วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

Google Logo : 9 เม.ย. 2555 ครบรอบวันเกิดปีที่ 182 ของ Eadweard J. Muybridge ชายผู้ให้กำเนิดภาพเคลื่อนไหว


บิดาของภาพเคลื่อนไหว ก็คงต้องมอบตำแหน่งนี้ให้แด่นาย Eadweard J. Muybridge

รายละเอียด
  • เกิด 9 เมษายน 1830 มรณะ 8 พฤษภาคม 1904
  • เขาเป็นช่างภาพชาวอังกฤษ ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
  • เขาเป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้บุกเบิกงานงาน ภาพเคลื่อนไหวของสัตว์ โดยใช้กล้องถ่ายภาพหลายตัวทำการจับภาพการเคลื่อนที่ช่วงเวลาต่าง และนำภาพเหล่านั้นมาฉายบนอุปกรณ์ที่เขาสร้างที่เรียก ว่า zoopraxiscope
  • zoopraxiscope ถือว่าเป็นอุปกรณ์ฉายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลก ที่จะวาดรูปภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องที่ละภาพลงบนจานแก้ว แล้วนำจานแก้วนั้นไปหมุนอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดเสมือ นเป็นภาพเคลื่อนไหวขึ้น

เครื่อง zoopraxiscope


แผ่นแก้วที่ถูกวาดเป็นภาพจ็อกกี้ขี่ม้า เมื่อนำไปเล่นบนเครื่องzoopraxiscope จะเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวจ็อกกี้กำลังควบม้า

ภาพถ่ายต่อเนื่องชุดแรกของโลก โดยฝีมือ Eadweard Muybridge
ภาพนี้ถือได้ว่าเป็นภาพต้นกำเนิดของการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีความสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยผู้บุกเบิกภาพเคลื่อนไหวดังกล่าวก็คือ เอ็ดเวิร์ด เจ ไมย์บริดจ์ (Eadweard J. Muybridge) ช่างภาพชาวอังกฤษ ซึ่งในวันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิด 182 ปีของ เอ็ดเวิร์ด เจ ไมย์บริดจ์ ลองไปทำความรู้จักกับเขากัน

          สำหรับ เอ็ดเวิร์ด เจ ไมย์บริดจ์ (Eadweard J. Muybridge) เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1830 (พ.ศ.2373) ที่คิงสตัน สหราชอาณาจักร แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ไมย์บริดจ์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในฐานะผู้บุกเบิกการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้กับวงการภาพยนตร์

          ในช่วงระหว่างปี 1861-1866 เขาได้ทำการศึกษากระบวนการเพลทเปียก (Wet-collodion Process) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตภาพถ่ายบนแผ่นแก้ว โดยนำมาพิมพ์ภาพได้ดีและมีความคมชัดสูง จนในที่สุดปี 1866 เขาก็ประสบความสำเร็จในการเป็นช่างภาพ โดยเฉพาะภาพวิวและภาพสถาปัตยกรรม ซึ่งภาพที่สร้างชื่อเสียงให้เขาเป็นอย่างยิ่งคือ ภาพของน้ำตก โยซิมิตี (Yosemite)

          ต่อมาในปี 1872 เลอแลนด์ สแตนฟอร์ด ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียและนักธุรกิจเจ้าของคอกม้าพนันได้ว่าจ้างให้ไมย์บริดจ์บันทึกภาพการวิ่งของม้า เนื่องจากมีการท้าพนันว่า ในขณะที่ม้ากำลังวิ่งอยู่นั้น เท้าทั้งสี่ข้างลอยพ้นจากพื้นทั้งหมดหรือไม่ เขาจึงได้ทำการจับภาพการเคลื่อนไหวขณะม้าวิ่งในช่วงเวลาต่างกัน โดยใช้เทคนิคการลั่นชัตเตอร์ ด้วยเส้นเชือกที่ขึงไว้ที่พื้น เมื่อกีบเท้าม้าสัมผัสเชือก ก็จะสามารถถ่ายภาพเป็นชุด ๆ ได้อย่างต่อเนื่องตามจุดที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำภาพเหล่านั้นมาฉายบนเครื่องฉายที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเองที่เรียกว่า Zoopraxiscope โดยจะนำภาพนิ่งแต่ละภาพติดลงบนจานแก้ว แล้วนำจานแก้วนั้นไปหมุนอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวขึ้น

          นอกจากนี้ หลังจากการค้นพบเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหว ไมย์บริดจ์ยังได้ทำการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของมนุนษย์, สัตว์ต่างๆ ไว้มากมาย โดยใช้พื้นฐานการบันทึกภาพที่ได้จากการบันทึกภาพม้าวิ่ง เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของมนุษย์และสัตว์มากกว่า 100,000 ภาพ และภาพเหล่านี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับการพัฒนาภาพยนตร์และฟิล์มม้วนในเวลาต่อมาอีกด้วย

          ในบั้นปลายชีวิต เขากลับไปยังบ้านเกิดของเขาที่คิงสตัน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1894 โดยเขาได้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือซึ่งรวบรวมผลงานของเขา 2 เล่มด้วยกันก่อนที่จะเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1904 ซึ่งปัจจุบันนี้ บ้านของเขาได้กลายเป็นสถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักร (British Film Institute)

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่้อง ภาพถ่ายต่อเนื่อง ชุดแรกของโลก คลิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...