมาตรา 39 ได้ประมาณ 9 ปี ตอนนี้อายุครบ 55ปี จะได้รับเงินทดแทนชราภาพเท่าไหร่ค่ะถ้าจะส่งมาตรา 39 ต่อจะต้องส่งต่ออีกกี่ปีหรือให้ส่งได้ถึงอายุเท่าไหร่จะสิ้นสุดของประกัน แล้วถ้าส่งครบ 180 เดือน
    จะได้เงินบำนาญชราทชภาพเดือนละเท่าไหร่ ตั้งแต่ส่งมาไปหาหมอครั้งเดียวเองค่ะ มีคนบอกว่าเงินที่ได้คืนเมื่ออายุ 55 ประกันสังคมจะคืนให้แค่เดือนละร้อยกว่าบาทคูณจำนวนเดือนที่ส่งจริงมั้ย

    ตอบลบ
  64. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2557 22 นาฬิกา 56 นาที 00 วินาที GMT+7

    เงินก้อนหรือเงินบำเหน็จ ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี หรือผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนหรือทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จตามหลักการแบบแผนกำหนดเงินสมทบ

    เงินบำนาญรายเดือน ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 15 ปี โดยเงินบำนาญรายเดือนของกองทุนประกันสังคมนั้น

    สามารถดูรายละเอียดที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/10/blog-post_30.html

    ส่วนยอดเงินคงต้องตรวจสอบกับสำนักงานประกันสังคมเขตที่ตนประกันอยู่

    สำหรับการสิ้นสุดประกันสังคม ก็ต้องไปลาออกเมื่อไรก็ได้

    หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  65. ช่วยด้วยนายจ้างไม่แจ้งการเลิกจ้างข้าพเจ้าทำประกันตามมาตร39 ไม่ได้ จะหมดเวลาแล้ว เลิกจ้างตั้งแต่30 กันยายน 2556

    ตอบลบ
  66. ตอบ คุณ aoyjai su20 มกราคม 2557 14 นาฬิกา 56 นาที 00 วินาที GMT+7

    ส่วนนี้คงไม่ได้สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ให้ติดต่อสำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506 น่าจะช่วยได้มากกว่า ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  67. เพรินทร์
    ดิฉันเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ส่งเงินสมทบต่อเนื่องมาได้ 3 ปีแล้วและปัจจุบันยังคงส่งอยู่ มีข้อสงสัยจะรบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ
    1. กรณีที่ผู้ประกันตนอยู่ต่างประเทศ และคลอดลูกที่ต่างประเทศ สามารถเบิกค่าคลอดเหมาจ่ายจำนวน 130,000 บาทหรือไม่
    2. บุตรของผู้ประกันตนที่คลอดที่ต่างประเทศ ที่มิได้มีสัญชาติไทย จะมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 400 บาทหรือไม่
    จากกรณีข้อ 1 และ 2 ถ้าสามารถใช้สิทธิ์ได้ ต้องทำอย่างไร และมีวิธีการและขั้นตอนอย่างไร

    หลังจากคลอดบุตรเสร็จต้องการพาลูกกลับไปพักผ่อนที่เมืองไทยประมาณ 2 เดือนค่ะ และหลังจากนั้นจะกลับมาอยู่ต่างประเทศค่ะ

    รบกวนขอข้อมูลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  68. จ่ายเงินสมทบปกสครบ15ปีหรือ180เดือนแล้ว ถ้าขอเงินบำนาญรายเดือนแล้ว จะยังสามารถสมัครมาตรา39 หรือไม่

    ตอบลบ
  69. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ14 กุมภาพันธ์ 2557 1 นาฬิกา 04 นาที 00 วินาที GMT+7

    การรับเงินบำนาญแล้วก็คือ ต้องออกจากประกันสังคมแล้วเท่านั้น

    ส่วนจะกลับมาสมัครมาตรา 39 ได้หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขคือ "ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน"

    ตอบลบ
  70. อยากทราบว่า ตอนนี้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 แต่อยากเปลี่ยน มาเป็น มาตรา40 ได้ไหมคะ และต้องทำอย่างไรบ้าง จ่ายเดือนเท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  71. เรียน คุณไม่ระบุชื่อ27 กุมภาพันธ์ 2557 9 นาฬิกา 40 นาที 00 วินาที GMT+7

    การเป็นผู้ประกันตน ม.39 ดีกว่า ม.40 อยู่แล้ว ด้วยสิทธิและผลตอบแทนที่ได้ก็จะมากกว่า ไม่ขอแนะนำให้เปลี่ยน

    ตอบลบ
  72. อยากทราบว่าถ้าประกันสังคมมาตรา39โดนตัดแล้วแต่ยังมีคุ้มครองหลังโดนตัด6เดือน(พฤษจิกา-พฤษภา)
    แล้วยังได้ค่าคลอดบุตรยุไมคือคลอดเมษา

    ตอบลบ
  73. เรียน คุณ popla st4 มีนาคม 2557 15 นาฬิกา 25 นาที 00 วินาที GMT+7

    เมื่อสิ้นสุดการประกันสังคมแล้ว ยังให้ความคุ้มครองอีก 6 เดือน ก็ให้ติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมเขต พร้อมเอกสารและไปกรอกแบบฟอร์มที่ประกันสังคมได้ค่ะ

    หากมีข้อสงสัย ให้ติดต่อสำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506 น่าจะช่วยได้มากกว่า ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  74. ผมขาดส่งเงืนสมทบ3เดือนปีนี้ไปจ่ายช้า1เดือนแต่เขาให้จ่ายเดือน2
    ปรากฏว่าตัดสิทธิอยากทราบว่านับเดือนอะไรเป็นเดือนแรกใน1ปี

    ตอบลบ
  75. เรียน คุณ ไม่ระบุชื่อ15 มีนาคม 2557 20 นาฬิกา 49 นาที 00 วินาที GMT+7

    ในกรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน สิทธิจะถูกตัดในวันที่ 15 ของการขาดส่งเดือนที่ 3

    หรืออีกกรณีหนึ่ง
    และในกรณีการส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน เมื่อนับย้อนกลับไป 12 เดือนสิทธิจะถูกตัดเช่นเดียวกัน

    ตอบลบ
  76. เป็นผู้ประกันตรมาตรา 39 พอดีเจ็บป่วยหมอเขียนใบรับรองแพทย์ให้ 20 สามารถเบิกเงินทดแทนชาดรายได้ไหมค่ะเอกสารที่ใช้อะไรบ้างค่ะทำงานรับจ้างไม่มีใบเสร็จจะทำอย่างไร

    ตอบลบ
  77. อยากสอบถาม 2 เรื่องค่ะ
    1. กรณีมาตรา 39
    ตอนที่เราทำงานอยู่เงินเดือนประมาณ 2หมื่น โดนหักประกันสังคม เดือนละประมาณ 700 จ่ายมามากกว่า 20 ปี
    แล้วออกจากงานเปลี่ยนมาใช้มาตรา 39 ตอนอายุ 45 จ่ายไปจนถึงอายุ 55 เกษียร ฐาน 4,800 จ่ายเดือนละ 432 บาท

    อยากทราบว่า เงินบำเน็จ/บำนาญ/ชราภาพ จะคิดแบบไหนคะ เพราะเงินเดือนตอนที่ทำงาน ฐานคือ 2หมื่น
    แต่พอมาเป็นมาตรา39 ฐานอยู่ที่ 4800

    2.กรณีคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร ถ้าผู้จ่ายเงินประกันสังคม ไม่มีบุตร เงินที่หักจ่ายประกันสังคมในส่วนนี้ ไปไหนคะ


    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  78. ตอบ คุณ Weerada Krachan24 มีนาคม 2557 10 นาฬิกา 35 นาที 00 วินาที GMT+7

    กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินสมทบ ร้อยละ 9 ของจำนวนเงิน 4,800 บาท เงินสมทบเดือนละ 432 บาท เพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณี คือ
    1. กรณีประสบอันตราย
    2. ทุพพลภาพ
    3. ตาย
    4. คลอดบุตร
    5. สงเคราะห์บุตร
    6. และชราภาพ

    จากคำถาม "เป็นผู้ประกันตรมาตรา 39 พอดีเจ็บป่วยหมอเขียนใบรับรองแพทย์ให้ 20 สามารถเบิกเงินทดแทนชาดรายได้ไหมค่ะเอกสารที่ใช้อะไรบ้างค่ะทำงานรับจ้างไม่มีใบเสร็จจะทำอย่างไร"

    จากสิทธิ์ข้างต้นของ ม.39 จะไม่มีการทดแทนรายได้ เพราะเป็นการได้สิทธิ์ที่เราจ่ายเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ได้สิทธิ์การเบิกเงินทดแทน

    หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  79. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ25 มีนาคม 2557 21 นาฬิกา 09 นาที 00 วินาที GMT+7

    สำหรับคำถามแรก
    "1. กรณีมาตรา 39
    ตอนที่เราทำงานอยู่เงินเดือนประมาณ 2หมื่น โดนหักประกันสังคม เดือนละประมาณ 700 จ่ายมามากกว่า 20 ปี
    แล้วออกจากงานเปลี่ยนมาใช้มาตรา 39 ตอนอายุ 45 จ่ายไปจนถึงอายุ 55 เกษียร ฐาน 4,800 จ่ายเดือนละ 432 บาท

    อยากทราบว่า เงินบำเน็จ/บำนาญ/ชราภาพ จะคิดแบบไหนคะ เพราะเงินเดือนตอนที่ทำงาน ฐานคือ 2หมื่น
    แต่พอมาเป็นมาตรา39 ฐานอยู่ที่ 4800"

    คำตอบ
    เงินบำนาญนี้คำนวณตามสูตร แต่ละคนจะได้รับบำนาญไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ
    1. ระยะเวลาที่สมทบ (ยิ่งสมทบนาน ยิ่งได้บำนาญมาก) และ
    2. ค่าจ้างเฉลี่ยที่ได้รับในช่วง 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ (ยิ่งเงินเดือนสูง ยิ่งได้บำนาญมาก แต่มีเพดานค่าจ้างที่มาใช้คำนวณไม่เกิน 15,000 บาท)

    ดังนั้น จากหลักการข้างต้น คำตอบก็คือ เงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายที่จะนำมาคำนวณเงินบำนาญ

    -------------------------------------
    คำถามที่ 2
    "2.กรณีคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร ถ้าผู้จ่ายเงินประกันสังคม ไม่มีบุตร เงินที่หักจ่ายประกันสังคมในส่วนนี้ ไปไหนคะ"

    การประกันสังคมก็เสมือนใช้หลักการประกันทั่วไป คือเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข นั่นก็หมายถึงว่า ผู้ที่ใช้ก็ได้ประโยชน์ แต่ผู้ที่ไม่ได้ใช้ก็ถือว่าการมีสุขภาพดี รวมถึงการเบิกเงินคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ที่ช่วยก็เหมือนผ่อนปรนเท่านั้น เพราะการเบิกค่าใช้จ่ายในการคลอด หรือ การเลี้ยงดูบุตร เงินที่ประกันสังคมให้ไม่เพียงพอหรอก อย่างไรก็ต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกแน่นอน ดังนั้น ก็เหมือนกับการบรรเทาค่าใช้จ่ายลดลงเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเบิกได้ทั้งหมด ทุกอย่างหรอกค่ะ

    ตอบลบ
  80. เรียน คุณ YA YEE10 กุมภาพันธ์ 2557 1 นาฬิกา 24 นาที 00 วินาที GMT+7

    สำหรับคำถามที่ค้างไว้และไม่ได้ตอบนานๆๆๆๆ เนื่องจากได้ส่งคำตอบไปยังประกันสังคมแล้วยังไม่ได้รับการตอบกลับ ดังนี้

    เพรินทร์
    ดิฉันเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ส่งเงินสมทบต่อเนื่องมาได้ 3 ปีแล้วและปัจจุบันยังคงส่งอยู่ มีข้อสงสัยจะรบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ
    1. กรณีที่ผู้ประกันตนอยู่ต่างประเทศ และคลอดลูกที่ต่างประเทศ สามารถเบิกค่าคลอดเหมาจ่ายจำนวน 130,000 บาทหรือไม่
    2. บุตรของผู้ประกันตนที่คลอดที่ต่างประเทศ ที่มิได้มีสัญชาติไทย จะมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 400 บาทหรือไม่
    จากกรณีข้อ 1 และ 2 ถ้าสามารถใช้สิทธิ์ได้ ต้องทำอย่างไร และมีวิธีการและขั้นตอนอย่างไร

    หลังจากคลอดบุตรเสร็จต้องการพาลูกกลับไปพักผ่อนที่เมืองไทยประมาณ 2 เดือนค่ะ และหลังจากนั้นจะกลับมาอยู่ต่างประเทศค่ะ

