วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

เตือนใช้โทรศัพท์ผิดวิธี ระวังสูญเสียการได้ยิน

แพทย์เตือนใช้โทรศัพท์ผิดวิธี เสี่ยงสูญเสียการได้ยิน แนะไม่ควรโทร.เกิน ครั้งละ 30 นาที พร้อมปรับความดังอย่างเหมาะสม
      
รศ.นพ.ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์ ประธานราชวิทยาลัยโสต สอ นาสิกแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนการใช้โทรศัพท์ ว่า ขณะนี้มีการศึกษา พบว่า แนวโน้มทำให้สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากในการใช้โทรศัพท์ซึ่งบางครั้งมีเสียงดังมากจะเป็นการทำลายระบบเซลล์ประสาทหูชั้นในจนเกิดความเสื่อม ส่วนกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์ส่งผลต่อระบบประสาทหูหรือไม่นั้น อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยพบว่ายังไม่สามารถบ่งชี้ชัดเจนได้ แต่มีแนวโน้มอาจเป็นต้นเหตุอันหนึ่ง จำเป็นต้องอาศัยการวิจัยต่อเนื่องและเก็บข้อมูลคนไข้เพิ่มมากขึ้น

ประธานราชวิทยาลัยโสต สอ นาสิกฯ กล่าวอีกว่า การที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ มีอาการปวดหูนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ
  1. การใช้โทรศัพท์ในลักษณะกดแนบแน่นกับหูเป็นเวลานาน เกิดการอักเสบของกระดูกใบหูทำให้เจ็บปวดได้
  2. การใช้สมอลล์ทอล์ก หรือบลูทูธด้วยการเสียบเข้าช่องหูเพื่อฟังเสียงแทนการใช้โทรศัพท์แนบหูโดยตรงจะเกิดอาการเจ็บได้ เพราะจะเป็นการกดระบบประสาทในบริเวณนั้นและเนื้อเยื่อมีการเจ็บเป็นแผลได้ และ
  3. การเปิดเสียงโทรศัพท์ที่มีความดังมากๆ จะปวดหูได้เช่นกัน โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีปัญหาประสาทหูเสื่อมมาก่อน เนื่องจากระดับความดังของเสียงที่ได้ยินจะมากกว่าคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเกิน 30 นาทีต่อครั้ง เพราะหากนานจะทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกใบหูทำให้ปวดหูได้ การใช้สมอลล์ทอล์ก หรือบลูทูธ ควรสลับเปลี่ยนข้างของการเสียบเข้าช่องหู ไม่ควรเสียบหูใดหูหนึ่งหูเดียว ที่สำคัญ อย่าเปิดเสียงดังเกินไป หรือเร่งเสียงมากทำให้สูญเสียการได้ยินได้
รศ.นพ.ภาคภูมิ กล่าวด้วยว่า คนไข้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหูส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่
  1. การแคะหูจนทำให้ผิวหนังช่องหูอักเสบเป็นฝี หรืออักเสบรุนแรง
  2. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู
  3. อวัยวะอื่นเป็นโรค เช่น ปวดฟันจนปวดร้าวมาถึงหู, ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ และการติดเชื้อไวรัสจนเซลล์ประสาทที่เลี้ยงช่องหู ใบหูอักเสบ
ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการปวดหูเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แล้วอาการปวดหายไปไม่เป็นไร แต่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดแล้วหายแล้วอีก 30 นาที - 1 ชั่วโมง กลับมาปวดใหม่ หรือปวดเรื่อยๆ ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ หูอื้อ ได้ยินน้อยลง น้ำหนวกไหล มีเสียงดังในหู หรือเวียนหัวไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะเป็นสัญญาณว่า บ่งบอกว่าเป็นโรคหูค่อนข้างชัดเจน

แหล่งที่มา     เว็บไซต์หรรษาดอทคอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...