วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

มะเร็งการเงิน

“โรคทางการเงิน” ว่ามันน่ากลัวขนาดไหน
เปรียบเทียบแบบง่ายที่สุด

มันเทียบได้กับโรค "มะเร็ง" เลยเชียวล่ะ
เพราะว่าเวลาคนเป็นมะเร็ง
ก็มีระยะที่ 1 2 3 4 ว่ากันไป

แต่กว่าจะรู้ตัวกันก็ระยะที่ 3 ขึ้นไปแล้ว
แล้วมักจะรักษาไม่หาย
เพราะว่า "อาการผิดปกติ"
หรือ "ความเจ็บปวด"

มันเพิ่งจะส่งผลให้เรารู้สึกตอนนั้น
ไม่ต่างอะไรกับ "โรค" ทางการเงินเลย
คนที่เริ่มตรวจสุขภาพทางการเงิน
จะมีการฉีดวัคซีนกันไว้เสมอๆ

ช่วงปีแรก ถึง ปีที่ห้า
แทบไม่มีอะไรแตกต่างเลย
ระหว่างคนที่ไม่ดูแลตัวเองเรื่องการเงิน
กับคนที่ใส่ใจสุขภาพทางการเงิน

พอเวลาผ่านไปสักระยะ
ความแตกต่างระหว่างของ
"คนที่ดูแล" กับ "คนที่ไม่ดูแล"
จะเริ่มเห็นผลกันชัดตอนปีที่ 10 ขึ้นไป

ตัวอย่างเช่น
นาย A เริ่มเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท
นำไปลงทุนในกองทุนหุ้น
ได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี
(กองทุนหุ้นผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 14-15%)

นาย B ไม่สนใจมองว่าเก็บไปคงไม่เท่าไหร่
ใช้หาความสุขดีกว่า เที่ยวดีกว่า
ซื้อเสื้อผ้าใหม่ดีกว่า
ภาพตัดมาอีกที 10 ปีผ่านไป …

นาย A มีเงินเก็บประมาณ 820,000 บาท
นาย B ไม่มีอะไรเลย
นาย A จะแต่งงานอย่างน้อยก็มีเงินก้อนนี้
ในการจัดงาน สินสอดต่างๆ บลาบล๊าบลา
นาย B ไม่มี …

เห็นความแตกต่างกันไหม
การลงทุนหรือการออม
จะต้องใช้ "ระยะเวลา" และ "ความอดทน"

กว่านาย B จะรู้ตัวก็เป็น
"มะเร็ง" ทางการเงินไปแล้ว ..
ยิ่งไปกว่านั้น "โรคทางการเงิน"
ไม่ได้หมายถึงแค่เงินออมนะ
แต่หมายถึงเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตด้วย
เช่น เกษียณอายุ การศึกษาของลูก
ความเสี่ยงด้านสุขภาพ/อุบัติเหตุ
เยอะแยะมากมายเลยยยยยย

ตรวจสุขภาพทางการเงินกันบ้างนะ
เป็น "มะเร็งการเงิน" กันอยู่รึป่าววว !?
เพราะรักจึงห่วงใยน้าาาา ม๊วฟๆๆๆ

แหล่งที่มา     Facebook : Money Buffalo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...