    รบกวนขอข้อมูลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    จากคำถามข้างต้น หากมีผู้ใดทราบคำตอบ ช่วยแบ่งปันให้เพื่อนได้ทราบด้วย เพราะยังไม่ได้รับคำตอบจากสำนักงานประกันสังคม ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  81. สวัสดีค่ะ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันสังคม ดังนี้ค่ะ

    ดิฉันเริ่มทำงานตอนอายุ 20 ส่งประกันสังคม ม.33 มาตลอด จนอายุ 30 ลาออกจากงาน แล้วทำเรื่องว่างงาน ได้รับเงินแล้วนั้น ต่อมาไม่ได้ทำงานต่อ และไม่ได้ส่ง ม.39 เลย พออายุ 33 ได้กลับเข้ามาทำงานใหม่เป็นเวลา 12 เดือน เกิดตั้งครรภ์ ได้ใช้สิทธิ์ค่าคลอดบุตร, ลาคลอด, สงเคราะห์บุตร แล้วลาออกตอนเดือนแรกที่ได้กลับเข้ามาทำงาน เนื่องจากไม่มีคนเลี้ยงบุตร หลังจากนั้นได้ส่งเงินสมทบ ม.39 มีคำถามที่ต้องการทราบดังนี้ค่ะ

    1. การลาออกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3 จะได้รับเงินสบทบกรณีว่างงานอีกครั้ง หรือไม่

    2. กรณีที่ส่งเงิน ม.33 มา 10 ปี แล้วขาดส่งมา 3 ปี แล้วกลับมาเป็น ม.33 ใหม่ ทำงานได้ 1 ปี 4 เดือน แล้วลาออก กลับมาใช้ ม.39 นั้น เ งินบำนาญ จะรวมยอดส่งม.33 ตอนอายุ 20 -30 ปี ที่ขาดส่ง 3 ปีหรือไม่

    3. ปัจจุบัน ส่งเงิน ม.39 ต้องส่งเงินต่อเนื่องจนถึง อายุ 55 จึงจะได้รับเงินบำนาญ เช่นนั้น หากอายุ 52 ได้กลับเข้ามาทำงาน อีกครั้ง(ม.33) ได้ เงินเดือน 15,000 เมื่อตอนอายุ 55 จะได้รับเงินบำนาญ หากไม่ส่งต่อนั้น อยากทราบว่าหากเปรียบเทียบกับบุคคลที่ทำงาน ตอนอายุ 20 (ม.33 เงินเดือน 15,000) ส่งเงินครบปกติ จนเกษียณ ตอนอายุ 55 เท่ากัน ไม่ส่งต่อ จะได้เงินบำนาญแตกต่างกันหรือไม่


    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  82. อยากถามคะท่าเราลาคลอดกลางเดือนตุลาปี56แล้วทางบริษัทบอกว่าท่าลาคลอดและเเข็งแรงแล้วให่กับมาทำงานได้แต่พอถึเวลากับไม่ได้ทำแล้วก็ไม่ได้ส่งประกันมาจนปจุบันและก้อว่างงานเราจะต้องทำอย่างยังบ้างคะ

    ตอบลบ
  83. ตอบ คุณ นางสาว สงสัย30 มีนาคม 2557 10 นาฬิกา 29 นาที 00 วินาที GMT+7

    1. การลาออกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3 จะได้รับเงินสบทบกรณีว่างงานอีกครั้ง หรือไม่
    ตอบ ในการรับเงินกรณีว่างงานได้จะต้องอยู่ใน ม.33 เท่านั้น หากอยู่ในม.39 ก็จะไม่ได้สิทธิ์นี้ จากที่เล่ามาจะเห็นว่าคุณเคยใช้สิทธิ์ว่างงานมาแล้วในการออกครั้งแรก

    2. กรณีที่ส่งเงิน ม.33 มา 10 ปี แล้วขาดส่งมา 3 ปี แล้วกลับมาเป็น ม.33 ใหม่ ทำงานได้ 1 ปี 4 เดือน แล้วลาออก กลับมาใช้ ม.39 นั้น เ งินบำนาญ จะรวมยอดส่งม.33 ตอนอายุ 20 -30 ปี ที่ขาดส่ง 3 ปีหรือไม่
    ตอบ สำหรับระยะเวลาเพื่อรับสิทธิ์บำนาญนั้น จะนับเวลาทั้งหมดนับแต่แรกที่เราได้ส่งประกันสังคม นับจากม.33 มา 10 ปี (ครั้งแรก) + กลับทำงานใหม่ ม.33 เวลา 1 ปี 4 เดือน + ม. 39 ด้วย โดยวิธีคำนวณจะใช้เงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายมาคำนวณเฉลี่ยค่ะ

    3. ปัจจุบัน ส่งเงิน ม.39 ต้องส่งเงินต่อเนื่องจนถึง อายุ 55 จึงจะได้รับเงินบำนาญ เช่นนั้น หากอายุ 52 ได้กลับเข้ามาทำงาน อีกครั้ง(ม.33) ได้ เงินเดือน 15,000 เมื่อตอนอายุ 55 จะได้รับเงินบำนาญ หากไม่ส่งต่อนั้น อยากทราบว่าหากเปรียบเทียบกับบุคคลที่ทำงาน ตอนอายุ 20 (ม.33 เงินเดือน 15,000) ส่งเงินครบปกติ จนเกษียณ ตอนอายุ 55 เท่ากัน ไม่ส่งต่อ จะได้เงินบำนาญแตกต่างกันหรือไม่
    ตอบ การส่งประกันสังคมไม่จำเป็นต้องส่งต่อเนื่องตลอด จะยกเลิกเมื่อไรก็ทำเรื่องลาออกจากประกันสังคมได้ ซึ่งระยะเวลาก็จะเกษียณแต่สมทบไม่ครบ 180 เดือน มีสิทธิรับ "บำเหน็จ" จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว ส่วนท่านที่สมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป จะมีสิทธิรับ "บำนาญ" และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี จึงจะมีสิทธิืขอรับบำเหน็จ หรือ บำนาญ แล้วแต่กรณีดังกล่าวข้างต้น

    หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  84. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ31 มีนาคม 2557 20 นาฬิกา 52 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม อยากถามคะท่าเราลาคลอดกลางเดือนตุลาปี56แล้วทางบริษัทบอกว่าท่าลาคลอดและเเข็งแรงแล้วให่กับมาทำงานได้แต่พอถึเวลากับไม่ได้ทำแล้วก็ไม่ได้ส่งประกันมาจนปจุบันและก้อว่างงานเราจะต้องทำอย่างยังบ้างคะ

    คำตอบ ไม่เข้าใจประเด็นคำถาม ต้องการจะถามอย่างไร เพราะรายละเอียดที่ให้มาก็ไม่ชัดเจน กรุณาส่งคำถามที่ชัดเจนพร้อมรายละเอียดมาประกอบการถาม

    ตอบลบ
  85. ขาดส่งประกันตน ม.39 3เดือน ของเดือนเมษายน2557เป็นเดือนที่3 ของวันที่่15ของเดือนนี้ ซึ่งติดเทศกาลสงกรานต์ยาว พอที่ประกันสังคมจะอนุโลมให้ได้รึป่าวคับ เพราะหมอนัดตรวจเดือนนีี กลัวจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะ เดือดร้อนเรื่องคำตอบคับ ขอชี้ทางสว่างให่หน่อยคับ ขอบคุนคับ
    จากคุนเอ็ม

    ตอบลบ
  86. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2557 0 นาฬิกา 27 นาที 00 วินาที GMT+7

    สำหรับการขาดส่ง ม.39 3 เดือนติดต่อกันจึงจะถูกยกเลิก แต่ที่แจ้งมายังรวมเดือนเมษายน 2557 นี้ แม้จะเลยกำหนดที่หักก็ยังไปส่งเองภายในเดือนนี้ ที่สำนักงานประกันตนเองที่เราสังกัดอยู่ได้ ภายในวันที่ 29 แต่ควรไปติดต่อแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า เดี๋ยวจะไม่ทันอีก

    หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506

    ตอบลบ
  87. อยากสอบถามครับ กรณีลาออกจากงานมาแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 และต้องการต่อประกันสังคมใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนหน้า สามารถต่อได้ไหมครับ ประกันสังคมยังใช้ได้อยุ่ไหม และ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ไม่ได้มีการส่งจ่าย จะต้องรวมยอดมาส่งจ่ายด้วยไช่ไหมคับ

    ตอบลบ
  88. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ21 เมษายน 2557 14 นาฬิกา 46 นาที 00 วินาที GMT+7

    หลังจากสิ้นสุดประกันสังคม ยังมีความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนซึ่งยังสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ และหากประสงค์จะต่อประกันสังคมจะต้องดำเนินการภายใน 6 เดือนเช่นกัน มิฉะนั้นก็จะหมดสิทธิ์ ให้ติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สังกัดเพื่อขอยื่นเรื่องประกันตนเอง ม. 39

    ตอบลบ
  89. หากบัตรประกันสังคมหมอายุ แล้วใบต่อไปจะรับจากที่ไหนคะ

    ตอบลบ
  90. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ2 พฤษภาคม 2557 22 นาฬิกา 42 นาที 00 วินาที GMT+7ไม่ระบุชื่อ2 พฤษภาคม 2557 22 นาฬิกา 42 นาที 00 วินาที GMT+7

    ปัจจุบันนี้ไม่มีบัตรประกันสังคมแล้วค่ะ ใช้บัตรประชาชนแทน จะมีแต่บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลใช้คู่กับบัตรประชาชนเมื่อติดต่อที่โรงพยาบาลเท่านั้น

    ตอบลบ
  91. แรงงาน
    ทำประกัน ม.๓๙ ปี ๔๕ - ๕๗ จากฐานเงินเดือน ๖๐๐๐-ปัจจุบันปี ๕๗ ฐานเงินเดือน ๒๐๐๐๐ (่ส่ง ปกส. ๑๒ ปี ) ตอนนี้อายุ ๔๕ ปี ได้ลาออกจากงานจ้างแล้ว ไม่ส่งต่อแล้วไปส่ง กบข.แทน ต้องรออีก ๑๐ ปี(๕๕) ถึงจะได้ขอถามว่า
    ๑. ปกส.จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร อยากทราบสูตรการคิดดอกเบี้ย
    ๒. เงินชราภาพ จะได้กี่ร้อยบาทต่อเดือน แสดงสูตรการคำนวณ
    ๓. สิทธิผู้ประกันตนหมด คงเหลือแต่เงินชราภาพใช่หรือไม่
    ๔.เราจะมีหลักประกันใดไปแสดงว่า เราจะไม่ถูกตัดสิทธิการเป็นเป็นผู้ประกันตน เพราะเราได้ลาออกและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
    ๕.เงิน ปกส.ควรเอามาช่วย แรงงาน จะได้หรือไม่ ชาติอุ้มแรงงานได้หรือไม่
    ขอบคุณสำหรับคำตอบ รู้สึกสงสารตนเองและแรงงานจับใจ ชราภาพเงินที่ได้จะพอกับค่าครองชีพที่สูงได้หรือไม่?

    ตอบลบ
  92. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ7 พฤษภาคม 2557 19 นาฬิกา 12 นาที 00 วินาที GMT+7ไม่ระบุชื่อ7 พฤษภาคม 2557 19 นาฬิกา 12 นาที 00 วินาที GMT+7
    ๑. ปกส.จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร อยากทราบสูตรการคิดดอกเบี้ย
    => ดอกเบี้ยที่กล่าวถึงคือดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินประกันสังคม ที่ทางประกันสังคมนำไปลงทุนต่างๆ หรือไม่ ถ้าใช่ ทางประกันสังคมจะประกาศเป็นรายปี ปี 2556 ก็ประกาศมาแล้ว แต่จำตัวเลขไม่ได้ อัตราผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารมากกว่าเยอะ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ call center 1506

    ๒. เงินชราภาพ จะได้กี่ร้อยบาทต่อเดือน แสดงสูตรการคำนวณ
    => ซึ่งหากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเงินบำนาญรายเดือนคำนวณจาก
    P = (20% + 1.5% * (Y)) * W
    เมื่อ P = เงินบำนาญ (บาทต่อเดือน)
    Y = จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี
    W = ค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย
    กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตภายหลังจากการรับบำนาญระหว่าง 5 ปี ทายาทมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จตกทอดในอัตรา 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือนที่ผู้ประกันตนได้รับก่อนเสียชีวิต

    ตัวอย่างเงินบำนาญชราภาพที่ผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ
    คำตอบ : หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบกรณีชราภาพเป็นระยะเวลา 15 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ ดังนี้

    เงินบำนาญรายเดือน = (20% + 1.5% x (จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี)) x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
    = 20% x 15,000
    = 3,000 บาท/เดือน

    ๓. สิทธิผู้ประกันตนหมด คงเหลือแต่เงินชราภาพใช่หรือไม่
    => หมายถึงเมื่อได้ลาออกจากประกันสังคมแล้ว สิทธิ์ต่างๆ ก็จะหมดลง ยกเว้นเงินชราภาพ

