วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เงินออมชราภาพ มาตรา 33, 39, 40

Q : ข้อแตกต่างระหว่างเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนมาตรา 33 (มีนายจ้างขึ้นทะเบียนประกันสังคม) ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 (เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33) และผู้ประกันตนตามมาตรา 40

A: กรณีชราภาพของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
เงินบำเหน็จชราภาพมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1. กรณีที่ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายกรณีชราภาพเท่านั้น
  2. กรณีที่ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเป็นบำเหน็จในส่วนของนายจ้างและส่วนของผู้ประกันตน รวมถึงอัตราผลตอบแทนประกาศในแต่ละปี
กรณีเงินบำนาญชราภาพมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1. กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน ได้รับบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
  2. กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ส่วนที่เกินทุกๆ 12 เดือน จะปรับอัตราเงินบำนาญชราภาพเพิ่มอีกร้อยละ 1.5
  3. กรณีที่ผู้ประกันตนรับเงินบำนาญชราภาพอยู่แล้ว และมีการเสียชีวิตภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินคืนเป็นบำเหน็จชราภาพแก่ผู้มีสิทธิจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
สำหรับผู้ประกันตนตามาตรา 40
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพบวกด้วยเงินสมทบเพิ่มเติม พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

แหล่งที่มา   Facebook : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...