วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

เตรียมอาหารไหว้เจ้า ของไหว้เจ้าตรุษจีน พ.ศ.2555 ค.ศ.2012 หรือปีใหม่จีน

ซิน เจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดไช้ ประเพณีวันตรุษจีน หรือ วันขึ้นปีใหม่จีน เป็นประเพณีที่สืบทอดจากปฏิทินตามจันทรคติของจีน ซึ่งถือเป็นวันแรกของปี หรือ วันแรกของเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ คนจีนจะถือวันแรกของเดือนแรก หรือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 เป็น "วันตรุษจีน"

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

  1. วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
  2. วันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ 
    • ตอนเช้ามืด จะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้าน้ำชาและกระดาษเงินกระดาษทอง
    • ตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
    • ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัด เพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
  3. วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง)
คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง ^_^

การจัดของไหว้ สำหรับไหว้เจ้าที่ประกอบด้วย
  • ของ คาว หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา แล้วแต่ว่าจะไหว้มากหรือน้อย
    • ไหว้ 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่
    • ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วยหมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา ขนมไหว้ฮวกก้วย หรือขนมถ้วยฟู คักท้อก้วยหรือขนมกุยช่าย (เป็นไส้ชนิดใดก็ได้)
  • จำนวนชนิดของขนมไหว้ นิยมให้สอดคล้องกับของคาว เช่น ไหว้ ของคาว 3 อย่าง ขนม 3 อย่าง ผลไม้ 3 อย่าง
    • อื้ คำ นี้ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊กลมๆ แป้งนิ่มๆ เคี้ยวง่าย กลืนง่าย ให้ความหมายมงคลอวยพรให้ชีวิตราบรื่นง่ายดาย เหมือนขนมอี๊ที่ไหว้ และรับประทาน
    • ขนมจันอับซาลาเปา ขนมไหว้นี้ต้องมีสีชมพู หรือมีแต้มจุดแดง
    • ขนมไหว้พิเศษขนมเข่ง ขนมเทียน ต้องมียืนเป็นหลัก
    • โหงวเส็กที้งแปลว่า ขนม 5 สี อันได้แก่ ถั่วตัด งาตัด ข้างพอง
    • ถั่วเคลือบ น้ำตาล และฟักเชื่อมบางทีก็เรียกว่า “ขนมจันอับ”
    • ผลไม้ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอ๊ปเปิ้ล ชมพู่ ลูกพลับ
    • ส้มคนจีนเรียกว่า กา แต่ก็มีอีกคำหนึ่งเรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี (ส่วนมากนิยมไหว้ 4 ผล เพราะเลขสี่พ้องเสียงคำ “สี่” ที่แปลว่าดี)
  • เครื่องดื่ม น้ำชา 5 ที่หากมีไหว้ของคาวจะไหว้เหล้าด้วยก็ได้ก็จัด 5 ที่เช่นกัน
  • กระดาษเงิน กระดาษทอง ชุดไหว้เจ้าที่ จำนวนธูปไหว้ คนละ 5 ดอก
การจัดของไหว้ สำหรับไหว้บรรพบุรุษประกอบด้วย
  • ของคาว หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา แล้วแต่ว่าจะไหว้มากหรือน้อย
    • ไหว้ 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่
    • ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา กับข้าว นิยม 8 อย่าง หรือ 10 อย่าง โดยให้มีของน้ำ 1 อย่าง ข้าว ข้าวสวยใส่ชาม พร้อมตะเกียบ จำนวนชุดตามจำนวนบรรพบุรุษ นิยมนับถึงแค่รุ่นปู่ย่า
  • การไหว้ที่หน้ารูปบรรพบุรุษ หลังจากไหว้เจ้าที่เสร็จแล้วจำนวนชนิดของขนมไหว้ นิยมให้สอดคล้องกับของคาว เช่น ไหว้ของ คาว 3 อย่าง ขนม 3 อย่าง ผลไม้ 3 อย่างขนมไหว้
    • ฮวกก้วยหรือขนมถ้วยฟู คักท้อก้วยหรือขนมกุยช่าย(เป็นไส้ชนิดใดก็ได้)
    • ขนมจันอับ ซาลาเปาขนมไหว้นี้ต้องมีสีชมพู หรือมีแต้มจุดแดง
    • ขนมไหว้พิเศษขนมเข่ง ขนมเทียน ต้องมียืนเป็นหลัก
    • ผลไม้ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอ๊ปเปิ้ล ชมพู่ ลูกพลับ
  • เครื่องดื่ม น้ำชา 5 ที่ หากมีไหว้ของคาวจะไหว้เหล้าด้วยก็ได้ ก็จัด5 ที่เช่นกัน
  • กระดาษเงิน กระดาษทอง ต้องมี อ่วงแซจิ่ว สำหรับใบเบิกทางให้บรรพบุรุษลง มารับของไหว้
  • ทองแท่งสำเร็จรูป แบงก์กงเต็ก ค้อซี ฯลฯจะมากหรือน้อยแล้วแต่เรา จำนวนธูปไหว้ คนละ 3 ดอก

แหล่งที่มา  เว็บไซต์ FoodieTaste

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...