    ๔.เราจะมีหลักประกันใดไปแสดงว่า เราจะไม่ถูกตัดสิทธิการเป็นเป็นผู้ประกันตน เพราะเราได้ลาออกและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
    => ปัจจุบันนี้ เราไม่มีบัตรประกันสังคม เพราะใช้บัตรประชาชนแทน ดังนั้นใช้บัตรประชาชนในการติดต่อสอบถามสิทธิ์ได้ค่ะ

    ๕.เงิน ปกส.ควรเอามาช่วย แรงงาน จะได้หรือไม่ ชาติอุ้มแรงงานได้หรือไม่
    => ข้อนี้หมายถึงแรงงานทั้งหมดหรือ ส่วนประกันสังคมเฉพาะผู้เข้าประกันสังคมเท่านั้น ผู้อยู่นอกประกันสังคมคงต้องใช้ส่วนอื่นๆ แทน

    ตอบลบ
  93. กรณีส่งเงินประกันสังคมครบ 179 งวดแล้ว ลาออกจากมาตรา 39 รับเงินบำเหน็จ กรณีนี้ถ้าหากเราอายุไม่เกิน 60 ปี จะกลับเข้าไปทำงานอีกครั้งและทำประกันสังคมมาครา 33 ได้อีกหรือไม่

    ตอบลบ
  94. ตอบ คุณ saranya jannavee16 พฤษภาคม 2557 11 นาฬิกา 42 นาที 00 วินาที GMT+7

    เมื่อได้รับเงินบำเหน็จสำหรับการลาออกจากมาตรา 39 ไปแล้ว และกลับมาทำงานใหม่ก็นับหนึ่งเริ่มใหม่ การเก็บเงินบำเหน็จ บำนาญ ก็จะต้องเริ่มสะสมใหม่ค่ะ สรุป สามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนม. 33 ได้ค่ะ แต่ระยะเวลาก็จะนับเริ่มใหม่

    ตอบลบ
  95. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินมาประมาณ 10 ปี จากนั้นสอบบรรจุข้าราชการได้ จึงสิ้นสุดการประกันตน โทรไปสอบถามว่ากรณีนี้จะได้รับสิทธิทางใดบ้าง..เขาบอกว่ากรณีนี้ต้องรอให้ อายุครบ 55 ปี จึงจะไปขอรับเงินคืนได้ สอบถามต่อว่า..ต้องใช้หลักฐานอะไรยืนยัน เพราะกว่าจะอายุ 55 อีกตั้งเกือบ 20 ปี เขาบอกว่า ถึงวันนั้นให้ยื่นบัตรประชาชน..อยากทราบจริงว่า อีก 20 ปีฐานข้อมูลของเราจะยังอยู่หรือไม่...เพราะเขาไม่ได้ให้เราไปขึ้นทะเบียนอะไรไว้เลย...ถามตั้งแต่บรรจุได้ใหม่ ๆ ตอนนี้ผ่านมา 3 ปีแล้ว ..อีก 20 ปีเราจะไปขอรับเงินได้จริง ๆ หรือ

    ตอบลบ
  96. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ16 พฤษภาคม 2557 21 นาฬิกา 17 นาที 00 วินาที GMT+7

    ค่ะ ถูกต้องตามที่ได้รับข้อมูลมาทั้งหมด ซึ่งสามารถตรวจสอบสิทธิ์ของตนเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมหรือจะตรวจสอบที่เว็บไซต์ http://www.sso.go.th โดยการสมัครสมาชิกและเข้าระบบ ก็สามารถตรวจสอบเงินบำเหน็จที่จะได้รับ ซึ่งจะมียอดเปลี่ยนแปลงทุกปี เพราะมีดอกเบี้ยจากการนำเงินไปลงทุนต่างๆ ของประกันสังคม แต่การได้รับเงินจะต้องมีอายุครบ 55 ปีเสียก่อน ก็ติดต่อขอรับเงินที่ประกันสังคมได้

    ตอบลบ
  97. สอบถามค่ะ ทำงานเป็นผู้ประกันตน ม.33 แล้วลาออกจากงานเลยสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.39 เมื่อ มี.ค.53 ได้งานใหม่เลยกลับมาเป็นผู้ประกันตน ม.33 ตั้งแต่ ก.ย.53 จนถึงปัจจุบัน โดยระหว่างที่เป็นผู้ประกันตน ม.33 ชำระเงินสมทบโดยการตัดผ่านบัญชีธนาคาร มีเงินในบัญชีตลอด แต่ตอนนี้ได้รับจดหมายให้ไปชำระเงินสมทบที่ขาดส่ง พร้อมเงินเพิ่มของเดือน สิงหาคม 2553 เป็นเงินแปดร้อยกว่าบาท อยากทราบว่าเป็นความผิดของผู้ประกันตนหรือคะที่ไม่นำส่ง ในเมื่อทางประกันสังคมไม่แจ้งตัดผ่านบัญชีธนาคาร แล้วทำไมถึงเพิ่งมาทวงถามตอนนี้ 4 ปีผ่านไป โทร.ไปสอบถามก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้ บอกแต่ว่าต้องไปจ่ายอย่างเดียว ทำไมผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วยคะ เสียความรู้สึกค่ะ

    ตอบลบ
  98. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ21 พฤษภาคม 2557 15 นาฬิกา 23 นาที 00 วินาที GMT+7

    หลักปฏิบัติของประกันสังคมในกรณีการจ่ายเงิน ม.39 ยังเป็นลักษณะดังกล่าว คือผู้ประกันตนจะต้องตรวจสอบสิทธิรายเดือนของตนเอง ทางประกันสังคมเขาไม่ได้ตรวจสอบและการแจ้งผลของเขาก็ช้าบ้าง เร็วบ้าง ซึ่งเราอาจจะทำเรื่องร้องเรียนแจ้งไปทางประกันสังคมให้เขาปรับปรุงแก้ไข

    ซึ่งเราคงดำเนินการได้เพียงนั้น เพราะการปฏิบัติก็ต้องยึดตามที่สำนักงานประกันสังคมแจ้งมา

    ตอบลบ
  99. 1.ประกันสังคมมาตรา 39 ดีอย่างไร
    2.ถ้าส่งมาตรา 39 มาระยะ 1 ปีแล้ว จะยกเลิกมี ผลตอบแทนอะไรไหม

    ตอบลบ
  100. ตอบ คุณ Chompoo Dru27 พฤษภาคม 2557 14 นาฬิกา 49 นาที 00 วินาที GMT+7
    1.ประกันสังคมมาตรา 39 ดีอย่างไร
    => การประกันสังคม ม.39 เพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณี คือ
    1) กรณีประสบอันตราย
    2) ทุพพลภาพ
    3) ตาย
    4) คลอดบุตร
    5) สงเคราะห์บุตร
    6) และชราภาพ

    2.ถ้าส่งมาตรา 39 มาระยะ 1 ปีแล้ว จะยกเลิกมี ผลตอบแทนอะไรไหม
    => สิทธิในข้อ 1 สำหรับข้อ 1-5 จะหายไป แต่ยังคงได้สิทธิ์ชราภาพ (บำเหน็จหรือบำนาญ)

    ตอบลบ
  101. สวัสดีค่ะ
    เพิ่งเข้ามาเจอเว็บนี้ เห็นมีการตอบคำถามให้ทุกคนเลย ดีจัง
    มีคำถามเหมือนกันค่ะ

    ตอนนี้ดิฉันเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ตั้งแต่ปี 55 ส่งเดือนละ 432 บาท
    ดิฉันประกอบอาชีพอิสระ คือ ล่ามภาษาญี่ปุ่นฟรีแลนซ์ ลักษณะงานคือ รับจ้างทำงานให้บริษัทญี่ปุ่นลักษณะสัญญาจ้างชั่วคราว มีทั้งรับจ้างเป็นรายวัน รายเดือน (1-6 เดือน) รายปี (1-2ปี)
    ซึ่งจะมีบางช่วงที่ตกงาน หรือไม่มีงาน (1-2) เดือน

    คำถามแรก ลักษณะแบบนี้ช่วงที่ตกงาน จะรอรับเงินชดเชยได้มั๊ยคะ

    คำถามสอง หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน ทุพคลภาพ หรือเสียชีวิต จะได้รับการคุ้มครองอย่างไรบ้างคะ

    รบกวนด้วยนะคะ หรือตอบในอีเมล์ kannadasudaratto@gmail.com

    ตอบลบ
  102. ตอบ คุณ suda Inn7 มิถุนายน 2557 3 นาฬิกา 10 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถามแรก
    ลักษณะแบบนี้ช่วงที่ตกงาน จะรอรับเงินชดเชยได้มั๊ยคะ
    => ผู้ประกันตน ม.39 มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณี คือ
    1) กรณีประสบอันตราย
    2) ทุพพลภาพ
    3) ตาย
    4) คลอดบุตร
    5) สงเคราะห์บุตร
    6) และชราภาพ
    ดังนั้น จึงไม่มีเงินชดเชยสำหรับการตกงานใน ม.39 (ไม่ใช่ ม.33 ที่ให้ออกจึงจะมีสิทธิ์รับได้ค่ะ)

    คำถามสอง
    หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน ทุพคลภาพ หรือเสียชีวิต จะได้รับการคุ้มครองอย่างไรบ้างคะ
    => เมื่อได้จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน และเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นทุพพลภาพ จะมีสิทธิได้รับกรณีทุพพลภาพ
    1) ค่ารักษาพยาบาล และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ
    2) เงินทดแทนการขาดรายได้ รับเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
    3) ค่าทำศพ 40,000 บาท เมื่อผู้ที่ทุพพลภาพเสียชีวิต
    4) เงินออมชราภาพ รับคืนได้ภายใน 1 ปี
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/06/blog-post_9404.html

    เมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือนภายในระยะเวลา 6 เดือน และเสียชีวิต (ด้วยเหตุใดๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน) จะมีสิทธิได้รับกรณีเสียชีวิต
    1) ค่าทำศพ 40,000 บาท จ่ายให้ผู้จัดการศพ
    2) เงินออมชราภาพ รับคืนได้ภายใน 1 ปี (ทายาทเป็นผู้รับ)
    3) เงินสงเคราะห์กรณีตาย จ่ายให้ ... บุคคลที่ผู้ประกันตนระบุให้เป็นผู้รับเงินสงเคราะห์โดยการทำหนังสือระบุไว้ หากไม่ได้ทำหนังสือระบุให้ใครเป็นผู้รับ จ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ บิดา มารดา สามีหรือภรรยา บุตร โดยหารเฉลี่ยในอัตราคนละเท่าๆ กัน อย่าลืมว่า สิทธิประกันสังคมต้องยื่นขอรับภายใน 1 ปี (ยกเว้นกรณีว่างงานที่ต้องรายงานตัวภายใน 30 วัน) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=871
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/06/blog-post_5436.html

    ตอบลบ
  103. อยากถามคะการส่งเงินมารตา39 จะสงเงินกอนวันที่15ได้ไมคะบางที่ไม่ว่างคะ

    ตอบลบ
  104. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ9 มิถุนายน 2557 23 นาฬิกา 27 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    อยากถามคะการส่งเงินมารตา39 จะสงเงินกอนวันที่15ได้ไมคะบางที่ไม่ว่างคะ

    คำตอบ การส่งเงินมาตรา 39 มี 2 ลักษณะ คือหักผ่านบัญชี และ การชำระเป็นเงินสด
    - กรณีหักผ่านบัญชี จะหักประมาณวันที่ 15 ของเดือน หากไม่มีเงินก็จะไม่ตัดให้ในเดือนนั้น และจะต้องไปชำระเอง
    - กรณีชำระเป็นเงินสด สามารถชำระได้ไม่่เกินวันที่ 29 ของเดือนนั้น

    ดังนั้น การชำระเงินสดสามารถชำระวันไหนก็ได้ในเดือนนั้น แต่ก่อนหรือภายในวันที่ 29 ค่ะ

    ตอบลบ
  105. อยากจะสอบถามอ่ะค่ะ พอดีว่าน้าส่งประกันสังคมเอง ส่งที่ไปรษณีย์ แต่ไม่มีใบเสร็จ ไม่มีเอกสารส่งกลับอ่ะค่ะ อยากทราบว่าเราจะทราบได้ไงค่ะว่าเงินสระสมที่เสียไปมีเท่าไหร่

    ตอบลบ
  106. เข้าทำงานส่งประกันสังคมมาได้9เดือนแล้วออกจากงานขาดส่งไปประมาณ2เดือน ไปยกเลิกการประกันตนมาตรา33เป็นมาตรา39แทนอยากทราบว่าถ้าส่งต่อจนครบ12เดือนจะเบิกค่าสงเคราะห์บุตรได้ไหม

