การใช้ “ถ้อยคำ” สื่อสารกันทุกวันนี้ ไม่เพียงสะท้อนนิสัยใจคอ แต่สามารถนำมาซึ่งมิตร หรือ ก่อศัตรู ได้เสมอ! ทั้งยังส่งผลต่อ “บุคลิกภาพ” ที่แม้หน้าตา การแต่งกาย หรือ ท่วงท่าจะดูดี แต่หากวาจาไม่ชวนฟัง ย่อมไม่เป็นที่ประทับใจ ดับได้ง่าย ๆ เช่นกัน ก่อนเอ่ยคำพูดใดจึงควรตระหนักถึงคุณ และโทษที่จะเกิดตามมาด้วย
สำหรับ “การพูดดี” นั้น คือ ใช้คำ-น้ำเสียงสุภาพ เหมาะกับกาลเทศะ และบุคคล เพื่อให้เกียรติผู้ร่วมสนทนา การพูดควรมีหางเสียง (ครับ/ค่ะ) ไม่ละเลยที่จะกล่าวคำ “ขอโทษ ขอบคุณ สวัสดี” หลีกเลี่ยงคำพูดยุยง ก้าวร้าว โวยวาย เหน็บแนม หรือ ดูถูกผู้อื่น ใช้ภาษาถูกต้อง สื่อความหมายตรงกับความคิด พูดความจริงด้วยความจริงใจ แต่หากเป็นเรื่องไม่เกิดประโยชน์ ก่อโทษมากกว่า ไม่จำเป็นต้องพูด!
ใช้ถ้อยคำแฝงอารมณ์ขัน ติดตลกตามสมควร (โดยไม่เป็นการดูหมิ่นผู้อื่น) สามารถสร้างความประทับใจได้เช่นกัน ช่วยเพิ่มบรรยากาศความเป็นกันเอง หลีกเลี่ยงการพูดฝ่ายเดียว หรือ กล่าวแทรกตัดบทขณะคู่สนทนากำลังพูด ควรคำนึงถึงวาระ และโอกาสด้วยว่า “ช่วงไหนควรพูด-ช่วงไหนควรเป็นผู้ฟังที่ดี”
พูดดีเป็นศรีแก่ตัว มิตรภาพดีๆ ก็เข้ามาสู่คุณได้ง่ายๆ
แหล่งที่มา มุมสุขภาพของคนรักสุขภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น