วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ฝากออมทรัพย์เสียภาษีไหม???

เราคงรู้จักการฝากเงินประจำที่ต้องเสียภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝาก แต่สำหรับบัญชีออมทรัพย์ล่ะ เสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากไหม??? เป็นคำถามที่น่าสนใจเนอะ ปกติเราก็คิดว่าไม่น่าจะเสียภาษีหรอก แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะข้อ 2 มีดังนี้

ข้อ 2  “ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านระบบการหักหรือโอนเงินจากบัญชีดังกล่าวไปยังบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากอื่นใด และมีจำนวนดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตลอดปีภาษีนั้น”  (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 177) ใช้บังคับ 27 เมษายน 2552 เป็นต้นไป)

คำตอบก็คือ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีจะไม่เสียภาษี หากเกินกว่า 20,000 บาทจะต้องเสียภาษีทั้งจำนวนจ้า..... รู้แล้ว บริหารการเงินกันให้ดี...

อ้อ !!! และอย่าลืม “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” จะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ  หลังวันที่ 11 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป โดยจะเหลือวงเงินคุ้มครองให้ “ไม่เกิน 1 ล้านบาท” ต่อคนต่อธนาคาร

ข้อมูลเพิ่มเติม การเลือกใช้บัญชีเงินฝาก

เรื่องที่ 1 ทำความรู้จักกับบัญชีเงินฝาก บัญชีเงินฝากมีหลายประเภท

  1. บัญชีออมทรัพย์ บัญชีประเภทนี้จะเป็นบัญชีที่สามารถฝากถอนได้ตลอดเวลา ดอกเบี้ยจะคิดเป็นรายวันตามจำนวนเงิน และจำนวนวันที่ฝากไว้ ไม่ต้องเสียภาษี ถ้าได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
  2. เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากที่มีระยะเวลาในการฝากแน่นอน จ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด (ซึ่งบางครั้งอาจจะมีให้ก่อนได้) แต่ถ้าฝากไม่ถึงระยะเวลาที่กำหนด จะไม่จ่ายดอกเบี้ยเลย หักภาษีดอกเบี้ยจ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ
  3. เงินฝากกระแสรายวัน เป็นเงินฝากที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย (หรืออาจจะมีบ้างอย่างของธนาคารไทยเครดิต) ไม่มีสมุดคู่ฝาก และใช้การถอนด้วยเช็ค ดอกเบี้นต้องเสียภาษี 15% ด้วย
  4. เงินฝากปลอดภาษี เป็นเงินฝากที่กำหนดยอดฝากเท่าๆ กันทุกเดือนตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 24 เดือน 35 เดือน ได้รับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด และไม่ต้องเสียภาษี แต่เงื่อนไขคือ จะต้องมียอดฝากทุกเดือนเท่าๆ กัน จะเป็นวันไหนก็ได้ขอให้อยู่ในเดือน และ 1 คนมีได้ 1 บัญชีเท่านั้น ธนาคารจะทำเรื่องไปแจ้งสรรพากรว่าได้มีเงินฝากประเภทนี้อยู่
เรื่องที่ 2 ระยะเวลาการฝากเงิน
เรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นกว่าอัตราดอกเบี้ยเสียอีก เพราะบัญชีเงินฝากแต่ละประเภทมีสภาพคล่องที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการจัดเงินจะต้องเลือกให้สอดคล้องกับกระแสเงินของเจ้าของ ถ้าเป็นเงินที่ต้องหมุนเวียนบ่อยๆ และต้องจ่ายโดยใช้เช็ค ควรจะเป็นกระแสรายวัน
ถ้าเป็นเงินที่เข้าออกบ่อยๆ ต้องการใช้บัตร ATM ควรจะเป็นออมทรัพย์ แต่ถ้าเงินก้อนอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ใช้อะไร ระยะเวลานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ควรจะใช้เป็นเงินฝากประจำ

และถ้าต้องการเก็บเงิน โดยสามารถกันเงินออมได้ทุกๆ เดือนเท่าๆ กัน ควรจะเป็นเงินฝากปลอดภาษี

เรื่องที่ 3 อัตราดอกเบี้ย
เมื่อเราสามารถเลือกประเภทได้แล้ว ให้มาเลือกอัตราดอกเบี้ยว่าควรจะเป็นของธนาคารไหน หรือระยะเวลาเท่าไหร่

ซึ่งเดี๋ยวนี้มีความหลากหลายของเงินฝากจนเริ่มคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกแล้ว เพราะเป็นขั้นบันได วิธีการคือ ให้คำนวนเป็นรายวัน โดยนำ (เงินต้นxอัตราดอกเบี้ย)/365 จะได้ดอกเบี้ยรับใน 1 วัน (ธนาคารนับแบบข้ามคืน) แล้ว x ด้วยจำนวนวันที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยนั้นๆ ถ้าเป็นแบบขั้นบันได ให้คำนวณทีละขั้น แล้วนำมารวมกันเมื่อหมดระยะเวลาฝากเงิน จะได้เป็นดอกเบี้ยรับออกมา ทำแบบนี้เพื่อจะได้เห็นว่า เงินที่ได้รับเป็นเท่าไหร่เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน

เรื่องที่ 4 สถานที่ในการฝากถอน
บางคนเดินทางตั้งไกลเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.5% ได้เงินมาอีก 200 บาท แต่เสียค่ารถไปกลับ 500 ไม่คุ้มกันเลย

เรื่องที่ 5 จำนวนเงินที่คุ้มครองจาก พรบ.สถาบันเงินฝาก
ซึ่งวันที่ 11 สิงหาคม 54  - 10สิงหาคม 55 จะคุ้มครอง 50 ล้านบาทต่อธนาคารต่อผู้ฝากเงิน และหลังจากนั้นไปจะคุ้มครอง 1 ล้านบาทต่อธนาคารต่อชื่อผู้ฝากเงิน

แหล่งที่มา  เว็บไซตฺ์กรมสรรพากรเว็บไซต์ nationejobs.comเว็บไซต์ Thai Credit Retail Bank

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...