สงสัยกันบ้างไหม ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือใคร ถ้าเราเป็นลูกจ้างทำงาน พนักงานบริษัท แล้วเราเป็นผู้ประกันตนแบบไหน ผู้ประกันตนแบบสมัครใจ สมัครแล้วจะได้สิทธิประโยชน์เหมือน ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือไม่
วันนี้เพื่อนๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร"
มาตรา 33
ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป
ความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น
(1) ตาย
(2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ต่อไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นสภาพ การเป็นลูกจ้าง
มาตรา 39
ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป
ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้
นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
มาตรา 40
บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน
หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ ตาม มาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา
แหล่งที่มา เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
สสัดดีค่ะ อยากทราบว่า แม่เคยใช้มาตรา33มาแล้ว และไ้ด้รับเงินคืนเมื่อตอนอายุครบ55ปีแล้ว และได้ลาออกจากมาตรา33แล้ว ปัจจุบันแม่ใช้มาตรา39ค่ะ ใช้มาประมาณ 1ปีแล้วค่ะถ้าแม่อายุครบ60ปีโดยไม่มีการขาดส่งเลยแม่จะมีเงินคืนหรือเปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบเรียน คุณ ไม่ระบุชื่อ12 มีนาคม 2557 10 นาฬิกา 59 นาที 00 วินาที GMT+7
ตอบลบผู้ประกันตนในมาตรา 33 และขอรับเงินบำเหน็จเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ก็สามารถขอรับเงินได้ ซึ่งจะต้องขอลาออกจากผู้ประกันตนก่อนจึงจะสามารถขอรับบำเหน็จได้ค่ะ
จากที่แจ้งว่าได้เข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แสดงว่าหลังจากรับเงินบำเหน็จแล้ว ก็ได้เข้าทำงานในสถานที่ที่ต้องมีการประกันสังคม จึงได้สิทธิ์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 อีกครั้ง แล้วถูกออกจากสถานที่ทำงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากออกแล้ว ก็สามารถขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ (ปกติจะสมัครมาตรา 39 ทันที เมือได้รับเงินบำเหน็จไม่ได้อยู่แล้ว) ซึ่งจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
ดังนั้น หากจะขอรับเงินบำเหน็จอีกครั้ง จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
1. สมทบไม่ครบ 12 เดือน มีสิทธิรับบำเหน็จ = เงินสมทบของลูกจ้างที่สมทบจริง
2. สมทบครบ 12 เดือน แต่ไม่ครบ 180 เดือน มีสิทธิรับบำเหน็จ = เงินสมทบของลูกจ้าง+ ดอกผลจากการลงทุน
180 เดือน มีสิทธิรับ "บำเหน็จ" จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว
หากมีข้อสงสัย ให้ติดต่อสำนักงานเขตพื้นที่ของตนเอง หรือติดต่ออสายด่วนประกันสังคม 1506
ส่งครบ180 เดือนแล้วจะได้รับเงินบำนาญ และอายุก็เกิน 55 ปียังจะต้องส่งเงิน432 บาทอยู่อีกไหม
ตอบลบการจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปที่จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และลาออกจากงานแล้วจะเริ่มมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ
ลบเงินบำนาญชราภาพ (คือเงินที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต)
- กรณีผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- กรณีผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี ส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มกรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน โดยปรับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
- กรณีผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับจากเดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำเหน็จชราภาพรายเดือนที่ได้รับก่อนเสียชีวิต
ในการยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ผู้ประกันตนสามารถกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งที่สะดวก
โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนให้แก่ผู้รับบำนาญชราภาพผ่านธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพอาจจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารล่าช้าประมาณ 2 เดือน เช่น ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพเดือนธันวาคม 2556 สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินของเดือนธันวาคม 2556 เข้าบัญชีธนาคารของผู้รับเงินบำนาญชราภาพภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจะต้องตรวจสอบข้อมูลเงินสมทบของผู้ประกันตนให้ครบถ้วนก่อนการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ กรณีนายจ้างค้างชำระเงินสมทบสำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบข้อมูลช่วงที่นายจ้างค้างชำระเงินสมทบก่อนการพิจารณาจ่าย โดยผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้างจริงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับเงินบำนาญชราภาพกรณีที่นายจ้างค้างชำระเงินสมทบ
และในการตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของผู้รับเงินบำนาญชราภาพที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก สำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยผู้ประกันตนที่รับเงินบำนาญชราภาพไม่ต้องเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานประกันสังคม
ผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)
อยากทราบว่าลาออกจากบริษัทมาได้10เดือน ไปทำงานที่ต่างประเทศตอนนี้กลับเข้ามาอยากจะสมัครเข้าประกันยสังคมใหม่จะทำอย่างรค่ะ
ตอบลบสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนเฉพาะ ตามมาตรา 40 ได้คะ
ลบส่วนมาตรา 33 จะต้องกลับเข้าไปทำงานในสถานประกอบการที่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนเท่านั้น
ส่วนมาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
อยากทราบว่าได้ลาออกจากบริษัทเก่ามาเป็นเวลา10เดือนแล้วและเคยทำงานกับบริษัทเก่ามาเป็นเวลา12ปีอยากทราบว่าตอนนี้อยากทำประกันสังคมใหม่แต่ยังตกงานจะทำอย่างไรดีค่ะ
ตอบลบสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนเฉพาะ ตามมาตรา 40 ได้คะ
ลบส่วนมาตรา 33 จะต้องกลับเข้าไปทำงานในสถานประกอบการที่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนเท่านั้น
ส่วนมาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
มาตรา 39 ลาออก ได้เงินก้อนไหมค่ะ
ตอบลบหลังจากผู้ประกันตน ลาออกจากมาตรา 39 นั้น จะมีสิทธิยื่นเรื่องรับเงินออมชราภาพ ซึ่งมี 2 อย่างคือ บำนาญชราภาพ หรือ บำเหน็จชราภาพ
ลบ********************************
กรณีบำนาญชราภาพ (กรณีส่งประกันสังคมตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป)
1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (ประมาณ 15 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะปรับอัตราเงินบำนาญชราภาพเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
3. กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่รับบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่า ของบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
กรณีบำเหน็จชราภาพ (กรณีส่งประกันสังคมไม่ถึง 15 ปี)
1. กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพ
2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับในส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายในกรณีชราภาพ พร้อมส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปีตามประกาศ
แนะนำให้ผู้ประกันตน ติดต่อเข้ามาที่สายด่วน 1506 ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบข้อมูลยอดเงินออมชราภาพ ด้วยตนเองโดยตรง
กรณีเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เงินกรณีชราภาพนั้น มาจาก 6% ของฐาน 4,800 บาท
ทั้งกรณี บำนาญชราภาพ และ บำเหน็จชราภาพ ก็ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีขึ้นไป จึงจะมีสิทธิ์ขอรับได้ หากอายุยังไม่ถึงก็ต้องรอจนอายุครบตามที่กำหนดดังกล่าวก่อน
ลบสิ้นสุดมา ตรา39แล้วจะได้เงินสงเคราะห์บุตรไหม
ตอบลบสิทธิ์ประกันสังคมยังคุ้มครองอยู่อีก 6 เดือนหลังจากออกจากประกันสังคม ยังสามารถเบิกสิทธิ์ต่างๆ ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
ลบ