ย่างเข้าหน้าร้อนไม่ทันไร อุณหภูมิของอากาศก็สำแดงแผงฤทธิ์สะกิดให้รู้ว่าโลกเรามันร้อนจริงๆ นะจ๊ะ หันหน้าไปทางไหนก็ป๊ะกับป่าคอนกรีตซีดๆ เซียว หาสีเขียวๆ มาเยียวยาให้เย็นตาสบายใจแทบไม่มี สงสัยคงต้องพึ่งพาสองมือของตัวเองปลูกต้นไม้คลายร้อนซะหน่อยแล้ว ว่าแต่ว่าอยู่ในเมืองแบบนี้จะเอาพื้นที่ตรงไหนมาปลูกต้นไม้ล่ะ
ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ในเขตเมืองที่อัดแน่นไปด้วยอาคารสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซะจนแทบจะไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับต้นไม้ จึงเกิดการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง การปลูกต้นไม้ในแนวระนาบผนัง หรือ การปลูกต้นไม้ในแนวตั้ง(Vertical Garden) กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และลดความหนาของดินที่ต้องใช้ลงด้วย
สำหรับในประเทศไทยก็มีทีมวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่อง "ผนังสีเขียว" นวัตกรรมอาคารเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2549 โดยนำเอาต้นไม้นี่แหละมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารซะเลย ซึ่ง "ผนังสีเขียว" ก็คือ การปลูกต้นไม้บนเปลือกอาคาร และหลังคาของอาคาร โดยเปลือกอาคารชีวภาพแบบนี้มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่นอกจากจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังลดการสะท้อนและแผ่รังสีออกสู่อากาศภายนอกอาคาร อันเป็นสาเหตุของเกาะความร้อนในเมือง(urban heat island) นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับและกรองฝุ่นละออง ควันพิษต่าง ๆ ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นอีกด้วย
ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ในเขตเมืองที่อัดแน่นไปด้วยอาคารสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซะจนแทบจะไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับต้นไม้ จึงเกิดการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง การปลูกต้นไม้ในแนวระนาบผนัง หรือ การปลูกต้นไม้ในแนวตั้ง(Vertical Garden) กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และลดความหนาของดินที่ต้องใช้ลงด้วย
สำหรับในประเทศไทยก็มีทีมวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่อง "ผนังสีเขียว" นวัตกรรมอาคารเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2549 โดยนำเอาต้นไม้นี่แหละมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารซะเลย ซึ่ง "ผนังสีเขียว" ก็คือ การปลูกต้นไม้บนเปลือกอาคาร และหลังคาของอาคาร โดยเปลือกอาคารชีวภาพแบบนี้มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่นอกจากจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังลดการสะท้อนและแผ่รังสีออกสู่อากาศภายนอกอาคาร อันเป็นสาเหตุของเกาะความร้อนในเมือง(urban heat island) นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับและกรองฝุ่นละออง ควันพิษต่าง ๆ ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นอีกด้วย
ทีมวิจัยได้นำ ไม้เลื้อย มาปกคลุมหน้าต่างแทนแผงกันแดดตามอาคาร ซึ่งพบว่าสามารถลดความร้อนเข้าสู่อาคารได้เป็นอย่างดี โดยจะลดความร้อนได้ดีที่สุดในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงสุดตอนกลางวัน โดยพบความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างห้องที่ใช้แผงกันแดดไม้เลื้อยกับอากาศภายนอกมากที่สุดถึง 11 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ยิ่งไม้เลื้อยที่นำมาปลูกมีจำนวนใบปกคลุมมากเท่าไหร่ ก็จะมีประสิทธิภาพในการลดความร้อนมากเท่านั้น แต่ก็มีปัญหาในเรื่องการระบายอากาศ ซึ่งแก้ได้โดยการเปิดประตูหรือหน้าต่างด้านตรงข้าม หรือการเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อช่วยให้อากาศผ่านผนังสีเขียวได้ดีขึ้น
