แต่การค้นพบครั้งนี้ มีความแปลกกว่าครั้งก่อนๆ เพราะดาวเคราะห์ทั่วไปในระบบสุริยจักรวาลจะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ประเภท คือ
- หินแข็ง เช่น โลก
- กลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสหรือดาวเสาร์ และ
- ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ เช่น ยูเรนัส
นักวิจัยจากศูนย์ดาราฟิสิกส์แห่งฮาร์วาร์ดสมิธโชเนียน ประเทศสหรัฐ เผยว่า ได้ทำการค้นพบดาวเคราะห์ GJ1214b มาตั้งแต่ปี 2009 จากฐานปฏิบัติการภาคพื้นดินภายใต้โครงการเอ็มเอิร์ธ และต่อมาในปี 2010 ก็มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า GJ1214b มีส่วนประกอบเป็นน้ำ แต่ยังไม่ทราบขนาดที่ชัดเจน
จนกระทั่งปี 2012 นักวิจัยได้ร่วมมือกับองค์การนาซา ซึ่งสำรวจอย่างละเอียดโดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (WFC3) พบว่า ดาวเคราะห์ GJ1214b มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าประมาณ 2.7 เท่าของโลก และน้ำหนักที่มากกว่าโลกถึง 7 เท่า นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวดวงนี้ปกคลุมด้วยน้ำ และบรรยากาศภายนอกล้อมรอบด้วยไอน้ำ อีกทั้งยังมีอุณหภูมิสูงถึง 232 องศาเซลเซียล ด้วยอุณหภูมิที่สูงมากจึงไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แซคโครี่ เบอร์ต้า นักวิจัยผู้ศึกษาดาวนี้ กล่าวว่า GJ1214b เป็นดาวเคราะห์แปลกประหลาดและไม่เคยพบปรากฎการณ์เช่นนี้มาก่อน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ดาวเคราะห์จะสร้างน้ำแข็งร้อนในอาณาบริเวณวงโคจรที่ไกลกว่า 2 ล้าน กม.
อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำแข็งร้อนจากดาวเคราะห์น้องใหญ่ GJ1214b นี้ อาจจะไม่มีผลกระทบถึงโลก เนื่องจากตำแหน่งที่ห่างไกลถึง 40 ปีแสง ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์และองค์การนาซา ระบุว่า การสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าขณะนี้มีดาวเคราะห์กว่า 700 ดวงที่ยืนยันว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ยังมีดาวดวงอื่นๆ อีกมากถึง 2,300 ดวง ที่ต้องรอการพิสูจน์ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างถึงจะได้รับการรับรองว่าเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันพฤหัสบดีที่ 23 ก.พ. 55 (093)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น