วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำก่อน ได้เปรียบตรงไหน

การเริ่มต้นทำธุรกิจ ถ้ามีธุรกิจให้เลือก 2 อย่าง ระหว่างธุรกิจที่มีคนอื่นทำอยู่แล้วและกำลังดัง กับธุรกิจที่ยังไม่มีใครทำ เราควรทำอันไหน

มี 2-3 หลักการที่คุณต้องเข้าใจให้ถูกต้อง และนำมาคิดประมวลผลร่วมกัน แล้วคุณจะได้คำตอบที่ชัดเจน

1. คำว่า ทำก่อน ไม่จำเป็นว่าคุณต้องเป็นคนแรกของโลกที่ทำ เหมือนนีล อาร์มสตรอง ที่เป็นคนแรกที่โลกจำได้ว่าไปเหยียบดวงจันทร์ การทำก่อน แม้คุณจะทำเป็นคนที่ 100 ของโลก แต่คุณเป็นคนแรกในตลาดของคุณ นั่นก็ถือว่าคุณทำก่อนแล้ว

2. การทำก่อน ไม่ได้หมายถึงการทำก่อนในทุกๆ มิติของธุรกิจนั้น แต่คุณเป็นผู้ดัดแปลง ปรับเปลี่ยนโมเดลและวิธีการของธุรกิจ ไปอยู่ใน segment นึงก่อนคนอื่น และ segment นั้นมีความแข็งแรงพอที่จะทำให้คุณมีกำไร มีฐานธุรกิจที่มั่นคงพอสำหรับการเติบโตของธุรกิจ

3. การทำก่อน จะช่วยให้คุณมีเวลาสร้างเกราะป้องกันตัวจากคู่แข่งรายใหม่ ที่จะเข้ามาสู่ตลาด ซึ่งการป้องกันพื้นที่ของคุณนั้น จะใช้เวลา เงินทุน และทรัพยากรน้อยกว่าการเป็นผู้ตามหลายเท่า (คิดถึงการทำสงคราม ถ้าคุรเป็นฝ่ายไปตีเมืองเค้า กับเป็นฝ่ายรอเค้ามาตี อันไหนจะง่ายกว่ากัน)

การทำก่อน จึงหมายถึงกลยุทธ์ประมาณว่า
  1. คิด innovation ขึ้นมาใหม่เป็นคนแรกของโลก
  2. คิดช่องทางและวิธีการขายใหม่เป็นคนแรก (เหมือน eBay, Amazon, Alibaba) 
  3. เอาของใหม่มาขายที่นี่ก่อนคนอื่น (หรือกลับกัน)
  4. เอาของเดิม ไปขายด้วยวิธีใหม่ ช่องทางใหม่
เมื่อคุณเริ่มทำก่อน คุณจะมีเวลาลองผิดลองถูก ผู้บริโภคจะยังอยู่ในช่วงงงๆ ไปกับคุณ ระดับการให้อภัยในความผิดพลาดได้ จึงยังมีอยู่สูง

มีตัวอย่างของธุรกิจที่ทำก่อนในบ้านเรา มาให้ดู
1. Villa Supermarket ตั้งขึ้นเมื่อปี 1973 เป็นธุรกิจซุปเปอรรายแรกๆ ของไทยที่ขายแต่สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ สร้างช่องทางการขายของตัวเองจนวันนี้มีสาขามากมายทั้งในกรุงเทพและจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ (กลยุทธ์ 3)

2. วีรสุ เหมือน Villa แต่สินค้าเป็นกลุ่มเครื่องครัว เครื่องใช้ในบ้าน (กลยุทธ์ 3)

3. Siam Steak ถ้าคุณไปตามโรงเรียน คุณจะเห็นซุ้มขาย fast food เล็กๆ อยู่เพียงแบรนด์เดียวคือสยามสะเต๊ก (ชื่อเค้าเขียนแบบนี้นะ  ไม่ได้สะกดผิด) Siam Steak เป็นธุรกิจที่มีความชัดเจนในเรื่องช่องทางการขายมาก คือขายเฉพาะในโรงเรียนอย่างเดียว ไม่มีการไปเปิดร้านที่อื่น ของที่ขายก็มีคุณภาพดี และขายในราคาย่อมเยาว์ เด็กๆ ทานกันได้ ทำให้สายสัมพันธ์กับโรงเรียนถือว่าอยู่ในระดับดีมากๆ ดีขนาดที่ยังแปลกใจว่า ปกติโรงเรียนจะมีนโยบายไม่ต้อนรับพวก Fast Food แต่ทำไม Siam Steak ยังอยู่ได้ (กลยุทธ์ 4)

4. ฟารีดา ผลไม้แปรรูป ถ้าทุกท่านมีโอกาสไปเดินที่ Tops หรือ The Mall จะเห็นมุมนึงเป็นมุมขายผลไม้อบแห้ง ตากแห้ง ร่วม 30 ชนิดจัดวางบนถาดไม้อย่างสวยงาม นั่นคือธุรกิจของฟารีดา ฟารีดา เป็นธุรกิจผมไม้อบแห้งรายแรกที่เข้าขายใน Supermarket ขายมานานมากแล้ว ผมตาดว่าไม่ต่ำกว่า 10 ปี ขายมาจนถึงทุกวันนี้ เริ่มขายตั้งแต่มีผลไม้ไม่กี่อย่าง ปัจจุบันชั้นวางเรียงยาวเป็นรถไฟ มีทั้งผลไม้ไทยและผลไม้นอก (กลยุทธ์ 4)

ลองนึกดูว่า ถ้าคุณเป็นจัดซื้อห้าง หรือครูที่รับผิดชอบเรื่องตัดเลือกร้านอาหารมาขายในโรงเรียน คุณจะอยากหางานทำเพิ่มให้คัวเอง ด้วยการหา supplier รายใหม่เข้ามาขายหรือไม่ หาเข้ามาแล้ว ก็อาจจะขายได้ไม่ดี หรือคุณภาพไม่เท่าเจ้าเดิมก็จะซวยเอา สู้อยู่เฉยๆ ดีกว่าจริงไม๊

เพราะทุกคนคิดแบบนี้ คนทำก่อนก็เลยพลอยได้รับอานิสงค์จากความไม่อยากเปลี่ยนไปด้วย
หรือถ้ามีใครอยากลองเข้าไปขายจริงๆ คุณคิดว่าเจ้าถิ่นเค้าจะปล่อยให้เข้ามาง่ายๆหรือ คงมีการรับน้องกันน่าดู

การเป็นคนที่ทำอะไรก่อน มันก็ดีแบบนี้ล่ะ

แหล่งที่มา     Facebook : Trick of the Trade

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...