วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฮีโร่...รองเท้าบู๊ต ใส่อย่างไรให้ปลอดภัย

นพ.จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนที่สวมใส่รองเท้าบู๊ตยางอย่างต่อเนื่อง ให้ระวังโรคบริเวณผิวหนัง เพราะมีคนเริ่มป่วยด้วยอาการผื่นคันตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้ามากขึ้น

สาเหตุหลักของโรค มาจากการแพ้สิ่งสกปรก สิ่งปฏิกูลที่มากับน้ำ เนื่องจากเท้าต้องดูดซับความชื้นเป็นเวลานาน ทำให้เท้าเป็นจุดอับที่มีโอกาสก่อเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย วิธีการแก้เบื้องต้นต้องใช้ยาทา แต่ในกรณีที่มีแผลเป็นบริเวณกว้างต้องทานยาแก้อักเสบร่วมด้วย

นพ.ธวัชชัย  กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข บอกถึงปัญหาที่น่าเป็นห่วง เนื่องจาก
  1. ผู้ประสบภัยน้ำท่วมมีบาดแผลหรือรอยขีดข่วนที่เริ่มมีการอักเสบมากขึ้น พบได้ประมาณ 30% ของผู้เจ็บป่วย และ
  2. พบผู้มีบาดแผลจากการเหยียบสิ่งของมีคม 20%
  3. โดยส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นผู้ที่เดินเท้าเปล่าลุยน้ำออกมาจากซอยต่างๆ
การใส่รองเท้าบู๊ตต้องคำนึงว่าสวมใส่อย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมกับแนะนำว่าไม่ควรสวมใส่ตลอดเวลา เพราะรองเท้าบู๊ตจะเก็บความอับชื้น ทำให้เท้าติดเชื้อไม่ต่างจากการลุยน้ำสกปรกเป็นเวลานานๆ โดยดูว่าบริเวณไหนน้ำไม่สกปรกมากให้ถอดรองเท้าออก เพื่อให้เท้าได้ระบายถ่ายเทอากาศบ้าง

หลังจากถอดรองเท้าบู๊ตแล้ว ต้องล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกสะสมและไม่ให้เท้าอับชี้น ซึ่งจะช่วยลดอาการน้ำกัดเท้า อีกทั้งยังลดการเป็นผื่นคันได้

ข้อแนะนำของหมอธวัชชัย
  1. การใส่รองเท้าบู๊ตให้ถูกวิธี
  2. ซื้อรองเท้าให้เหมาะสม ควรซื้อเบอร์ใหญ่กว่ารองเท้าที่ใส่ประจำ 1 เบอร์ เช่น ใส่รองเท้าเบอร์ 42  ควรเลือกซื้อบู๊ตเบอร์ 43 เลือกชนิดที่มีความหนาของพื้นรองเท้าประมาณ 0.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรบางกว่านี้ เพราะอาจเหยียบวัสดุมีคม ซึ่งเสี่ยงต่อการฉีกขาดได้ง่าย
  3. ควรเลือกรองเท้าชนิดที่มีความสูงเกินระดับเข่าขึ้นไป หรือระดับที่จะป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ารองเท้าได้มากที่สุด
  4. ควรสวมถุงเท้าด้านในเผื่อไว้ด้วย เพื่อช่วยซับเหงื่อและลดการเสียดสีของเท้า
สวมใส่ถูกวิธีต้องมีเทคนิค
  1. เมื่อซื้อรองเท้าบู๊ตได้ขนาดพอเหมาะกับเท้าแล้ว หากรองเท้ายังมีกลิ่นยางติดอยู่ให้นำไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน จะนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นให้โรยแป้งด้านในเพื่อไม่ให้ยางติดกัน
  2. ขณะที่ใส่รองเท้าลุยน้ำ ถ้ามีน้ำล้นเข้าไปภายในรองเท้า ให้ถอดแล้วเทน้ำออกเป็นระยะๆ ดีกว่าสวมใส่โดยมีน้ำแช่ขังในรองเท้าอยู่ตลอดเวลา
  3. เมื่อขึ้นบนบกแล้ว
    • ให้ถอดรองเท้าออกและคว่ำรองเท้าลงให้สะเด็ดน้ำ
    • จากนั้นล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้งทุกครั้ง
    • ถ้าเท้ามีบาดแผลควรใส่ยาและปิดด้วยผ้าก๊อซสะอาด และ
    • หลีกเลี่ยงใส่รองเท้าบู๊ตชั่วคราวเพื่อป้องกันแผลอักเสบ
  4. วิธีง่ายๆ แบบนี้หากทำได้ สบายใจ สบายเท้า
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันอังคารที่ 8 พ.ย. 54 (020)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...