    ตอบลบ
  107. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ11 มิถุนายน 2557 12 นาฬิกา 04 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    อยากจะสอบถามอ่ะค่ะ พอดีว่าน้าส่งประกันสังคมเอง ส่งที่ไปรษณีย์ แต่ไม่มีใบเสร็จ ไม่มีเอกสารส่งกลับอ่ะค่ะ อยากทราบว่าเราจะทราบได้ไงค่ะว่าเงินสระสมที่เสียไปมีเท่าไหร่

    คำตอบ ได้ส่งคำตอบไปกระดานสนทนาของสำนักงานประกันสังคม ได้รับคำตอบดังนี้
    ผู้ประกันตนสามารถติดต่อสอบถามได้โดยตรง(ด้วยตนเอง) ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 หรือระบบสนทนาออนไลน์ ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th แต่ผู้ประกันตนต้องทำการสมัครสมาชิกก่อน

    ตอบลบ
  108. ตอบ คุณ Sukanya Arnuphab11 มิถุนายน 2557 18 นาฬิกา 19 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    เข้าทำงานส่งประกันสังคมมาได้9เดือนแล้วออกจากงานขาดส่งไปประมาณ2เดือน ไปยกเลิกการประกันตนมาตรา33เป็นมาตรา39แทนอยากทราบว่าถ้าส่งต่อจนครบ12เดือนจะเบิกค่าสงเคราะห์บุตรได้ไหม

    คำตอบ ได้ส่งคำตอบไปกระดานสนทนาของสำนักงานประกันสังคม ได้รับคำตอบดังนี้
    คุณสมบัติของผู้สมัครมาตรา 39
    1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
    2. ต้องยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
    ดังนั้น หากข้อมูลแจ้งว่า มีการนำส่งเงินสมทบมาตรา 33 มาแล้ว 9 เดือน จะไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39ได้

    ตอบลบ
  109. กรณีส่งเงินสมทบตามมาตรา 33 มาแล้ว 17 ปีบริษัทฯ ก็เลิกกิจการ จึงสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และนำส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ต่อเนื่องมาอีก 8 ปี ( รวมส่งเงินสมทบ 25 ปี ) จึงลาออกจากการเป็นสมาชิก สนง.ประกันสังคม ขณะที่มีอายุ 56 ปีเพื่อขอรับบำนาญ ขอถามว่า เงินเดือน 5 ปีสุดท้ายในช่วงใดที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณหาเงินบำนาญ กล่าวคือ นำมาจากเงินเดือน 5 ปีสุดท้ายที่ได้รับจากบริษัทฯ ( มาตรา 33 ) หรือใช้ฐานเงินเดือน (4,800 บาท ) 5 ปีสุดท้าย ตามมาตรา 39 ( มาตรา 39 กำหนด
    ให้ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท คือ 9 % ของเงิน 4,800 บาท)

    ตอบลบ
  110. กรณีส่งเงินมา 10ปี และลาออกจากงาน ขาดส่งมาปีกว่า ตอนนี้สถานะลาออกอัตโนมัติแล้ว
    เงินบำเหน็จยังมีสิทธิ์ไหมคะ หรือเป็นศูนย์ไปแล้ว

    ตอบลบ
  111. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2557 12 นาฬิกา 25 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    กรณีส่งเงินสมทบตามมาตรา 33 มาแล้ว 17 ปีบริษัทฯ ก็เลิกกิจการ จึงสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และนำส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ต่อเนื่องมาอีก 8 ปี ( รวมส่งเงินสมทบ 25 ปี ) จึงลาออกจากการเป็นสมาชิก สนง.ประกันสังคม ขณะที่มีอายุ 56 ปีเพื่อขอรับบำนาญ ขอถามว่า เงินเดือน 5 ปีสุดท้ายในช่วงใดที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณหาเงินบำนาญ กล่าวคือ นำมาจากเงินเดือน 5 ปีสุดท้ายที่ได้รับจากบริษัทฯ ( มาตรา 33 ) หรือใช้ฐานเงินเดือน (4,800 บาท ) 5 ปีสุดท้าย ตามมาตรา 39 ( มาตรา 39 กำหนด
    ให้ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท คือ 9 % ของเงิน 4,800 บาท)

    คำตอบ
    เงินบำนาญรายเดือน ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 15 ปี โดยเงินบำนาญรายเดือนของกองทุนประกันสังคมนั้น คำนวณโดยใช้หลักการแบบแผนกำหนดประโยชน์ทดแทน (Defined Benefits Plan : DBP) ซึ่งมีการกำหนดสูตรบำนาญไว้ชัดเจน โดยกองทุนประกันสังคมเป็นผู้รับความเสี่ยงในการจัดหาเงินมาให้เพียงพอต่อการจ่ายเงินบำนาญในแต่ละปี ซึ่งหากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเงินบำนาญรายเดือนคำนวณจาก
    P = (20% + 1.5% * (Y)) * W
    เมื่อ P = เงินบำนาญ (บาทต่อเดือน)
    Y = จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี
    W = ค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย
    กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตภายหลังจากการรับบำนาญระหว่าง 5 ปี ทายาทมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จตกทอดในอัตรา 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือนที่ผู้ประกันตนได้รับก่อนเสียชีวิต

    ตัวอย่างเงินบำนาญชราภาพที่ผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ
    คำตอบ : หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบกรณีชราภาพเป็นระยะเวลา 15 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ ดังนี้

    เงินบำนาญรายเดือน = (20% + 1.5% x (จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี)) x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
    = 20% x 15,000
    = 3,000 บาท/เดือน

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/10/blog-post_30.html

    ตอบลบ
  112. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2557 14 นาฬิกา 09 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    กรณีส่งเงินมา 10ปี และลาออกจากงาน ขาดส่งมาปีกว่า ตอนนี้สถานะลาออกอัตโนมัติแล้ว
    เงินบำเหน็จยังมีสิทธิ์ไหมคะ หรือเป็นศูนย์ไปแล้ว

    คำตอบ
    เงินก้อนหรือเงินบำเหน็จ ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี หรือผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนหรือทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จตามหลักการแบบแผนกำหนดเงินสมทบ (Defined Contributions Plan : DCP) ในอัตราดังนี้
    เงินบำเหน็จ = เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลตอบแทนจากการลงทุน

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://carebest2555.blogspot.com/2013/10/blog-post_30.html

    ตอบลบ
  113. ส่งเงินสมทบมาตรา 39 ไปล่าสุด 19 มีนาคม 2557 วันนี้(16 กค.2557)ไปส่งเงินสมทบ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าโดนตัดสิทธิ์แล้วครับ มีสิทธิ์ขอกลับมาเป็นผู้ประกันตนอีกหรือไม่ครับ ผมประกันตนมาตรา 33 มาตั้งแต่ 2545 และออกจากงานส่งมาตรา 39 ตั้งแต่ 2554

    ตอบลบ
  114. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2557 23 นาฬิกา 47 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    ส่งเงินสมทบมาตรา 39 ไปล่าสุด 19 มีนาคม 2557 วันนี้(16 กค.2557)ไปส่งเงินสมทบ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าโดนตัดสิทธิ์แล้วครับ มีสิทธิ์ขอกลับมาเป็นผู้ประกันตนอีกหรือไม่ครับ ผมประกันตนมาตรา 33 มาตั้งแต่ 2545 และออกจากงานส่งมาตรา 39 ตั้งแต่ 2554

    คำตอบ
    ผู้ประกันตนมาตรา 39 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือน ติดต่อกันหรือภายในระยะเวลา 12 เดือน มีการส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

    เมื่อสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ม. 39 แล้ว หากต้องการกลับมาอีก ก็ต้องเข้าลักษณะเดิม คือเป็นผู้ประกันตน ม. 33 ก่อน ซึ่งก็คือต้องกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทาง สำนักงานประกันสังคมมีประกาศให้กลับเข้ามาใหม่ได้ มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตน ม. 39 ได้

    ตอบลบ
  115. อยากทราบว่า กรณีลาออกจากงาน แล้วได้สมัคร ม.39 แต่สมัครยังไม่ถึง7เดือนแล้วคลอดบุตร จะสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ไหมคะ...

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การนับระยะเวลาเพื่อให้เกิดสิทธิ กรณีคลอดบุตร คือ "7 เดือน ใน 15 เดือน" แปลว่า หากนับย้อนไปในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา เราต้องสมทบอย่างน้อย 7 เดือน จึงจะมีสิทธิเบิกได้

      ลบ
  116. คุณป้าลาออกจากงานแล้วได้สมัคร ม.39 จ่ายเงินทุกเดือน จนตอนนี้ อายุ 61 ปีแล้ว ก้อยังจ่ายอยู่ จะสามารถติดต่อรับเงิน ชราภาพได้หรือไม่คะ


    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เงินบำนาญชราภาพ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
      - กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) ให้ได้รับบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
      - กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพครบทุก
      12 เดือน จะได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5

      ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบยอดเงินสะสมกรณีชราภาพได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก หรือโทรสอบถาม สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

      ลบ
  117. ขอสอบถามค่ะ
    ทำงานมาได้ 1 ปี 3เดือน ลาออกจากงานวันที่ 23 มิถุนายน 2557 และได้ไปสมัครมาตรา39 .ในเดือนตุลาคม2557 และได้มีการตั้งท้อง กำหนดคลอดวันที่ 17 เมษายน 2558 สิทธิจะครอบคลุมการคลอดมั๊ยค่ะ ยังใช้สิทธิการคลอดได้มั๊ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หลักเกณฑ์และเงื่่อนไข
      ================
      เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้

      มาทำความเข้าใจกับ "คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน"
      คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน


      ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
      ----------------------------------------------
      ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นหรือให้ผู้อื่นมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ พร้อมหลักฐานหรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

      เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน
      ------------------------------------------------------------
      1) ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ
      2) สำเนาสูติบัตรของบุตรพร้อมตัวจริง (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
      3) สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิถ้าไม่มีไม่ใช้ กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิหากไม่มีสำเนาทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของ ผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส)
      4) สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
      5) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก
      (9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBAK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)

      หมายเหตุ : หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

      ลบ
  118. ถ้าถูกตัดสิทธิ์มาตรา 39 แล้วได้ทำงานจะยื่นเข้ามาตรา33 ต้องไปแจ้งออกจากมาตรา39ก่อนหรือไม่ หรือไม่ต้องคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตามเงื่อนไข หากผู้ประกันตนมีการถูกตัดสิทธิมาตรา 39 ต่อมามีการกลับเข้าทำงานจะไม่ต้องแจ้งออกจากมาตรา 39 หากมีการเข้าทำงานจะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ทางนายจ้างจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

      ส่วนการนับเงินสมทบจะมีการนับต่อเนื่องจากของผู้ประกันตนที่เคยมีการนำส่งเงินสมทบเข้ามา

      ลบ
  119. รบกวนสอบถามหน่อยนะคะ คือดิฉันเคยทำงานออฟฟิต และเป็นผู้ประกันตนแบบ ม. 33 เป็นเวลา 10 ปี 8 เดือน (โดยเงินเดือนมากกว่า 15000 บาท) แล้วมีเหตุให้ออกจากงาน แต่ก็ได้ทำเรื่องเป็นผู้ประกันตนแบบ ม. 39 เป็นเวลาอีก 4 ปี 2 เดือน ตอนนี้ดิฉันอายุ 47 ปี ถ้าตอนนี้ดิฉันไม่ส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ
    1.ดิฉันยังมีสิทธิทำเรื่องรับสิทธิประโยชน์เงินบำนาญชราภาพตอนดิฉันอายุครบ 55 ปีหรือเปล่าคะ

    2.ถ้ายังมีสิทธิ ฐานเงินเดือนที่จะเอามาใช้คำนวณเงินบำนาญชราภาพ คำนวณแบบนี้ถูกมั้ยคะ
    ((15000*8)+(4800*52))/60= 6,162 บาท

    3.ถ้าไม่ถูกต้องคำนวณอย่างไรคะ

    4.ถ้าไม่มีสิทธิ หมายความว่าดิฉันต้องส่งเงินสมทบไม่จนกว่าจะอายุ 55 ปีหรือเปล่าคะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การขอรับสิทธิกรณีชราภาพ คือ
      ==================
      - ผปต.จะต้องอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และ
      - ต้องสิ้นสภาพความเป็นผปต. (ลาออกจากงาน)

      สำหรับกรณีท่านยังไม่ได้ลาออกจากงาน ถึงจะอายุครบ 55 ปีแล้ว ก็ยังไม่สามารถขอรับเงินออมกรณีชราภาพได้ แต่เงินออมของท่านก็ยังคงอยู่และเมื่อลาออก ก็สามารถนำหลักฐานบัตรประชาชนไปติดต่อขอรับสิทธิกรณีชราภาพได้ที่สปส.เขตพื้นที่/จังหวัดที่ท่านสะดวก ระยะเวลาในการยื่นให้ยื่นภายใน1ปีนับตั้งแต่วันที่เกิดสิทธิ


      เพื่อผู้ประกันตนสามารถคำนวณเงินบำนาญชราภาพในเบื้องต้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
      ======================================================
      1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นมาตราฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

      2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

      3. ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท

      4. สำนักงานประกันสังคมเริ่มจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพ วันที่ 31 ธันวาคม 2541


      สูตรคำนวณ:
      ========
      เงินบำนาญรายเดือน = {[20+(1.5*(t-15))]*w}/100
      w = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
      t = ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบกรณีชราภาพ

      หมายเหตุ:
      เจตนารมณ์ที่พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพเป็นบำนาญรายเดือนให้แก่ผู้ประกันตนไปตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้ประกันตนมีเงินพอเลี้ยงชีพทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต ทั้งนี้ หากสำนักงานประกันสังคมจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวหรือที่เรียกว่าบำเหน็จ ให้แก่ผู้ประกันตนแล้วผู้ประกันตนทยอยใช้เงินดังกล่าวทุกเดือนในอัตราเดียวกับการรับเงินบำนาญ เงินบำเหน็จดังกล่าวจะใช้ได้ประมาณ ๕ ปีเท่านั้น

      ลบ
  120. อยากทราบว่าถ้าเกิน 6 เดือนเลยมา 10 วันอ่ะค่ะแล้วยังสามารถส่งต่อแบบประกันตนเองได้หรือไม่มีข้อแนะนำไหมค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนที่ออกจากงานประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อ โดยสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ให้ยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง ภายในระยะเวลา 6 เดือน (อย่ารอให้ครบ 6 เดือน) หลังจากสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน หรือนับแต่วันที่ออกจากงาน เพราะจะเสียประโยชน์ได้

      ลบ
  121. ขอรบกวนหน่อยค่ะ..คุณแม่ได้ทำประกันตนเอง..เมื่อคุณแม่ได้เข้ารักษาที่ รพ. สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้ตามปรกติไหมค่ะ...

