วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกอันตรายหรือไม่

การดื่มน้ำ ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะร่างกายของคนเรา ไม่สามารถขาดน้ำได้เกินกว่า ๓-๗ วัน การดื่มน้ำยังส่งผลดี ช่วยให้ร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้การดื่มน้ำก็ยังช่วยให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่งตลอดเวลา แต่การดื่มน้ำที่จะส่งผลดีได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่น้ำดื่มนั้นต้องึสะอาดและได้มาตรฐานด้วย คือต้องไม่มีสิ่งปนเปื้อนหรือสารเคมีตกค้างและที่สำคัญ ต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เราจึงมักเห็นผู้บริโภคในปัจจุบันมักมีพฤติกรรมที่ชอบซื้อน้ำดื่มที่บรรจุ
ในขวดพลาสติกที่วางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าทั่วไปกันอย่างแพร่หลาย และมักมีพฤติกรรมนำขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่มนั้นกลับมาใช้อีกเพื่อเป็นการประหยัด

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก ส่วนใหญ่มักมีสารเคมีต่างๆ ผสมอยู่ด้วยเช่นเดียวกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่ม ซึ่งพลาสติกที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานอาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกาย โดยเฉพาะอันตรายจากสารเคมีที่อาจก่อมะเร็ง สำหรับพลาสติกที่นิยมใช้ทำขวดน้ำดื่มในปัจจุบันนี้จะเป็นพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Poly Ethylene Terephthalate) หรือ เรียกสั้นๆว่าขวด PET ซึ่งจะนิยมผลิตขวดแบบขวดใสไม่มีสี ตัวพลาสติกมีความเหนียวมากโปร่งใส ราคาแพง เป็นพลาสติกชนิดเดียวกับที่ใช้ทำ แผ่นฟิล์มบาง ๆ บรรจุอาหาร ซึ่งพลาสติกชนิดนี้อยู่ในตระกูลเทอร์โมพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โพลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม โดยขวดน้ำดื่มพลาสติกหรือขวดPET นั้นได้ถูกทดสอบที่อุณหภูมิ ๖๐ และ ๙๕ องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิที่ใช้งานของภาชนะแล้วว่าได้มาตรฐานและไม่เป็นอันรายแก่ผู้บริโภคอย่างแน่นอน

ถึงแม้ขวดน้ำดื่มพลาสติกจะไม่เป็นอันตราย แต่เนื่องจากบางครั้งผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง คือมักนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคเองต้องล้างทำความสะอาดทั้งด้านนอก และด้านในของขวดน้ำดื่มทุกครั้งก่อนนำมาใช้ และเมื่อใช้ไปนานๆต้องหมั่นสังเกตว่าสีของขวดเปลี่ยนไปหรือไม่ หากขวดน้ำดื่มมีคราบสีเหลือง มีสีขุ่น ขวดไม่ใสเหมือนเดิม หรือขวดบุบ มีรอยร้าว หรือแตก ทางที่ดีที่สุดนั้นผู้บริโภคไม่ควรนำขวดพลาสติกเหล่านั้นกลับมาใช้อีกเพราะหากขวดพลาสติกไม่สะอาดอาจทำให้มีสารเคมีหรือเชื้อโรคเข้าไปปะปนกับน้ำดื่มก็ได้

แหล่งที่มา   เว็บไซต์ สคบ. โดยนายอนุชิต สมาคม กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...