นอกจาก แผงกันแดดไม้เลื้อย แล้ว ยังมีการศึกษาถึงความสามารถในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ ผนังไม้เลื้อย โดยการนำไม้เลื้อยพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราอย่างสร้อยอินทนิล พวงชมพู และตำลึง ปลูกให้เลื้อยไปบนไม้ระแนง พบว่าสร้อยอินทนิลสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีที่สุด
นอกจาก แผงกันแดดไม้เลื้อย แล้ว ยังมีการศึกษาถึงความสามารถในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ ผนังไม้เลื้อย โดยการนำไม้เลื้อยพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราอย่างสร้อยอินทนิล พวงชมพู และตำลึง ปลูกให้เลื้อยไปบนไม้ระแนง พบว่าสร้อยอินทนิลสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีที่สุด
รวมทั้งมีการนำ ดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่ผลิตได้ภายในประเทศ มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี แข็งแรงทนทาน และปกติก็ใช้เป็นกระถางต้นไม้อยู่แล้ว ออกแบบให้เป็น บล็อกดินเผาสำหรับปลูกต้นไม้ในแนวตั้ง แบบง่าย ๆ ที่สามารถติดตั้งได้เอง โดยเดินระบบท่อน้ำเพื่อให้น้ำในแนวตั้ง ซึ่งผนังบล็อกดินเผานี้สามารถลดอุณหภูมิภายในห้องได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อนปกติถึง 2 องศาเซลเซียส
แต่จะว่าไปแล้วสวนแนวตั้งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ซะทีเดียว เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบรรดา ต้นไม้ตามแนวรั้ว กำแพงไม้เลื้อย หรือไม้กระถางแขวนต่าง ๆ ก็ปลูกเป็นสวนแนวตั้งได้
จากนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวสมัยผู้ว่าฯอภิรักษ์ โกษะโยธิน ทำให้ตามป้ายรถเมล์ในกรุงเทพฯ บ้านเราก็มีสวนแนวตั้งกะเขาด้วย(แม้ว่าจะตายไปบ้าง ถูกมือดีจิ๊กไปบ้างก็เหอะ)
นอกจากนี้ในงาน Expo 2005 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการเสนอแนวคิด biolung ซึ่งเป็นผนังขนาดใหญ่ มีความสูง 20 เมตร ยาว 150 เมตร ปลูกไม้ดอกชนิดต่าง ๆ ในแนวตั้งเป็นผนังอาคาร ทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกสดชื่นได้ไม่น้อย
แต่จะว่าไปแล้วสวนแนวตั้งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ซะทีเดียว เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบรรดา ต้นไม้ตามแนวรั้ว กำแพงไม้เลื้อย หรือไม้กระถางแขวนต่าง ๆ ก็ปลูกเป็นสวนแนวตั้งได้
จากนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวสมัยผู้ว่าฯอภิรักษ์ โกษะโยธิน ทำให้ตามป้ายรถเมล์ในกรุงเทพฯ บ้านเราก็มีสวนแนวตั้งกะเขาด้วย(แม้ว่าจะตายไปบ้าง ถูกมือดีจิ๊กไปบ้างก็เหอะ)
นอกจากนี้ในงาน Expo 2005 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการเสนอแนวคิด biolung ซึ่งเป็นผนังขนาดใหญ่ มีความสูง 20 เมตร ยาว 150 เมตร ปลูกไม้ดอกชนิดต่าง ๆ ในแนวตั้งเป็นผนังอาคาร ทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกสดชื่นได้ไม่น้อย
ทั้งนี้ทั้งนั้น การปลูกสวนแนวตั้งต้องมีปริมาณมากจึงจะได้ผลดีมาก หน้าร้อนนี้ลองเพิ่มความสดชื่น สบายตา ให้ชีวิตด้วยพื้นที่เล็ก ๆ ที่มีอยู่กันดีมั้ย?
รายละเอียดเพิ่มเติมรศ. พาสินี สุนากร
สาขาวิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-942-8960 ต่อ 321, 080-912-0123
E-mail : arcpns@ku.ac.th, ppasinee@hotmail.com, www.biofacade.com
สาขาวิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-942-8960 ต่อ 321, 080-912-0123
E-mail : arcpns@ku.ac.th, ppasinee@hotmail.com, www.biofacade.com
แหล่งที่มา เว็บไซต์ Green
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น