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สำหรับการขอใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล ไม่ว่าเราจะเป็นผู้ประกันตนเอง ม.39 หรือต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง หรือมีประกันอุบัติเหตุ/สุขภาพ ก็สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้อยู่แล้วค่ะ ไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าเรามีประกันตนเอง หรือไม่มีประกันตนเองค่ะ

      ลบ
  122. รบกวนถามค่ะ พอดีว่าจะแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน....จะต้องมีขึ้นตอนการทำอย่างไรบ้าง...และจะได้รับเงินคืนหรือป่าวค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ในการลาออกจากประกันสังคม ขึ้นอยู่กับว่าเราประกันตนในรูปแบบใด คือ ประกันตนตาม ม.33, ม.39 หรือ ม.40

      การแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
      =============================
      กรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานให้นายจ้างแจ้งออกโดยกรอกหนังสือแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) พร้อมระบุ

      สาเหตุการออกจากงานซึ่งนายจ้างต้องเซ็นประทับตราบริษัทให้ครบถ้วนสมบูรณ์และยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่รับ

      ผิดชอบ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง

      การแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
      =============================
      กรณีผู้ประกันตนต้องการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้กรอกแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนโดยสมัคร

      ใจ (สปส. 1-21) ด้วยตนเอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ผู้ประกันตนสามารถยื่นด้วยตนเอง

      ยื่นผ่านบุคคลอื่น (โดยมิต้องมอบอำนาจ) หรือส่งทางไปรษณีย์ ไปที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

      ที่ใกล้ที่อยู่อาศัย (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)

      ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพ
      ========================
      เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และ

      มาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

      ถ้าหาก ณ ปัจจุบัน ผู้ประกันตนอายุยังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ ยังไม่สามารถขอรับเงินออมได้

      เงินบำนาญ เงินบำเหน็จ กรณี ม.33 ม.39 ถ้ามีอายุครบ 55 ปีแล้ว จะต้องขอรับเงินได้อย่างไร
      หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีขอรับเงินออมชราภาพ
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
      3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 9 ธนาคาร คือ
      3.1 ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
      3.2 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
      3.3 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
      3.4 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
      3.5 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
      3.6 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
      3.7 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
      3.8 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
      3.9 ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
      3.10 เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน อาจขอหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

      ลบ
    2. ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการประกันสังคม
      ===========================
      1) ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพไปแล้ว สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนใหม่ได้ ดังนี้
      - หากว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ขอรับเงินออมได้รับเป็นบำเหน็จเป็นเงินก้อนไปเรียบร้อยแล้ว ก็ยังสามารถสมัครมาตรา 39 ได้ ภายในระยะเวลา 6 เดือนจากวันที่ออกจากงาน (ถ้าเราทำงานก่อนอายุ 60 ปี เราก็ยังคงเป็นผู้ประกันตนเองต่อไป แม้จะอายุเกิน 60 ปี ไปเรื่อยๆ ไม่มีการสิ้นสุดจนกว่าจะออกจากงาน)

      - หากเป็นบุคคลตามมาตรา 39 มายื่นขอรับเงินออม ไม่สามารถกลับมาสมัครมาตรา 39 ได้อีกครั้ง ยกเว้นคุณกลับไปทำงานกับนายจ้าง ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งออกให้มาสมัครมาตรา 39 อีกครั้ง แต่ถ้าหากอยุ 60 ปีบริบูรณ์ไม่สามารถแจ้ง

      ขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลมาตรา 33 ได้แล้ว

      2) คุณสมผู้สมัครประกันตน
      คุณสมบัติของผู้สมัครมาตรา 39
      1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
      2. ต้องยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง


      คุณสมบัติของผู้สมัครมาตรา 40
      1. ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปีบริบูรณ์ เป็นบุคคลสัญชาติไทย
      2. ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 และไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในมาตรา 4 และมาตรา 4 (6)

      จากคุณสมบัติข้างต้น การสิ้นสุดประกันตามมาตรา 33 (ก็คือไม่เป็นผู้ประกันตนแล้ว) ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หรือมาตรา 40 ก็ได้

      การกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนอีกครั้ง
      1. ได้ขอใช้สิทธิ์รับเงินบำนาจไปแล้ว เงินบำนาญจะหยุดจ่ายทันที และนับระยะเวลาการเข้าประกันตนต่อเนื่องกันจากระยะเวลาก่อนหน้านี้ รวมกับระยะเวลาประกันตนกลับมาใหม่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
      2. ได้ขอใช้สิทธิ์รับเงินบำเหน็จไปแล้ว (เงินบำเหน็จที่ได้รับไปแล้วจะไม่ถูกเรียกคืน) แต่เงินออมชราภาพจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ทันที

      3) ผู้ประกันตนมาตรา 40 การจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก คือ
      ทางเลือกที่ 1
      จ่ายเงินสมทบ 100 บาท (ประชาชนจ่าย 70 บาท/เดือน รัฐบาลร่วมอุดหนุน 30 บาท/เดือน) ได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณีคือ 1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ (หากผู้สมัครเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิก็ต่อเมื่อต้องมีการทุพพลภาพของอวัยวะเพิ่มขึ้นจากเดิม)
      3. เงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต


      ทางเลือกที่ 2
      จ่ายเงินสมทบ 150 บาท (ประชาชนจ่าย 100 บาท/เดือน รัฐบาลร่วมอุดหนุน 50 บาท/เดือน) ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี คือ 1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ (หากผู้สมัครเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิก็ต่อเมื่อต้องมีการทุพพลภาพ

      ของอวัยวะเพิ่มขึ้นจากเดิม)
      3. เงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต
      4. เงินบำเหน็จชราภาพ

      ลบ
    3. ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการประกันสังคม (ต่อเนื่อง)
      =======================================

      ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้
      1. ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 200 บาท
      (ประชาชนจ่าย 100 บาท/เดือน รัฐบาลร่วมอุดหนุน 100 บาท/เดือน) ได้รับสิทธิประโยชน์ 1 กรณี คือ เงินบำนาญชราภาพ


      2. ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) จ่ายเงินสมทบ 300 บาท
      (ประชาชนจ่าย 170 บาท/เดือน รัฐบาลร่วมอุดหนุน 130 บาท/เดือน) ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี คือ

      2.1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย Bitmap
      2.2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ (หากผู้สมัครเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิก็ต่อเมื่อต้องมีการทุพพลภาพของอวัยวะเพิ่มขึ้นจากเดิม)
      2.3. เงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต
      2.4. เงินบำนาญชราภาพ


      3. ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) จ่ายเงินสมทบ 350 บาท
      (ประชาชนจ่าย 200 บาท/เดือน รัฐบาลร่วมอุดหนุน 150 บาท/เดือน) ได้รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี คือ
      3.1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      3.2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ (หากผู้สมัครเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิก็ต่อเมื่อต้องมีการทุพพลภาพของอวัยวะเพิ่มขึ้นจากเดิม)
      3.3. เงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต
      3.4. เงินบำเหน็จชราภาพ
      3.5. เงินบำนาญชราภาพ

      เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเงินเป็นเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนชราภาพ พร้อมด้วยผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนดในแต่ละปี กรณีมาตรา 40

      หมายเหตุ
      กรณีเงินบำนาญชราภาพ จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน ตามจำนวนจำนวนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ หรือเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด จะได้รับจนครบจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำตามที่เงินเป็นเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบเข้ากองทุนในกรณี

      ชราภาพ ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม พร้อมด้วยผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงาน ประกันสังคมประกาศกำหนดใน

      แต่ละปี มาตรา 40

      ลบ
  123. เงินค่าคลอดบุตรต้องยื่นเรื่องภายในกี่วันคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
      =================
      เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้

      คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน
      คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน


      การเบิกสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรที่เริ่มจ่ายตั้งแต่ปี 2535-2554
      ============================================
      - เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 1 มกราคม 2554 - ปัจจุบัน)
      - เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 12,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 1 มกราคม 2550)
      - เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 6,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 13 เมษายน 2547)
      - เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 4,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 30 มีนาคม 2538)
      - เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 3,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 3 กันยายน 2535)


      ระยะเวลาในการยื่นเบิกขอรับประโยชน์ทดแทน
      ================================
      ระยะเวลาในการยื่นเบิกภายใน 1 ปีนับจากวันที่เกิดสิทธิ โดยผปต.สามารถยื่นเอกสารการเบิกได้ที่สปส.พื้นที่/จังหวัดที่คุณสะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)


      เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน
      =================================
      - ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ
      - สำเนาสูติบัตรของบุตรพร้อมตัวจริง (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
      - สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิถ้าไม่มีไม่ใช้ กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิหากไม่มีสำเนาทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของ ผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส)
      - สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
      - สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBAK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)

      หมายเหตุ : หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

      ลบ
  124. สงสัยคะว่าประกันสังคมเวลาคลอดบุตรแล้วเบิกได้ทั้ง2คนเลยหรือป่าวคะคือของแฟนก็มีประกันสังคมอยู่
    และของดิฉันก็มี สามารถใช้สิทธิเบิกได้ทั้ง2คนเลยหรือป่าวคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 7 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

      ในการใช้สิทธิของฝ่ายหญิง-ชาย
      ฝ่ายหญิง
      - จะได้รับเงินค่าคลอดบุตร เหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้งและ
      - เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

      ส่วนฝ่ายชาย
      - จะได้รับเป็นเงินค่าคลอดบุตร เหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้ง

      ในการคลอดแต่ละครั้งต้องเลือกใช้สิทธิของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายคนใดคนหนึ่ง และผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่งเงินสมทบเข้ามาให้ครบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้วย
      ** สรุป สามารถใช้สิทธิได้ทีละคน ผู้ประกันตนหนึ่งคนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง

      เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอเบิก
      สำหรับฝ่ายหญิง
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
      3. สูติบัตรพร้อมสำเนา
      4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารทหารไทย , ธนาคารธนชาต , ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

      สำหรับฝ่ายชาย
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
      3. สูติบัตรพร้อมสำเนา
      4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนภรรยา
      5. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสก่อนบุตรคลอด ให้แนบ หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส แทน)
      6.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ใช้ได้ 9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารทหารไทย , ธนาคารธนชาต , ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

      ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน อาจขอหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

      สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมได้ทุกเขตพื้นที่ ยกเว้นสำนักงานใหญ่ (สำนักงานใหญ่จะตั้งอยู่ที่ เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000) เนื่องจากสำนักงานใหญ่จะไม่รับยื่นเอกสารใดๆ

      ลบ
  125. อยากถามว่ากำลังโดนตัดสิทธิ์จาก ม.39 เมื่อวันที่14พ.ย57
    เนื่องจากลืมจ่าย สามารถกลับไปสมัครคืนสิทธิ์ได้ไหมคะ เพราะเห็นมีประกาศคืนสิทธิ์ให้ผู้ประกันตนม.39ที่ขาดส่ง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ดังนั้นผู้ประกันตนมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้

