นายแพทย์สุริยา กีรติชนานนท์ |
“อาการดิสเป็บเซีย เป็นอาการที่เกิดใน กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มโรคออกเป็น 2 ชนิด คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพชัดเจนในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า organic dyspepsia (ออแกนิก ดิสเป็บเซีย) เช่น กระเพาะอาหารอักเสบรุนแรง มีแผล มีเชื้อโรคซ่อนอยู่ เนื้องอกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น และอีกชนิดหนึ่ง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบโรคดังกล่าวด้วยวิธีส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน หรือ Functional dyspepsia - FD (ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย - เอฟดี) โดยอาการชนิดนี้ เกิดจากการที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทำหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม ซี่งพบเป็นส่วนมากในผู้ป่วยที่มีอาการดิสเป็บเซีย จากข้อมูลสำรวจผู้ป่วยที่มีอาการดิสเป็บเซียในประเทศไทยจำนวน 1,100 ราย พบว่าร้อยละ 60-90 ของผู้ป่วยที่มีอาการดิสเป็บเซีย มีอาการอยู่ในกลุ่มที่สองนี้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ มีหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ กระเพาะบีบตัวไม่ได้ บีบตัวช้า กระเพาะไวต่ออาหารบางชนิด เช่น อาหารรสจัด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร และการเคลื่อนตัวของอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเป็นไปด้วยความลำบาก เกิดการสะสมของฟองอากาศหรือแก็สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้อึดอัด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อครับ” นายแพทย์สุริยา กล่าว
นอกจากนี้ ในปัจจุบันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มคนวัยเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือรับประทานอาหารด้วยความเร่งรีบ เคี้ยวไม่ละเอียด ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ อาทิ แอลกอฮอล์ บุหรี่ กาแฟ น้ำอัดลม อาหารไขมันสูง ทานอาหารอิ่มแล้วนอนในทันที ทานอิ่มเกินไป หรือแม้แต่พูดคุยขณะรับประทานอาหาร เพราะเป็นการกลืนอากาศเข้าไปพร้อมอาหาร จนส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่น่าวิตกในการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพ
นายแพทย์สุริยา อธิบายด้วยว่า อาการในกลุ่ม ‘ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย’ นั้นไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่จะรบกวนคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการ จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการนี้ ควบคู่ไปกับการรับประทานยารักษาอาการ ซึ่งยารักษาอาการในกลุ่ม ‘ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย’ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาทิ ยาลดแก็สหรือฟองอากาศที่อยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่มีตัวยา ‘ไซเมทิโคน (Simethicone)’ ซึ่งจะช่วยลดแรงตึงผิวของฟองอากาศหรือแก๊สในทางเดินอาหาร ทำให้ฟองอากาศเล็กๆ รวมตัวกันง่าย และถูกขับออกจากร่างกายทางปากหรือทางทวารหนักได้ดีขึ้น โดยที่ตัวยาจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไม่มีปฏิกิริยาต่อยาอื่นๆ ที่ทานร่วมกัน อย่างเช่น ยาลดกรด ที่กระตุ้นการบีบตัวกระเพาะอาหาร เป็นต้น
“ปัจจุบันอาการท้องอืดนั้น เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ทุกคนควรรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนการป้องกันตนเอง เพื่อให้ห่างไกลจากอาการเหล่านี้ ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รับประทานอิ่มจนเกินไป ไม่พูดคุยขณะรับประทานอาหาร หลังจากรับประทานอาหารก็ไม่ควรนอนทันที และควรรักษาสมดุลการทำงานไม่ให้ตนเองตกอยู่ในภาวะเครียด พร้อมออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอดี เหมือนกับประโยคที่ว่า “สุขภาพที่ดีมีได้ด้วยตัวเราเอง” มาสร้างสมดุลย์ให้กับชีวิตกันดีกว่า” นายแพทย์สุริยา กล่าวทิ้งท้าย
นายแพทย์สุริยา อธิบายด้วยว่า อาการในกลุ่ม ‘ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย’ นั้นไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่จะรบกวนคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการ จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการนี้ ควบคู่ไปกับการรับประทานยารักษาอาการ ซึ่งยารักษาอาการในกลุ่ม ‘ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย’ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาทิ ยาลดแก็สหรือฟองอากาศที่อยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่มีตัวยา ‘ไซเมทิโคน (Simethicone)’ ซึ่งจะช่วยลดแรงตึงผิวของฟองอากาศหรือแก๊สในทางเดินอาหาร ทำให้ฟองอากาศเล็กๆ รวมตัวกันง่าย และถูกขับออกจากร่างกายทางปากหรือทางทวารหนักได้ดีขึ้น โดยที่ตัวยาจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไม่มีปฏิกิริยาต่อยาอื่นๆ ที่ทานร่วมกัน อย่างเช่น ยาลดกรด ที่กระตุ้นการบีบตัวกระเพาะอาหาร เป็นต้น
“ปัจจุบันอาการท้องอืดนั้น เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ทุกคนควรรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนการป้องกันตนเอง เพื่อให้ห่างไกลจากอาการเหล่านี้ ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รับประทานอิ่มจนเกินไป ไม่พูดคุยขณะรับประทานอาหาร หลังจากรับประทานอาหารก็ไม่ควรนอนทันที และควรรักษาสมดุลการทำงานไม่ให้ตนเองตกอยู่ในภาวะเครียด พร้อมออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอดี เหมือนกับประโยคที่ว่า “สุขภาพที่ดีมีได้ด้วยตัวเราเอง” มาสร้างสมดุลย์ให้กับชีวิตกันดีกว่า” นายแพทย์สุริยา กล่าวทิ้งท้าย
แหล่งที่มา เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 เมษายน 2555 11:27 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น