ในทางภาษีสรรพากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับผู้สูงอายุและคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไว้หลายประการ จึงจะขอนำมากล่าวเป็นลำดับไปดังนี้
“ผู้สูงอายุ” ได้แก่ บุคคลที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีภาษีที่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการ หรือขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น ในปีภาษี พ.ศ. 2554 ท่านที่เป็นผู้สูงอายุได้แก่ท่านที่เกิดก่อนหรือในปี พ.ศ. 2489
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม (72) ของข้อ 2 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) ลงวันที่ 12 มกราคม 2549 ทั้งนี้ โดยใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
กรณี ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้สูงอายุดังกล่าว เป็นผู้ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ที่ได้รับประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น
กรณี สามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
กรณี สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ตนได้รับ
อย่างไรก็ตาม กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์จะยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
อนึ่ง ผู้สูงอายุดังกล่าวจะเป็นคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการหรือไม่ก็ย่อมได้สิทธิประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นด้วยกันทั้งสิ้น
แหล่งที่มา เว็บไซต์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 00:00 น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น