วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
Google Logo : 22 ก.พ. 2555 ครบรอบวันเกิดปีที่ 155 ของ Heinrich Rudolf Hertz
Heinrich Rudolf Hertz ผู้กำหนดนิยาม ความถี่ของโลก
ภาพลูกคลื่นวิ่งไปมา ในหน้าจอ ออสซิโลสโคป คงเป็นสัญลักษณ์ด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นที่มาของหน่วยความถี่ ที่เรียกว่า Hertz
Hertz เป็นชื่อที่แต่งตั้งให้ เพื่อเป็นเกียรติ กับนักวิทยาศาสตร์ นามว่า Heinrich Rudolf Hertz นั่นเอง
Heinrich Rudolf Hertz (22 กุมภาพันธ์ 1857 - 1 มกราคม 1894) จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และรับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยคีล จากการค้นพบที่สำคัญของ แมกซ์เวลล์ ทำให้ Heinrich Rudolf Hertz หันมาสนใจการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การศึกษาของแมกซ์เวลล์พบว่า ถ้านำตัวนำมารับประจุไฟฟ้า หรือให้คายประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว มันจะต้องเกิดการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปด้วย เพราะประจุที่ให้แก่ตัวนำนั้นจะไม่ขึ้นอยู่ในตัวนำตลอดไป แต่มันจะคายประจุออกมาเรื่อยจนกระทั่งเป็นกลางทางไฟฟ้า
การคายประจุแบบนี้จะเป็นการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมานั่นเอง Heinrich Rudolf Hertz คิดว่าหากนำสายตัวนำมาต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดจะทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไปจนสุดปลายสาย ที่ไม่ต่อกลับเข้าวงจร กระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ต่อไปอีกหรือไม่ ในความคิดของแมกซ์เวลล์ กระแสไฟฟ้าจะแพร่กระจายเหมือนกันเสียงของระฆังที่ถูกตี ส่วนความดังของเสียงจะขึ้นกับระยะทาง
Heinrich Rudolf Hertz ได้ทำการทดลองนี้ซ้ำโดยใช้ขดลวด 2 ขด เป็นอุปกรณ์ ขวดที่ 1 ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้า และขดที่ 2 ทำหน้าที่รับสัญญาณ ผลการทดลองของเขาเป็นไปตามทฤษฏีของแมกซ์เวลล์ทุกประการ กล่าวคือ แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศได้ Heinrich Rudolf Hertz ได้พัฒนาสายอากาศ(Antenna) สำหรับส่งสัญญาณหลายชนิด และได้ทดสอบคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัสดุหลายชนิด ภายหลังเขาจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
แหล่งที่มา เว็บไซต์ okNation
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น