เฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรส ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการใช้ซองพัสดุแบบคาร์บอนสมดุลทั่วโลก โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
ซองจดหมายเฟดเอ็กซ์ ที่เดิมผลิตจากวัสดุรีไซเคิล100% และสามารถนำมารีไซเคิลได้อีก 100% เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการเปิดตัวโครงการจัดส่งเอกสารด้วยซองพัสดุคาร์บอนสมดุลของเฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรส บริษัทในเครือเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (หรือมีชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า FDX) ซึ่งถือเป็นบริษัทขนส่งด่วนแห่งแรกของโลกที่หันมาใช้ซองพัสดุคาร์บอนสมดุล โดยที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายจากลูกค้าเพิ่มแต่อย่างใด
เฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรสเดินหน้าลงทุนในโครงการระดับโลกนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในระหว่างการขนส่งของเฟดเอ็กซ์ทั่วโลก และมุ่งสนับสนุนโครงการ EarthSmart® (เอิร์ธสมาร์ท) หรือแนวทางการดำเนินงานของเฟดเอ็กซ์เพื่อโลกที่ยั่งยืน
ราเจช ซูบรามาเนียม รองประธานกรรมการอาวุโสด้านการตลาด เฟดเอ็กซ์ เซอร์วิส กล่าวว่า “ เฟดเอ็กซ์มุ่งค้นหาวิธีการใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอาชนะทุกความท้าทายด้านการขนส่งสำหรับลูกค้า และในขณะเดียวกันก็พยายามที่ช่วยโลกของเราไว้ ด้วยการผลิตซองพัสดุคาร์บอนสมดุลสำหรับการขนส่งของเฟดเอ็กซ์ เรากำลังขยายการสนับสนุนด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน และการคิดค้นนวัตกรรมในปัจจุบัน โดยเราหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นมาตรฐานการปฏิบัติในอนาคต”
เดวิด คันนิ่งแฮม จูเนียร์ ประธานบริษัทเฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรสภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ทั้งลูกค้าของเรา และสภาพอากาศโลกต่างได้รับประโยชน์จากการส่งเอกสารของเฟดเอ็กซ์ที่ลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนให้น้อยที่สุด ผลจากความพยายามนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้เห็นว่า เฟดเอ็กซ์มุ่งมั่นที่จะจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและส่วนอื่นๆ ของโลก”
เฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรสจะคำนวณปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาตลอดการจัดส่งซองพัสดุของเฟดเอ็กซ์ทั่วโลกทั้งหมดในแต่ละปีผ่านโครงการขนส่งด้วยซองพัสดุคาร์บอนสมดุล จากนั้นเฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรสจะบริจาคเงินให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง BP Target Neutral องค์กรที่มุ่งลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการลงทุนในด้านพลังงานทางเลือก หรือโครงการอนุรักษ์ต่าง ๆ คิดเป็นจำนวนเทียบเท่ากับการชดเชยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการของเฟดเอ็กซ์ โดยโครงการเหล่านี้รวมไปถึงฟาร์มชีวภาพในประเทศเนเธอร์แลนด์ โครงการปลูกป่าที่ไฮแลนด์ แทนซาเนียใต้ ที่ซึ่งแปลงทุ่งหญ้าเสื่อมโทรมเป็นป่าเชิงพาณิชย์ และระบบจัดเก็บก๊าซด้วยวิธีฝังกลบที่หลุมฝังกลบสุขาภิบาลแห่งแรกในประเทศไทย
“เฟดเอ็กซ์ ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ผ่านการปฏิบัติงานจริงของเครื่องบิน รถบรรทุก รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และในที่สุด เราก็บรรลุเป้าหมายในการพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างดี โครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซ์ด้วยซองจดหมายคาร์บอนสมดุลของเฟดเอ็กซ์ เป็นการทำเพื่อส่วนรวมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการของเรา โดยเสนอตัวเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้นแก่ลูกค้า” มิทช์ แจ็คสันรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น กล่าว
ในปี พ.ศ.2551 เฟดเอ็กซ์เป็นบริษัทแห่งแรกในอุตสาหกรรมขนส่งของสหรัฐฯ ที่ตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการบินทั่วโลก และเป้าหมายในการใช้ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพในการพาณิชย์ ในช่วงสิ้นสุดปีงบประมาณ 2554 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางเครื่องบินของเฟดเอ็กซ์ได้ลดลงถึง 13.8% เมื่อเทียบกับปี 2548 และเฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรส ได้ปรับปรุงการใช้พลังงานของการขนส่งทางน้ำภายในสหรัฐฯ กว่า 16% ตั้งแต่ปี 2554 นอกจากนี้ เฟดเอ็กซ์ เอ็กเพรส ยังได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ 6 แผงด้วยความสามารถในการผลิตพลังงานทดแทนที่สะอาดได้มากกว่า 6 เมกาวัตต์
โครงการลดการปล่อยคาร์บอนครอบคลุมทุกตัวเลือกการขนส่งซองพัสดุทั้งหมดของเฟดเอ็กซ์ รวมไปถึงบริการ FedEx First Overnight®, FedEx Priority Overnight®, FedEx Standard Overnight®, FedEx 2Day®, FedEx Economy 2Day® A.M. และ FedEx Express Saver® โดยในทุก ๆ ปี มีซองพัสดุของเฟดเอ็กซ์กว่า 150 ล้านซอง ถูกขนส่งไปทั่วโลก
แหล่งที่มา เว็บไซต์ GreenscapeASIA.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น