      หากผู้ประกันตนถูกตัดสิทธิ์ จะมีหนังสือแจ้งไปตามที่อยู่ว่าถูกตัดสิทธิ์ การยื่นอุธรณ์ ให้ผู้ประกันตนเตรียมหนังสือแจ้งว่าถูกตัดสิทธิ์ที่ได้รับพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อที่จะไปยื่นเรื่องอุธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกพื้นที่ ยกเว้นสำนักงานใหญ่

      ทั้งนี้ในการจะได้คืนสิทธิ์ มาตรา 39 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับทางสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะได้คืนสิทธิ์หรือไม่ และเมื่อได้รับแจ้งการได้สิทธิ์ ม.39 คืน จะต้องไปกรอกเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมเพื่อขอคืนสิทธิ์ต่อไป แต่หากผู้ประกันตนได้มีการคืนสิทธิ์นั้น ในเอกสารที่ส่งไปจะแจ้งวันที่กลับมาเป็นผู้ประกันตนอีกครั้งพร้อมทั้งชีแจงเพิ่มเติมว่าผู้ประกันตนต้องทำอย่างไร

      การยื่นอุธรณ์ผลการพิจารณาอาจจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ได้

      ลบ
  126. รบกวนสอบถามหน่อยนะคะ คือดิฉันเคยทำงานออฟฟิต และเป็นผู้ประกันตนแบบ ม. 33 เป็นเวลา 13 ปี (โดยเงินเดือนมากกว่า 20000 บาท) แล้วมีเหตุให้ออกจากงาน แต่ก็ได้ทำเรื่องเป็นผู้ประกันตนแบบ ม. 39 จะครบ 15 ปี ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ถ้าตอนนี้ดิฉันไม่ส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ ต้องการบำเน็จ
    1.ดิฉันยังมีสิทธิทำเรื่องรับสิทธิประโยชน์เงินบำนาญชราภาพตอนดิฉันอายุครบ 55 ปีหรือเปล่าคะ

    2.ถ้ายังมีสิทธิ ฐานเงินเดือนที่จะเอามาใช้คำนวณเงินบำนาญชราภาพ คำนวณจากฐานใดค่ะ 4800 หรือ15000

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินชราภาพได้

      ผู้ประกันตนไม่สามารถเลือกรับได้ ว่าจะรับเป็นบำนาญชราภาพ หรือบำเหน็จชราภาพ เพราะประกันสังคมจะดูการนำส่งเงินสมทบเข้ามา

      กรณีบำนาญชราภาพ
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
      ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะปรับอัตราเงินบำนาญชราภาพเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
      3. กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่รับบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

      กรณีบำเหน็จชราภาพ
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพ
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับในส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพพร้อมส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปีตามประกาศ

      แต่ถ้าผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี การคิดเงินบำนาญ ก็จะคิดในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่ถ้าผู้ประกันตนเคยเป็น มาตรา 33 และ 39 ประกันสังคมจะทำการคำนวณให้

      ลบ
  127. มีคำถามเพิ่มเติมเพื่อจะเผยแพร่ เพื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ดังนี้

    "เป็นผู้ประกันตน ม.39 เกิดอุบัติเหตุจูงรถจักรยานข้ามถนน แต่ถูกรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชน และอยู่ใกล้โรงพยาบาลที่ไม่เป็นผู้ใช้สิทธิ์ โดยจ่ายเงินไปก่อน ได้รับใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ สามารถเบิกจ่ายจากประกันสังคมได้อย่างไร"

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่สามารถเข้าทำการรักษาโรงพยาบาลตามหน้าบัตรได้ แต่เข้าโรงพยาบาลอื่น จะสามารถยื่นเรื่องเบิกได้ จะต้องเป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอันตราย จะสามารถยื่นเรื่องเบิกได้

      ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

      เอกสารที่ต้องเตรียม
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
      3. ใบเสร็จรับเงินตัวจริง
      4. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง
      5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารทหารไทย , ธนาคารธนชาต , ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ให้เลือกธนาคารใดธนาคารหนึ่ง

      ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/สาขา ที่ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน อาจขอหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

      สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกสาขา ยกเว้นสำนักงานใหญ่ ทั้งนี้ให้ยื่นเรื่องได้ภายใน 1 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุ

      กรณีผู้ประกันตนไม่สามารถยื่นเรื่องด้วยตนเองได้ สามารถให้บุคคลอื่นไปยื่นเรื่องแทน หรือส่งทางไปรษณืย์ไปที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ยกเว้นสำนักงานใหญ่ โดย
      1. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) พร้อมลงลายมือชื่อ ด้วยตนเอง และ
      2. เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องในหลักฐานที่แนบทั้งหมด ด้วยตนเอง (โดยไม่ต้องแนบเอกสารฉบับจริง)

      ลบ
  128. ขอสอบถามเพิมเติมค่ะ
    1. ตารางที่แสดงจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตน และผลประโยชน์ตอบแทนนั้น (ดูจากเว็บไซต์ ) เป็นจำนวนเงินอย่างคร่าวๆที่ผู้ประกันตนจะได้รับหรือไม่ค่ะ
    2. ตารางแสดงผลประโยชน์ตอบแทน เกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณเงินหรือไม่
    3.สูตรที่อธิบายหรือชี้แจงการคำนวณเงินไว้นั้น ทำความเข้าใจค่อนข้างยาก ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ค่ะ
    กรณีที่ แรก ทำงานในบริษัทและส่งครบ 15 ปี
    เงินบำนาญรายเดือน 20% x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ 15,000 บาท = 3,000 บาท
    " แต่ถ้าส่งเกิน 15 ปี อย่างเช่น 18 ปี เงินบำนาญรายเดือน = (20% + 1.5% x 3 ปี x 15,000(ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) หรือ 24.5 % x 15,000 = 3,675 บาท

    กรณที่สอง ทำงานในบริษัทมา 10 ปี และส่งต่อมาตรา 39 อีก 5 ปี รวมแล้ว 15 ปี เงินบำนาญรายเดือน = 20% x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ 4,800 บาท = 960 บาท
    แต่ถ้าส่งเกิน 15 ปี อย่างเช่น 18 ปี เงินบำนาญรายเดือน = (20% + 1.5% x 3 ปี x 4,800 (ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) หรือ 24.5 % x = 1,176บาท

    ขอบคุณมากค่ะที่ตอบข้อสงสัยครั้งที่แล้ว


    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ มี 2 กรณี ดังต่อไปนี้

      1. เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ
      - จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (ไม่น้อยกว่า 15 ปี) ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
      - มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
      - ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

      ประโยชน์ทดแทน
      --------------------
      - กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง
      - กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

      2. เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ
      - จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
      - ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
      - มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย


      ประโยชน์ทดแทน
      --------------------
      - กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
      - กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

      ขอตอบคำถามวิธีคำนวณ ในคำถามถัดไป

      ลบ
  129. การคำนวนบำนาญชราภาพ กรณีส่งต่อมาตรา39
    1. ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ (ถึงแม้ว่าจะโทรสอบถามเจ้าหน้าที่แล้ว อ่านกระทู้มาแล้วสองวัน หรือกฏเกณฑ์ของการคำนวณ แต่ก็ยังไม่เข้าใจวิธีการที่ตอบอยู่ดี ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ถุกต้องหรือไม่

    ส่งประกันสังคมตอนทำงานได้แค่165 งวดและส่งต่อม.39 ครบ 192 (เกินมา 1 ปีหรือ 12 งวด) = 192 งวด หยุดส่งต่อ วิธีการคำนวณคืออย่างไหนถูกค่ะ
    - 60 เดือนสุดท้าย คำนวณจากงวดที่ 132-192 งวด เท่ากับว่า 15000 x33 งวด = 495000 และ 4800x 27 = 129600 งวด ( 495000+129600 = 624600/ 60 = 10410 *20% = 2082 บาท ต่อเเดือน) ( ยังไม่คำนวณ 1.5 %) หรือ

    - 60 เดือนสุดท้าย คำนวณจากงวดที่ 120 -180 งวด เท่ากับว่า 15000x46 งวด = 690000 และ 4800x14 งวด = 67200 (ุ690000+67200 =757200/60 = 12620*21.5% = 2713 บาท ต่อเดือน คำนวณ 1.5% ที่ส่งเกินมาหนึ่งปี

    ขอบคุณมากค่ะที่ตอบคำถาม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพื่อผู้ประกันตนสามารถคำนวณเงินบำนาญชราภาพในเบื้องต้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
      1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นมาตราฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
      2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
      3. ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
      4. สำนักงานประกันสังคมเริ่มจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพ วันที่ 31 ธันวาคม 2541


      สำหรับการขอรับบำนาญชราภาพ มีวิธีคำนวณดังนี้
      ----------------------------------------
      P = (20% + 1.5% * (Y)) * W
      เงินบำนาญรายเดือน = (20% + 1.5% x (จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี)) x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
      ----------------------------------------
      เมื่อ P = เงินบำนาญ (บาทต่อเดือน)
      Y = จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี
      W = ค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย


      W = ค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย
      ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน หารด้วย จำนวนเดือน (60 เดือน)
      การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60

      ตัวอย่างเงินบำนาญชราภาพที่ผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ
      คำตอบ : หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบกรณีชราภาพเป็นระยะเวลา 15 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ ดังนี้

      ค่าจ้างเฉลี่ยที่นำส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้าย
      = 15,000 x 60
      = 900,000
      = 900,000 หารด้วย 60
      = 15,000 บาท/เดือน

      เงินบำนาญรายเดือน = (20% + 1.5% x (จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี)) x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
      = 20% x 15,000
      = 3,000 บาท/เดือน

      ถ้าทำงานเป็นเวลา 16 ปี ก็จะมีส่วนเพิ่มอีก ปีละ 1.5% คำนวณส่วนเพิ่มดังนี้
      = 1.5% x 1 (16 - 15) x 15,000
      = 225 บาท/เดือน + 3,000 บาท/เดือน
      = 3,225 บาท/เดือน

      ถ้าทำงานเป็นเวลา 17 ปี ก็จะมีส่วนเพิ่มอีก ปีละ 1.5% คำนวณส่วนเพิ่มดังนี้
      = 1.5% x 2 (17 - 15) x 15,000
      = 450 บาท/เดือน + 3,000 บาท/เดือน
      = 3,450 บาท/เดือน

      ในกรณีของคุณน่าจะอยู่ในเกณฑ์ 4,800 บาทต่อเดือน ดังนั้น
      = 20% x 4,800
      = 960 บาท/เดือน

      ส่วนระยะเวลาที่ได้แจ้งว่า
      "ส่งประกันสังคมตอนทำงานได้แค่ 165 งวดและส่งต่อม.39 ครบ 192 (เกินมา 1 ปีหรือ 12 งวด) = 192 งวด หยุดส่ง"

      สำนักงานประกันสังคมเริ่มจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 ดังนั้นระยะเวลาจนถึงปี 31 ธันวาคม2557 รวมเวลา 15 ปี จนถึงปัจจุบันนี้ก็เข้ามา 11 เดือนแล้ว ยังไม่ครบ 16 ปี คาดว่าคุณน่าจะนับคำนวณการส่งเงินสมทบชราภาพผิดพลาด เพราะต้องเริ่มนับจากวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เนื่องจากเป็นการสมทบครั้งแรกจนถึงปัจจุบันนี้

      ลบ
  130. แล้ว ม.33 กับ ม39 อันใหนดีกว่ากันคะ ยังงงอยู่คะ เพราะที่ร้านโดนย้ายหลายคนเลยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สำนักงานประกันสังคม แบ่งผู้ประกันเป็น 3 ประเภท โดยเรียกชื่อตามมาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 ใน พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533

      ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร
      =======================
      1. มาตรา 33
      ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน

      ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป

      ความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
      (1) ตาย
      (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

      ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ต่อไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นสภาพ การเป็นลูกจ้าง

      2. มาตรา 39
      ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

      จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

      ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้
      นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง

      3. มาตรา 40
      บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน

      หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ ตาม มาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา

      ลบ
  131. 1. ครูโรงเรียนเอกชนที่เป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชนอยู่แล้ว สามารถสมัครประกันตนมาตรา 33 (หากนายจ้างตกลงจ่ายให้) หรือ มาตรา 39 ได้หรือไม่ครับ
    2. หากถือสิทธิสองอย่าง จะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ครับ

    ขอบคุณมากๆ ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หากผู้ประกันตนที่จะทำการขึ้นทะเบียนมาตรา 33 นั้น หากเป็นบุคคลที่อยู่ในมาตรา 4 หรือมาตรา 4 (6) นั้นไม่สามารถขึ้นทะเบียนมาตรา 33 ได้

      รายละเอียดสำหรับมาตรา 4 หรือมาตรา 4 (6) มีดังต่อไปนี้

      มาตรา 4 กิจการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
      1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการ ส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
      2 ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
      3 ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำในต่างประเทศ
      4 ผู้อำนวยการ ครูหรือครูใหญ่ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
      5 นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษาหรือแพทย์ฝึกหัดซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล

