1. การทะเบียนราษฎร์
- บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
- ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก
- ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน
- คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้
- ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
- นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร)
- ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
- ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
2. บัตรประจำตัวประชาชน
- คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
- อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
- ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
- บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3. การรับราชการทหาร
- กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิกายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี
- สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน คือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร
4. การรักษาความสะอาด
- ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
- ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรัยบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท
- ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค
6.หนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำ การเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน
7. เอกเทศสัญญา
- กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี
- การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกัน โดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
- เช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
- เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
8. กฎหมายที่ดิน
- เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตราย ต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้
- ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อย เพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น
- ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน
- การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน
$9. อาวุธปืน
ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่
- กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ
- จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด
- การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย
- การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป
- ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
- อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
- มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท
- พกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม
แหล่งที่มา เว็บไซต์ Layer Thai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น