วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำตัวอย่างไรในยุคของแพง

ขึ้น...ทุกวั๊นทุกวัน ราคาข้าวของ แล้วอย่างนี้ เราจะทำอย่างไรกันดีที่จะรับมือกับภาวะเช่นนี้ ได้เวลาแล้วที่คนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนกิจวัตรการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย แล้วมาปรับตัวให้เข้ากับยุคข้าวยากหมากแพง

แบ่งรายได้
เมื่อได้รับเงินเดือนให้แบ่งปันเงินเพื่อการออมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นก้อนเงินที่จะไม่เข้าไปยุ่งโดยเด็ดขาด จากนั้น แบ่งเงินที่เหลือออกเป็น 2 ส่วน
  1. ส่วนแรก ไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น ค่าเดินทาง ค่ากิน ฯลฯ
  2. อีกส่วน เป็นค่าใช้จ่ายส่วนเสริม สำหรับความบันเทิงต่างๆ ใครที่มีแผนจะไปเที่ยวปลายปี ก็เริ่มต้นเก็บเงินเสียตั้งแต่วันนี้ เลิกซื้อของตามใจหรือใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย
บันทึกรายรับ-จ่ายอย่าให้ขาด
ทำให้เป็นกิจวัตร เช่น ค่าเดินทาง (ค่าน้ำมัน) ค่าอาหาร และรายจ่ายเพื่อความบันเทิงต่างๆ เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าดูหนัง ค่าทำบุญ ฯลฯ ยิ่งละเอียดเท่าไหร่ยิ่งดี เมื่อย้อนกลับมาดูจะได้ตัดรายการที่ฟุ่มเฟื่อยเกินไปออก

ดูคุณภาพก่อนแบรนด์
ซื้อของจากสินค้ามีแบรนด์ ก็ใช่ว่าจะได้ของดีเสมอไป ยิ่งคนไหนที่ซื้อตอนเซลส์ด้วยแล้ว รู้หรือเปล่าว่า นอกจากจะจ่ายแพงอย่างไม่จำเป็น คุณอาจได้ของเสื่อมคุณภาพใกล้หมดอายุแถมมาอีกต่างหาก

อยู่บ้านให้มากขึ้น
ข้อดีของการอยู่กับบ้าน คือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สุดสัปดาห์นี้ลองหากิจกรรมทำ เช่น ชวนเพื่อนมาทำอาหาร เริ่มต้นงานอดิเรก จัดบ้านหรือจัดสวน เป็นต้น รับรองว่าเพลินจนลืมเบื่อเลยล่ะ

ช็อปมีแผน
สำรวจข้าวของในบ้านก่อน ว่าอะไรที่ขาดหายไปแล้วค่อยซื้อ ลองเปลี่ยนจากซูเปอร์มาเก็ตเป็นตลาดสดบ้าง ไม่ควรเห็นแก่ของฟรีหรือราคาถูก

ใช้โปรโมชั่นให้คุ้ม
เลือกใช้ประโยชน์จากบัตรคืนกำไร คูปองส่วนลด หรือคูปองเงินสด จะประหยัดได้ 20-50% ทีเดียว

ลงทุนในสิ่งจำเป็น
คนที่อยู่คอนโดหรือหอพัก หากมั่นใจว่าต้องอยู่นาน ก็ควรหาซื้อเครื่องกรองน้ำไว้ติดบ้าน เพราะคุ้มค่ามากกว่าการซื้อน้ำขวดเป็นโหลๆ หรือการหยอดเหรียญเติมน้ำ หากมีเสื้อผ้าที่ต้องซักจำนวนมากก็น่าจะเลือกซื้อเครื่องซักผ้ามาตรฐานประหยัดไฟไว้สักตัว  ในระยะยาวก็น่าจะประหยัดกว่าจ้างซักรีดที่มีแต่จะแพงขึ้นทุกวัน

ใช้ของเก่าให้พัง
เศรษฐกิจผิดเคืองเปลี่ยนเสื้อผ้าแบบไม่ซ้ำกันสักชุดคงไม่ได้แล้ว วิธีการได้ชุดใหม่ๆ ทำได้ง่ายๆ แค่ลองเปิดตู้เสื้อผ้าค้นหาให้ทุกซอกทุกมุม เชื่อเถอะว่า คุณจะเจอเสื้อที่ไม่เคยได้ใส่เลยอย่างน้อยสองถึงสามตัว ทีนี้จับมามิกซ์แอนด์แมตช์ก็เรียบร้อย ส่วนตัวไหนถ้าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ก็ซ่อมแซม เปลี่ยนแบบ หรือบริจาคก็ยังดี

เก็บให้ได้-ใช้ให้เป็น สมัยนี้เก็บเงินในรูปแบบการออมอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องทำให้งอกเงยด้วยการลงทุนอย่างถูกวิธี โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตส์ของตัวเอง ถ้าเป็นคนกล้าเสี่ยงลุย ก็อาจเลือกเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น ส่วนคนที่ต้องการความมั่นคงแน่นอน อาจมองเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาล กองทุน หรือประกันชีวิต

แหล่งที่มา   นสพ. M2F วันพฤหัสบดีที่ 3 พ.ค. 55 (136)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...