      มาตรา 4(6) คือผู้ประกันตนไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันมาตรา 33 ได้
      (6) กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 4(6) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
      (6.1) ลูกจ้างของเนติบัณฑิตยสภา
      (6.2) ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
      (6.3) ลูกจ้างของสภากาชาดไทย
      (6.4) ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
      (6.5) ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปีและไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
      (6.6) ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล
      (6.7) ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่
      (6.8) ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบการค้าเร่ หรือการแผงลอย
      (6.9) ลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ

      สรุป
      กรณีมาตรา 39 ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อออกจากงานแล้ว หากมีการนำส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน

      ดังนั้น ในกรณีของคุณไม่สามารถสมัครได้ทั้ง ม.33 และ ม.39

      ลบ
  132. อายุ61 ขาดส่งมาตรา39 ตั้งแต่ 8/2557 จะมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่ออีก 6 เดือนใน 4 กรณี นับตั้งแต่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ได้แก่
      1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
      2. กรณีคลอดบุตร
      3. กรณีทุพพลภาพ
      4. กรณีเสียชีวิต


      สำหรับกรณีชราภาพ ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

      *** กรณีบำนาญชราภาพ
      - จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (ไม่น้อยกว่า 15 ปี) ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
      - มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
      - ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
      ประโยชน์ทดแทน
      --------------------
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะปรับอัตราเงินบำนาญชราภาพเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
      3. กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่รับบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่า ของบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

      *** กรณีบำเหน็จชราภาพ
      - จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
      - ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
      - มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
      ประโยชน์ทดแทน
      --------------------
      กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

      หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
      3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

      9 ธนาคารที่สามารถใช้ได้ ได้แก่
      1.ธนาคารกรุงไทย 2.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 3.ธนาคารกรุงเทพ 4.ธนาคารไทยพาณิชย์ 5.ธนาคารกสิกรไทย 6.ธนาคารทหารไทย 7.ธนาคารธนชาต 8.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 9.ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย


      เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน อาจขอหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

      ลบ
  133. ขาดส่งมาตรา39 ตั้งแต่8/2557 ตอนนี้61แล้ว ต้องทำยังไง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ดังนั้นผู้ประกันตนมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง


      แนะนำให้ผู้ประกันตนติดต่อด้วยตนเองโดยนำบัตรประชาชนตัวจริงพร้อมเอกสารการถูกตัดสิทธิติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ แต่หากผู้ประกันตนยังไม่ได้รับเอกสารการถูกตัดสิทธิให้มีการสอบถามกับทางประกันสังคมก่อนค่ะ ว่าจะสามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้หรือไม่ เนื่องจากยังไม่ได้รับเอกสารการถูกตัดสิทธิ

      ส่วนผลของการอุทธรณ์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้มีการสอบถามในวันที่มีการยื่นเรื่อง

      ลบ
  134. ถ้าเราโดนหัวหน้างารหรือเพื่อนร่วมงานกดดันซึ่งต้องการให้เราเขียนใบลาออกทั้งๆที่เราไม่เราเลยไม่เขียนใบลาออกแต่ถ้าเค้าไล่เราออกเราจะได้ค่าตอบแทนอะไรบ้างครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปัญหาที่เกิดขึ้นถ้าจะให้ถูกช่องทาง แนะนำให้สอบถามข้อมูลโดยตรงกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สายด่วน 1546 ติดต่อวันและเวลาราชการ

      -------

      กรณีประกันสังคม หากถูกเลิกจ้างโดยมีความผิด จะไม่ได้รับสิทธิกรณีว่างงานจากประกันสังคม

      แต่หากถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
      1) จะได้รับสิทธิกรณีว่างงานจากประกันสังคม โดยผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนออกจากงาน มีความสามารถและพร้อมที่จะทำงาน
      2) ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน

      *****
      หลังจากว่างงาน ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางาน ของรัฐได้ทุกแห่ง ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงานและรายงานตัวตามตารางนัดของสำนักงานจัดหางาน เงินกรณีว่างงานจึงอนุมัติจ่ายให้ประมาณ 5- 7 วันทำการ

      สำหรับที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน มีดังนี้
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
      3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ้ามี)
      4. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) (ถ้ามี)
      5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

      สมุดบัญชีธนาคารที่ใช้ยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทนได้มีทั้งหมด 9 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารทหารไทย , ธนาคารธนชาต , ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

      เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน อาจขอหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

      สำหรับผู้ประกันตนที่ออกจากงานจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่ออีก 6 เดือนใน 4 กรณี นับจากวันที่ออกจากงาน ได้แก่
      1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
      2. กรณีคลอดบุตร
      3. กรณีทุพพลภาพ
      4. กรณีเสียชีวิต

      ลบ
    2. การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

      หลังจากออกจากงานแล้ว หากผู้ประกันตนมีการนำส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ โดยต้องยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

      สิทธิที่จะได้รับเมื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี คือ
      1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      2. กรณีคลอดบุตร
      3. กรณีทุพพลภาพ
      4. กรณีเสียชีวิต
      5. กรณีสงเคราะห์บุตร
      6. กรณีชราภาพ

      หลักฐานการสมัคร มีดังนี้
      1. แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20)
      2. บัตรประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
      3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน (กรณีต้องการนำส่งเงินสมทบหักผ่านบัญชีธนาคาร)

      ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสมทบในอัตรา 432 บาท/เดือน (9% จากฐาน 4,800 บาท) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากเกินกำหนดต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน

      สำหรับการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีดังนี้
      1. เสียชีวิต
      2. กลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
      3. ลาออก
      4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่นำส่งเงินสมทบ)
      5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

      วีธิจ่ายเงินสมทบมาตรา 39 แบบเงินสด หรือหักผ่านบัญชีธนาคาร
      วิธีจ่ายเงินสมทบ มีดังนี้
      1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) ไม่มีค่าธรรมเนียม ชำระได้ทุกงวดพร้อมเงินเพิ่ม
      2. ชำระเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขาทั่วประเทศ (มีค่าธรรมเนียม โดยอัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามไปรษณีย์กำหนด) ชำระได้ทุกงวดพร้อมเงินเพิ่ม
      3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) , ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถชำระงวดปัจจุบัน และย้อนหลังได้ 1 งวดเดือน พร้อมเงินเพิ่ม ได้รับใบเสร็จรับเงินทันที
      4. เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ (Pay at post) ทุกสาขาทั่วประเทศ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อ 1 รายการ ชำระงวดปัจจุบันและย้อนหลัง 1 งวด พร้อมเงินเพิ่ม
      5. เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) เสียค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อ 1 รายการ ชำระงวดปัจจุบันและย้อนหลัง 1 งวดพร้อมเงินเพิ่ม
      6. หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อเดือน (ยกเว้นธนาคารกรุงไทย 5 บาทต่อเดือน) โดยธนาคารจะหักทุกวันที่ 15 ของทุกเดือนและจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ประกันตนทางไปรษณีย์ มี 6 ธนาคารคือ
      1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
      2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
      3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
      4. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
      5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
      6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

      กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 หักเงินสมทบผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน จะต้องทำหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
      1. ขอรับหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้ หรือ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)
      2. กรอกหนังสือยินยอมฯ ให้ครบถ้วน ยื่นต่อธนาคารไทยพาณิชย์สาขาที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้ เพื่อธนาคารตรวจสอบลงลายมือชื่อและคืนสำเนาหนังสือยินยอมฯให้ผู้ประกันตน
      3. นำสำเนาหนังสือยินยอมฯ ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่ผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนไว้

      สำหรับการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39 แบบเงินสดทุกช่องทาง กรณีไม่สามารถนำส่งเงินสมทบไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 16-29 ของเดือน สามารถชำระได้ โดยไม่เสียเงินเพิ่ม แต่ทั้งผู้ประกันตนผู้ประกันตนต้องไม่ค้างจ่ายเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (ต้องชำระภายในวันที่ 29 ของเดือน)

      ลบ
  135. ถ้าเราขาดส่งเราจะเสียสิทธิ์อย่างไรบ้างค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หากผู้ประกันตนมาตรา 39 ถูกตัดสิทธิเนื่องจากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

      ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่ออีก 6 เดือนใน 4 กรณี นับจากวันที่ถูกตัดสิทธิได้แก่
      1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
      2. กรณีคลอดบุตร
      3. กรณีทุพพลภาพ
      4. กรณีเสียชีวิต

      เมื่อครบกำหนด 6 เดือน ไม่มีการกลับเข้าทำงานกับนายจ้างที่ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคม ความคุ้มครอง 6 เดือนจะสิ้นสุดลงทันที

      โดยในกรณีไม่ได้เป็นผู้ประกันตนแล้ว แต่อายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถมารับเงินกรณีชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

      ลบ
    2. มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า
      "หากช่วงที่ขาดส่ง และอยู่ในช่วง 6 เดือนแรก เกิดมีเหตุต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลต่อเนื่อง เกิน 6 เดือนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น"

      หากผู้ประกันตนเข้ารักษาพยาบาลก่อนวันที่หมุดความคุ้มครอง 6 เดือนจากประกันสังคม เป็นการนอนพักรักษาอาการอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น

      หากความคุ้มครอง 6 เดือน จะสิ้นสุดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ในการเข้ารักษาพยาบาล หากเป็นผู้ป่วยนอก ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558

      แต่หากเป็นผู้ป่วยใน เข้ารักษาก่อนวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา แต่เมื่อออกจากสถานพยาบาลแล้ว การรักษาครั้งต่อไปไม่สามารถใช้สิทธิของประกันสังคมต่อได้

      กรณีผู้ประกันตนมีการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลประเภทคนไข้ สามารถใช้ในการรักษาได้ 180 วันในหนึ่งปี
      แต่หากเกินระยะเวลาที่กำหนดโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิจะมีการติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อพิจารณาการใช้สิทธิของผู้ประกันตน

      ลบ
  136. ขอสอบถาม เกี่ยวกับ กรณีชราภาพค่ะ

    ตอนนี้คุณแม่อายุ ครบ 55 ปี แต่ส่งเงินประกันไม่ถึง 180 เดือน จะสามารถรับสิทธิ์เงินชราภาพได้ไหมค่ะ แล้วยังสามารถประกันตนเองต่อได้อีกไหม
    ถ้ามีสิทธ์รับจะต้องทำอย่างไร รับที่ไหน เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ? รบกวนตอบทีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หากผู้ประกันตนยังคงทำงานอยู่จะยังไม่สามารถยื่นเรื่องขอรับได้ แต่ถ้าสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว อายุครบตามหลักเกณฑ์ สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินได้ : กรณีที่ผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับในส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพพร้อมส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปีตามประกาศ สามารถยื่นรับสิทธิกรณีชราภาพได้ ทั้งนี้การรับเงินออมชราภาพ ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และ มาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

      หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน
      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
      2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
      3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 9 ธนาคาร ค่ะ

      ถ้าสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 ขอรับได้ หากเมื่อยื่นเรื่องขอรับเงินออมชราภาพแล้ว ถ้าออกจากงานยังไม่เกิน 6 เดือน สามารถสมัครประกันตนมาตรา 39 ได้ เพราะหลักเกณฑ์การประกันตนเอง มาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อออกจากงานแล้ว หากมีการนำส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

      หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยื่นเรื่องขอรับเงินออมชราภาพ จะไม่สามารถกลับมาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้

      ลบ
  137. สวัสดีค่ะ เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่ถูกตัดสิทธิ์ ตอนนี้ได้ยื่นสมัครใหม่มาตรา 33 อยากทราบว่า ประโยชน์ทดแทนจะได้รับต่อเนื่องใหมค่ะ อย่างเช่นกรณีคลอดบุตรจะนับตั้งแต่เราเป็นผู้ประกันตนมาตรา33 หรือนับรวมกับตอนที่เป็นผู้ประกัน39 เลยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 7 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร ค่ะ เงินสมทบดังกล่าวนับรวมระยะเวลาของการนำส่งเงินสมทบทั้งมาตรา 39 และมาตรา 33 ด้วย

      ลบ
    2. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 จะมีทั้งหมด 7 กรณี คือ
      1. เจ็บป่วย
      2. คลอดบุตร
      3. ทุพพลภาพ
      4. เสียชีวิต
      5. สงเคราะห์บุตร
      6. ชราภาพ
      7. ว่างงาน

      ลบ
    3. 1. กรณีเจ็บป่วย
      ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ที่ไม่เนื่องจากการทำงานเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล

      3. กรณีทุพพลภาพ คือ การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะจนไม่สามารถทำงานได้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพจากสำนักงานประกันสังคม

      4. กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยไม่ใช่เนื่องจากการทำงาน ได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 1 เดือนหรือภายใน 6 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต

