วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

เซ็นชื่อรับรองสำเนาอย่างไร...ให้ถูกต้อง

การเซ็นชื่อรับรองสำเนาในเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น สำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาเอกสารทะเบียนบ้าน เป็นต้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้บริโภคทุกท่านควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสำคัญขาดความรอบคอบนักกับเรื่องดังกล่าว และยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างชัดเจน ปล่อยปละละเลยจนบางครั้งอาจกลายเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตัวเองตามมาภายหลัง เพราะการเซ็นชื่อรับรองสำเนาที่ไม่รัดกุมหรือไม่ถูกวิธีจะเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาในที่สุด ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคเซ็นชื่อรับรองสำเนาในเอกสารสำคัญต่างๆ ทุกครั้งอย่างถูกวิธีจึงอยากขอแนะนำวิธีการให้ปฏิบัติ ดังนี้

                    ๑. ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อและเขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ต้องเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่าเอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับทำอะไร เช่น “ใช้เฉพาะสมัครงานเท่านั้น” “ใช้สำหรับสมัครเรียนเท่านั้น” เป็นต้น

                    ๒. นอกจากกำกับรายละเอียดการใช้แล้ว ยังต้องกำกับ วัน เดือน ปี โดยเขียนลงบนสำเนาที่ใช้ด้วย ซึ่งจะช่วยกำหนดอายุการใช้สำเนาได้
                    ๓. ต้องเขียนข้อความทั้งหมดทับลงบนสำเนาส่วนที่เป็นบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาเอกสารอื่นๆ ที่สำคัญ ซึ่งเป็นวิธีเซ็นที่ถูกต้องในการรับรองสำเนาอย่างรัดกุม ไม่เปิดช่องทาง ให้กับมิจฉาชีพเอาไปสร้างหนี้ให้กับเรา

                    ๔. ในกรณีที่เซ็นเอกสารต้องใช้ปากกาหมึกสีดำเท่านั้นถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะเครื่องถ่ายเอกสารบางเครื่องสามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออกเหลือใช้เฉพาะข้อความของบัตรประชาชนแล้วทำให้มิจฉาชีพเซ็นเอกสารบัตรประชาชนนั้นแทนได้ เพราะฉะนั้นเราควรเซ็นด้วยปากกาสีดำเท่านั้น เพราะไม่สามารถดึงหมึกสีดำออกได้หรือถ้าดึงสีดำออกได้ข้อความก็จะหายไปหมดเลยทั้งหน้าบัตรประชาชน

                    ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อท่านเองจึงควรมีความรอบคอบในการเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารสำคัญต่าง ๆ ให้ถูกต้องและถูกวิธีที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มมิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจนำเอาสำเนาเอกสารสำคัญต่าง ๆ  ที่เราได้เซ็นชื่อรับรองสำเนาไปเรียบร้อยแล้ว นำไปดัดแปลงแก้ไขจนสร้างปัญหาและสร้างความเดือดร้อนให้แก่เราได้ในที่สุดโดยที่เรายังไม่รู้ตัวเลยก็ได้

แหล่งที่มา   เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ลำดับที่ : 1818

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...