วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

เชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำแข็ง

ทราบกันหรือเปล่าว่า "น้ำแข็ง" ที่เราบริโภคกันโดยเฉพาะที่เราบริโภคกันนอกบ้านนั้นใช้น้ำอะไรมาผลิต

      ทายถูกไหม??? จะบอกให้ก็ได้นะว่า คำตอบก็คือ " น้ำประปา "...

น้ำแข็งซอง
น้ำแข็งหลอดสำเร็จรูป

      ฟังแล้วถึงจะอึ้งแต่ข้อเท็จจริงนี้ถูกยืนยันโดยข้อมูลจากการประปานครหลวง (กปน.) เลยทีเดียว โดยทางการประปานั้นได้เคยมีการทำการสำรวจแล้วว่า โรงงานทำน้ำแข็งส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้น้ำประปาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำแข็ง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่เป็น น้ำแข็งซอง หรือที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ นำมาทุบให้เล็กลง เพื่อใส่เครื่องบดใส่ถุงพลาสติกขาวๆ เพื่อไปจำหน่ายต่อ ซึ่งน้ำแข็งชนิดนี้เหมาะสำหรับแช่ของสด หรือบางครั้งทั้งแช่อาหาร แช่น้ำขวด รวมทั้งใส่แก้วบริการลูกค้า ส่วนอีกชนิดเป็นน้ำแข็งหลอดสำเร็จรูป ออกจากเครื่องบรรจุใส่ถุงพร้อมจำหน่าย

      ส่วนเรื่องของการจัดส่ง นั้นแม้ว้าโรงงานผลิตหลายแห่งมีมาตรฐานการขนส่งที่สะอาดน่าเชื่อถือ แต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ใส่รถบรรทุกคลุมด้วยผ้าใบพร้อมกับมีพนักงานยืนคุมบ้าง นั่งทับบนน้ำแข็งบ้าง ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าว คงไม่ต้องถามถึงเรื่องความสะอาดปลอดภัย เพราะเชื่อแน่ว่า ในน้ำแข็งเหล่านั้นจะต้องมีเชื่อโรคปนเปื้อนอยู่แน่นอน

      นี่ขนาดเรายังไม่ต้องเข้าไปดูถึงกรรมวิธีการผลิตน้ำแข็งในโรงงาน ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้น้ำแข็งเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย ด้วยสาเหตุทั้งหมดที่เล่ามานั้น จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีทีเดียวว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่จึงมีคุณภาพน่าเป็นห่วง มากแค่ไหน

      สำหรับในเรื่องของคุณภาพของน้ำแข็งนั้น ทางสำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้มีข้อกำหนดในเรื่องคุณภาพของน้ำแข็งว่า จะต้องไม่ให้พบเชื้ออีโคไล และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค รวมถึงหลักเกณฑ์ในการดูแลอุปกรณ์ กระบวนการผลิต การล้างทำความสะอาด สุขลักษณะของคนที่ทำงานควบคุมการผลิต ฯลฯ

      โดยจากการสำรวจของ อย. พบว่าทั้งน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอด มักมีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น โคลีฟอร์ม อีโคไล ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมาจากสิ่งปฏิกูล ส่วนใหญ่ปนเปื้อนจากผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง หรือจากการขนส่ง

      นอกจากนี้ ถุงใส่น้ำแข็งที่มักจะใช้แล้วนำกลับมาใช้อีกจนกว่าจะขาด ฯลฯ ซึ่งเมื่อเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายและเติบโตแข็งแรงขึ้นก็จะสร้างสาร พิษทำอันตรายต่อผู้บริโภคได้อย่างรุนแรง เช่น ทำให้ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งเชื่อโรคเหล่านี้มักจะเจริญเติบโตได้ดีในหน้าร้อนอย่างช่วงนี้ด้วย

แหล่งที่มา   เว็บไซต์ hunsa.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...