      5. กรณีสงเคราะห์บุตรผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 36 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน ก่อนเดือนที่ขอรับสิทธิ

      6. กรณีชราภาพผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

      7. กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนออกจากงาน มีความสามารถและพร้อมที่จะทำงานไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากทำความผิด และมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

      ลบ
  138. สวัสดีคะ แล้ว มาตรา33 นี่ใช่มาตราที่ผู้ว่าจ้างส่งเงินประกันสังคมให้เราใช่ไหมคะ ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกไหมคะ
    คือตอนนี้ลาออกจากงานที่เก่ามาคะ อยากทราบว่า สิทธิในการส่งประกันสังคมระหว่างให้ผู้ว่าจ้างส่งให้ที่อยู่ในมาตรานั้นๆ กับเรามาส่งเอง อะคะ เราต้องใช้มาตรา 39 หรือ 40 คะ แล้ว สิทธิการคุ้มครองระหว่างนายจ้างส่งให้กับเราส่งเอง ข้อไหนดีกว่ากันค่ะ แล้วนายจ้างต้องจ่ายส่วนที่จ่ายให้ลูกจ้างกี่เปอร์เซ็นต์คะ รบกวนหน่อยนะคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขออนุญาตตอบทีละคำถาม

      1) ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งนายจ้างเป็นผู้นำส่งเงินสมทบให้ เข้าใจถูกแล้ว

      2) กรณีออกจากงาน แล้วต้องการจะส่งประกันตนเอง นั้น

      ถ้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39
      =================
      ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
      1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
      2. ต้องยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

      สิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง มี 6 กรณี คือ
      1. เจ็บป่วย
      2. คลอดบุตร
      3. ทุพพลภาพ
      4. เสียชีวิต
      5. สงเคราะห์บุตรและ
      6. ชราภาพ

      ต้องนำส่งเงินสมทบในอัตรา 432 บาท/เดือน การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากเกินกำหนด ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน

      ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
      ===============
      - ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปีบริบูรณ์ เป็นบุคคลสัญชาติไทย,
      - ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
      - และไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในมาตรา 4 และมาตรา 4(6)

      ผู้ประกันตนมาตรา 40 เป็นการใช้สิทธิการรักษาบัตรทอง

      3) สิทธิการคุ้มครองมาตรา 33 มี 2 กองทุน
      - กองทุนประกันสังคม สิทธิที่จะได้รับมี 7 กรณี
      1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ที่ไม่เนื่องจากการทำงาน
      2. กรณีคลอดบุตร
      3. กรณีทุพพลภาพ
      4. กรณีเสียชีวิต
      5. กรณีสงเคราะห์บุตร
      6. กรณีชราภาพ
      7. กรณีว่างงาน

      - กองทุนเงินทดแทน โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองกรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานกับนายจ้าง โดยสิทธิที่จะได้รับคือ เงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล, ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน 3 วัน, ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ ค่าทดแทนกรณีถึงแก่ความตาย ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ

      4) สำหรับอัตราเงินสมทบมาตรา 33 คือ 5%

      ลบ
  139. สวัสดีค่ะ เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มีสิทธิเบิก เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไหมค่ะ ถ้าได้จะได้เท่าไหร่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 7 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

      กรณีใช้สิทธิผู้ประกันตนฝ่ายหญิง
      1. เงินค่าคลอดบุตร เหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้ง
      2. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
      ม.39 = คิดจากฐานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 39 เดือนละ 4,800 บาท

      กรณีใช้สิทธิผู้ประกันตนฝ่ายชาย
      1. เงินค่าคลอดบุตร เหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้ง

      ลบ
    2. เป็นผู้ประกันตน ม.39 แต่ขาดส่งเงินสมทบตั้งแต่ปี 2555 จะขอรับสิทธิหรือเงินบำเน็จคืนได้เมื่อไหร่

      ลบ

    3. ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินชราภาพได้

      ผู้ประกันตนไม่สามารถเลือกรับได้ ว่าจะรับเป็นบำนาญชราภาพ หรือบำเหน็จชราภาพ เพราะประกันสังคมจะดูการนำส่งเงินสมทบเข้ามา

      กรณีบำนาญชราภาพ
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
      ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะปรับอัตราเงินบำนาญชราภาพเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
      3. กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่รับบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

      กรณีบำเหน็จชราภาพ
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพ
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับในส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพพร้อมส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปีตามประกาศ
      ตอบคุณ ไม่ระบุชื่อ7 เมษายน 2558 19 นาฬิกา 02 นาที 00 วินาที GMT+7
      ===================================================
      แต่ถ้าผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี การคิดเงินบำนาญ ก็จะคิดในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่ถ้าผู้ประกันตนเคยเป็น มาตรา 33 และ 39 ประกันสังคมจะทำการคำนวณให้

      ลบ
  140. คำตอบ
    1. มาตรา 33 ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน => มาตรา 33 เป็นผู้ประกันที่มีนายจ้างตามกฏหมาย และต้องมีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

      ลบ
  141. มาตรา33และมาตรา39 ต่างอย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มาตรา 33 ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
      ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็น ผู้ประกันตนต่อไป
      --------------
      มาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

      มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
      (1) ตาย
      (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

      ลบ
  142. ผมอายุ 42 ปี ผมได้เคยทำงานอยุ่บริษัทแห่งหนึ่งจนบริษัทเลิกจ้างเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 57 ได้ส่งเงินสมทบตามมาตรา 33 มาแล้ว 16 ปี ถามว่าจะได้รับเงินคืนหรือไม่ และเมื่อไร แล้วถ้าเกินสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และนำส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท จนอายุครบ 55 ปี( รวมส่งเงินสมทบ 29 ปี ) จึงลาออกจากการเป็นสมาชิก สนง.ประกันสังคมขอถามว่า เงินเดือน 5 ปีสุดท้ายในช่วงใดที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณหาเงินบำนาญ กล่าวคือ นำมาจากเงินเดือน 5 ปีสุดท้ายที่ได้รับจากบริษัทฯ ( มาตรา 33 ) หรือใช้ฐานเงินเดือน (4,800บาท ) 5 ปีสุดท้าย ตามมาตรา 39 (มาตรา 39 กำหนดคือ ให้ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท 9 % ของเงิน 4,800 บาท

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คำถามแรก
      =======
      มอายุ 42 ปี ผมได้เคยทำงานอยุ่บริษัทแห่งหนึ่งจนบริษัทเลิกจ้างเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 57 ได้ส่งเงินสมทบตามมาตรา 33 มาแล้ว 16 ปี ถามว่าจะได้รับเงินคืนหรือไม่ และเมื่อไร

      คำตอบ
      =====
      ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินออมชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินชราภาพได้

      ผู้ประกันตนไม่สามารถเลือกรับได้ ว่าจะรับเป็นบำนาญชราภาพ หรือบำเหน็จชราภาพ เพราะประกันสังคมจะดูการนำส่งเงินสมทบเข้ามา

      กรณีบำนาญชราภาพ
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
      ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะปรับอัตราเงินบำนาญชราภาพเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
      3. กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่รับบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

      กรณีบำเหน็จชราภาพ
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพ
      2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับในส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพพร้อมส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปีตามประกาศ

      ลบ
    2. คำถามที่สอง
      =========
      แล้วถ้าเกินสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และนำส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท จนอายุครบ 55 ปี( รวมส่งเงินสมทบ 29 ปี ) จึงลาออกจากการเป็นสมาชิก สนง.ประกันสังคมขอถามว่า เงินเดือน 5 ปีสุดท้ายในช่วงใดที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณหาเงินบำนาญ กล่าวคือ นำมาจากเงินเดือน 5 ปีสุดท้ายที่ได้รับจากบริษัทฯ ( มาตรา 33 ) หรือใช้ฐานเงินเดือน (4,800บาท ) 5 ปีสุดท้าย ตามมาตรา 39 (มาตรา 39 กำหนดคือ ให้ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท 9 % ของเงิน 4,800 บาท

      คำตอบ
      ======
      ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี การคิดเงินบำนาญ ก็จะคิดในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่ถ้าผู้ประกันตนเคยเป็น มาตรา 33 และ 39 ประกันสังคมจะทำการคำนวณให้

      สรุป ก็คือ 60 เดือนสุดท้ายของที่ขอรับเงิน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ที่มาตราใด ณ ขณะนั้น หรืออาจจะควบทั้งสองมาตราก็นำมาเแลี่ยทั้งสองส่วน หรืออาจจะอยู่ในสุดท้าย ม.39 ก็เฉพาะส่วนสุดท้ายนั้นๆ

      ลบ
  143. เมื่อทางสำนักงานประกันสังคมมีการแจ้งเอกสารตัดสิทธิให้กับทางผู้ประกันตนรับทราบพร้อมทั้งแจ้งการรับเงินชราภาพที่สะสมคืนเมื่ออายุครบ55 ปี บริบูรณ์แล้ว เราควรติดต่อกลับไปหรือเปล่าค่ะอย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน
      ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ดังนั้นผู้ประกันตนมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

      หรือหากยินดีให้ตัดสิทธิ์ ก็ไม่ต้องดำเนินการยื่นอุทธรณ์ และรอให้อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เพื่อขอรับเงินชราภาพต่อไป

      ลบ
  144. อยากทราบว่าเราได้ส่งเงินประกันตน ม.39 เช็คดูได้จากไหนได้บ้างค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ให้เข้าที่เว็บไซต์ประกันสังคม http://www.sso.go.th/wpr/home.jsp และทำการสมัครสมาชิกเพื่อ log-in เข้าระบบ จะสามารถตรวจสอบยอดเงินประกันสังคมที่ส่งย้อนหลัง รวมทั้งสิทธิบำนาญชราภาพ และอื่นๆ ฯลฯ ได้

      ลบ
  145. มาตรา39และ40ต่างกันหรือไหม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. “ผู้ประกันตนตามมาตรา 39” เป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แต่เมื่อสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง ความเป็นผู้ประกันตนจึงสิ้นสุดตามไปด้วย แต่ว่ายังมีความประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อ จึงส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง

      ลบ
    2. “ผู้ประกันตนมาตรา 40” สำหรับการประกันตนตามมาตรา 40 นั้น เป็นผลมาจากการประกันตนมาตรา 39 โดยมีการเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ เพื่อต้องการให้ผู้คนหันมาเข้าร่วมกับการประกันสังคม โดยมีความหมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เรียกว่าเป็น “ผู้ประกันตนโดยอิสระ”

      ลบ
  146. ผมทำประกันสังคมมาแล้ว 193 เดือน บริษัทเลิกจ้างเพราะว่าเศรษฐกิจไม่ดี ผมก็เลยไปค้าขาย ตอนนี้อายุ 42 ปี ผมถามพนักงานที่บริษัทเค้าบอกว่าต้องอายุ 55 ปี จึงจะไปเบิกค่าชราภาพได้ก็แสดงว่าผมต้องรออีก 13 ปี ใช่ไหมครับเพราะตอนนี้ผมไปทำบัตรทอง30 บาท ถามว่า บัตรทอง กับ ประกันสังคม ไม่เกี่ยวกันใช่ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คำตอบที่เขาแนะนำมาถูกต้องแล้วคะ

      ส่วนบัตรทอง และ ประกันสังคม เป็นคนละส่วนกัน แต่จะมีทั้งสองอย่างไม่ได้ ต้องเป็นอย่างใด อย่างหนึ่ง

      ลบ
  147. อยากทราบว่าถ้าเราไม่ได้เข้าไปทำงานต่อแร้วแต่อยากจะส่งประกันสังคมต่อเป็นประกันตนเอง แต่เราจะต้องย้ายไปทำงานอื่นที่ต่างจังหวัดเราจะไปแจ้งที่ประกันสังคมที่อยู่ในจังหวัดนั้นได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ที่เราอยู่ได้

      ลบ
  148. ถูกแจ้งขาดส่งเอกสารถึงบ้าน 18 มิถุนายน แจ้งตัดไปตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ต้องทำอย่างไรบ้าง ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ดังนั้นผู้ประกันตนมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

      ผู้ประกันตนสามารถไปยื่นเรื่องอุทธรณ์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา โดยผู้ประกันตนนำบัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา และ เอกสารจากทางประกันสังคมที่แจ้งการสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ไป และติดตามผลจากสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่ยื่นเรื่องโดยตรงได้เลย

      ลบ
  149. บริษัทฯไม่นำลูกจ้างขึ้นประกันตน ลูกจ้างชึ้นประกันตนมาตรา 39 เมื่อออกจากงานมีสิทธิอะไรบ้าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินสมทบ ร้อยละ 9 ของจำนวนเงิน 4,800 บาท เงินสมทบเดือนละ 432 บาท เพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนทั้ง 6 กรณี คือ
      1.กรณีประสบอันตราย
      2. ทุพพลภาพ
      3. ตาย
      4. คลอดบุตร
      5. สงเคราะห์บุตร
      6. และชราภาพ

      ลบ

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...