วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

"การมอบอำนาจ" VS "การมอบฉันทะ"

เคยสงสัยหรือไม่ว่า

"การมอบอำนาจ" กับ "การมอบฉันทะ"
ต่างกันอย่างไร

"การมอบอำนาจ" 
ความหมายที่ได้บัญญัติไว้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด
ที่มีอำนาจในทางกฎหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใด
โดยชอบและมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด
เป็นผู้ใช้อำนาจนั้นแทนตนเองเป็นการเฉพาะเรื่อง

หรือ เป็นการทั่วไปภายในขอบเขตอำนาจ
ที่ผู้ลงมีอำนาจนั้นมี และภายในขอบเขต
ระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึง
การรับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนั้นๆ จนแล้วเสร็จ
เว้นแต่จะมีการถอนหรือยกเลิกการมอบอำนาจนั้น

เช่น การรับมอบอำนาจไปจดจำนองที่กรมที่ดิน,
การรับมอบอำนาจไปแจ้งความที่ สน. เป็นต้น

"การมอบฉันทะ" 
จะหมายถึง การมอบให้บุคคลทำธุระให้
ด้วยความไว้วางใจโดยมีหลักฐาน
จะไม่เป็นทางการ เหมือนกับการมอบอำนาจ
ซึ่งการมอบฉันทะนั้นโดยทั่วไป
ย่อมไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจของผู้มอบฉันทะ
อย่างหนึ่งอย่างใด หากแต่เป็น
การขอให้ดำเนินการในเรื่องธุระทั่วไปให้ทำแทน

หรือเฉพาะเรื่องเท่านั้น และเฉพาะครั้งเท่านั้น
จะนำไป มอบฉันทะไปใช้คราวอื่นถึงแม้จะเป็น
กิจการประเภทเดียวกันไม่ได้

เช่น มอบฉันทะให้ไปรับเอกสารสำคัญ หรือ
มอบฉันทะให้เป็นผู้รับเงินแทน เป็นต้น

กรณีของการมอบอำนาจ
ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

ส่วนการมอบฉันทะไม่ต้องปิดอากรแสตมป์

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณเกียรติศักดิ์ พราหมโณ ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจสาขา ธนาคารเกียรตินาคินจำกัด (มหาชน)

แหล่งที่มา   Facebook : Kiatnakin Bank

2 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. สาระสำคัญในการทำหนังสือมอบอำนาจ

      1. ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจต้องไม่เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ

      2. ผู้รับมอบอำนาจจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้

      3. การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้อง และไม่จำต้องระบุชื่อศาลที่จะฟ้องว่าฟ้องศาลใหน

      4. นิติบุคคลผู้มอบอำนาจจะมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งได้แต่จะมอบอำนาจให้เป็นจำเลยในคดีอาญาไม่ได้

      ได้ค้นหาคำตอบจาก http://thanulaw.com/index.php/notary/13-uncategorized/62-attorney-of-power

      ลบ

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...