วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

อาคารใจดี อำนวยความสะดวกผู้พิการ

สมาคมสถาปนิกสยาม  ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดเสวนาเพื่อระดมสมองเปิดมุมมองของนักวิชาการ ตามแนวพระราชดำรัส กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ เพื่อให้ความรู้กับประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือกับสาธารณภัยในอนาคต เป็นวันที่สอง

โดยนายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนา เรื่อง "กรุงเทพฯ เมืองแห่งคุณภาพชีวิต อาคารใจดี" ภาคสอง ได้กล่าวว่า  กรุงเทพมหานครได้นำแนวคิด การออกแบบอาคารใจดี มาใช้เพื่อให้เป็นไปตาม กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการ ทุพพลภาพ และผู้ชรา พ.ศ. 2548  ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2548 ในการกำหนดออกแบบอาคารที่มีพื้นที่ส่วนเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป เกิน300 ตารางเมตร และเกิน 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ ทุพพลภาพ และผู้ชรา ตามรายละเอียดที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น ป้ายบอกทาง ลิฟท์โดยสาร บันได และพื้นผิวต่างสัมผัส เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งาน

แหล่งที่มา   เว็บไซต์สำนักข่าว ทีนิวส์ 2012-04-25 19:57:05


สาระสำคัญของบ้านใจดี

ทางเข้าบ้าน ควรออกแบบบ้านให้มีทางลาดชัน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. และความลาดชันไม่น้อยกว่า 1:12 มีการแยกสีให้แตกต่างกับผนังกันตก และควรหลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะเป็นอุปสรรคต่อรถเข็น ประตูควรมีช่องเปิดสุทธิกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. มีพื้นที่ว่างตอนหน้าและหลัง เพื่อให้เพียงพอสำหรับการสัญจรของรถเข็น ในกรณีที่ประตูเป็นแบบบานเปิดผลักเข้าออก ที่เปิด-ปิดประตูควรเป็นแบบก้านโยก ประตูที่ดีสำหรับคนทุกกลุ่ม ควรเป็นบานเลื่อน
 
เคาน์เตอร์ต่างๆ ในห้องครัวต้องมีความสูงและความลึกที่เหมาะสม เอื้อให้ทุกคนสามารถทำอาหารร่วมกันได้ เคาน์เตอร์ที่ดีต้องสูง 75 ซม. เพื่อให้พอดีกับระดับรถเข็น มีที่ว่างตอนล่างสุทธิ 60 ซม. และมีความลึกไม่น้อยกว่า 40 ซม. สำหรับห้องอาหารควรมีพื้นที่กว้าง และตอนล่างของโต๊ะอาหารต้องมีความโล่งให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นสามารถร่วมรับประทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัวได้ รวมทั้งห้องนั่งเล่นต้องคำนึงถึงความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่าง ๆ ควรจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึง เน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท
 
ส่วนห้องนอนการติดตั้งปลั๊กไฟและสวิตช์ ควรมีความสูง 90 ซม. มีสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือใกล้หัวเตียง และไฟใต้เตียงสำหรับเปิดตอนกลางคืนเพื่อนำทางสู่ห้องน้ำ เรื่องเล็กๆ น้อย ๆ อย่างตู้เสื้อผ้าควรมีความสูงของราวและความลึกของตู้ที่ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก โต๊ะเครื่องแป้งต้องมีที่โล่งตอนล่างสูง 60 ซม. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นใช้งานได้สะดวก
 
ห้องน้ำเป็นจุดสำคัญของบ้าน เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนมากประสบอุบัติเหตุในห้องน้ำอยู่ประจำ เริ่มต้น ประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อน เลี่ยงทำธรณีประตู เลือกวัสดุที่ไม่ลื่น และมีพื้นที่เพียงพอให้รถเข็นหมุนได้ ระยะที่เหมาะสมคือเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 ซม.เอื้อให้รถเข็นหมุนกลับได้ มีราวจับบริเวณโถส้วม ที่อาบน้ำหรืออ่างอาบน้ำ ติดตั้งสูงจากพื้น 70-80 ซม. อ่างล้างมือควรสูงจากพื้นที่ถึงขอบอ่าง 75-80 ซม. เป็นอ่างล้างมือแบบแขวนหรือแบบเคาน์เตอร์โปร่ง เพื่อให้รถเข็นสอดเข้าไปได้ ก๊อกน้ำควรเป็นคันโยก มีสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือบริเวณโถส้วม ปุ่มกดควรมีสีแดง
 
บริเวณบ้านควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับวางกระถางต้นไม้ เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการมีกิจกรรมคลายเหงา และเป็นการสร้างบรรยากาศที่สดชื่นให้กับบ้าน เลือกสีโทนร้อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและหลีกเลี่ยงสีโทนเย็น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเทา สีเขียว เพราะไม่เหมาะกับคนสูงอายุที่มีปัญหาสายตาพร่ามัว 
 
ทพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า แนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล จะสอดรับกับตัวเลขของผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จุดประกายให้ผู้คนหันมาออกแบบบ้านหรืออาคารครั้งเดียวใช้คุ้มค่า ในปัจจุบันมีอาคารหลายที่ยังไม่เอื้อเช่น อาคารราชการ เอกชน จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งกลุ่มสถาปนิกเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ต้องผลักดันให้สถาปนิกรุ่นใหม่มีแนวคิดออกแบบให้คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม ล่าสุดภายใต้ความร่วมมือได้ดำเนินการอบรมสถาปนิกอาสา สามารถเข้าไปออกแบบให้อาคารบ้านเรือนได้แล้ว ในระยะ 1-2 ปีจะมี “บ้านใจดี” และ “อาคารใจดี” 100,000 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้จากการสนับสนุนงบประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่จัดสรรเงินให้กับผู้พิการรายละ 20,000 บาทไปปรับปรุงที่อยู่อาศัย
 
ด้าน นายทวีจิตร จันทรสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าในความร่วมมือสมาคมได้จัดทำคู่มือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล หรือ Universal Design แจกจ่ายไปตามหน่วยงานและผู้สนใจ
 
“บ้านแบบนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นเพียงแต่การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะ ตามคำแนะนำของสถาปนิก” นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ระบุ
 
สำหรับผู้สนใจแบบบ้านตัวอย่าง Universal Design ปรึกษากับสถาปนิกอาสาได้ที่ โทร.0-2951-0830
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...