วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระทรวงแรงงาน อัด 5 โครงการ ช่วยนายจ้าง-ลูกจ้างประสบภัย

กระทรวงแรงงาน เตรียมออก 5 โครงการ ช่วยเหลือนายจ้าง-ลูกจ้างจากภาวะน้ำท่วม รวมถึง แผน 4 ข้อ ในการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต

วันนี้ (4 ธันวาคม) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ทางกระทรวงได้เตรียมการ 2 ประเด็นหลัก ในการช่วยเหลือลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วม และมาตรการวางแผนด้านแรงงานในอนาคต ที่นับวันจะมีโอกาสขาดแคลนแรงงานมากขึ้น ดังนี้
มาตรการช่วยเหลือลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ประสบภัย 5 มาตรการ ได้แก่
  1. การให้เงินกับลูกจ้างคนละ 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งผู้ประกอบการต้องทำข้อตกลงว่า จะจ้างลูกจ้างทำงานต่อ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 324 ราย ลูกจ้างประมาณ 2 แสนราย
  2. ช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบภัย ที่ได้รับเงินเดือนเพียงร้อยละ 75 จากเงินเดือนที่ได้รับตามปกติ ซึ่งทางรัฐได้จัดโครงการทำงานพิเศษเพื่อสาธารณประโยชน์ ค่าจ่างวันละ 150 บาท ไม่เกิน 120 วัน หรือรับจ้างชั่วคราวในโรงงานอื่น ซึ่งถ้าหากสถานประกอบการเดิมกลับมาเปิดได้เมื่อไหร่ ทางลูกจ้างมีสิทธิ์เลือกได้ว่า จะทำสถานประกอบการเดิมหรือใหม่
  3. โครงการสินเชื่อ ให้ลูกจ้างกู้ไปซ่อมบ้าน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 คงที่ 2 ปี งบประมาณร่วม 8 พันล้านบาท
  4. เปิดให้ผู้ประกอบการกู้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 คงที่ 3 ปี โดยต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถ้าหากไม่มีก็กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 คงที่ 3 ปี งบประมาณรวมทั้งสิ้น 2 พันล้านบาท เริ่มได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ทั้งนี้ จำกัดวงเงินต่อบริษัทตามจำนวนลูกจ้าง คือ ไม่เกิน 50 คน กู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท, ลูกจ้างตั้งแต่ 51-200 คน กู้ได้ไม่เกิน 2 ล้านบาท และลูกจ้าง 200 คนขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 4 ล้านบาท สามารถกู้ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ออมสิน และอิสลามแห่งประเทศไทย
  5. ลดการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ของนายจ้างและลูกจ้าง จากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 2 จากอัตราค่าจ้าง ตั้งแต่ มกราคม - มิถุนายน 2555 และจ่ายในอัตราร้อยละ 4 ตั้งแต่ กรกฎาคม-ธันวาคม 2555
ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 14,031 แห่ง แรงงาน 9.9 แสนราย ซึ่งปัจจุบันสามารถเปิดกิจการแล้ว 14,647 แห่ง และมีแรงงานกลับเข้าทำงาน 332,302 คน ส่วนที่ถูกเลิกจ้าง 9,572 คน จาก 31 สถานประกอบการ

จากสถิติดังกล่าว ถือว่าสภาวะตกงานของลูกจ้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ แต่ปัญหาที่สำคัญคือ วิกฤติขาดแคลนแรงงาน อย่างเช่น แรงงานต่างด้าวหนีกลับภูมิลำเนาเดิม เมื่อเกิดน้ำท่วม ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานอย่างสูง ดังนั้นทางกระทรวงจึงได้เตรียมทางแก้ไขไว้แล้ว คือ 
  1. เพิ่มคนในระบบแรงงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายจากคนว่างงาน คาดว่าเพิ่มได้สูงสุด 4 แสนคน
  2. ใช้คนเท่าเดิม แต่เพิ่มประสิทธิภาพ
  3. ใช้คนน้อยลง แต่พัฒนาที่ระบบ เช่น เครื่องจักรและเทคโนโลยีต่าง ๆ
  4. พัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การวางระบบขนส่ง
แหล่งอ้างอิง เว็บกระปุกดอสคอม และ ประชาชาติธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...