วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

"เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่ง" จากยอดที่เพิ่มขึ้น

ถ้าพูดถึงผู้พันแซนเดอร์สแห่ง KFC
คนจำนวนมากคงยกตัวอย่างผู้พันในฐานะเป็นผู้มีความเพียร
ขายสูตรไก่ทอดอยู่นานกว่าจะมีคนซื้อ ทั้งที่อายุเยอะแล้ว
ซึ่งก็ว่าเจ๋งนะ

แต่มีอีก 2 เรื่องของคุณลุงไก่ทอดที่น่าเรียนรู้
และถ้านำไปปรับใช้กับธุรกิจหรืองานของเรา จะดีมาก

ข้อแรก ผู้พันใส่สูทสีขาวทั้งชุด ไว้เคราแพะ
ผมว่านี่คือการสร้างแบรนด์อันน่าจดจำ
คิดดูว่าถ้าคุณลุงใส่สูทสีเข้มแบบทั่วๆ ไป
โลกอาจจะไม่จดจำเท่านี้ ผู้คนอาจจะไม่สะดุดตา
พอลุงใส่สูทขาว ไว้เคราปุ๊บ นอกจากจะจดจำแล้ว
ลุงยังกลายเป็น Brand Ambassador เอง

ไม่ต้องจ้างดาราที่ไหนมาแสดง ไม่ต้องมีมาสคอท
ประหยัดเงินไปมหาศาล
เรียกว่าคุณลุงล้ำหน้ามากๆ ที่คิดเรื่องนี้ได้

ย้อนกลับมาดูบ้านเรา ลองนึกถึงคุณตันกับหมวกใบนั้น
และการไม่ต้องจ้างใครแสดงหนังโฆษณาสิ
รวมมูลค่าการจดจำแบรนด์และมูลค่าที่ไม่ต้องจ้างพรีเซนเตอร์
คิดเป็นเงินร้อยล้านบาท ยังน่าจะน้อยไปด้วยซ้ำ

ข้อสอง ตอนที่ผู้พันไปเสนอสูตรทอดไก่กับร้านต่างๆ
เขาไม่ได้ "ขายขาด" แต่บอกว่า "ขอส่วนแบ่งจากการขาย"

ประโยคเปลี่ยนชีวิตของเขาคือ
ผมมีสูตรทำไก่ที่ยอดเยี่ยม และถ้าคุณนำไปใช้
คุณจะเพิ่มยอดขาย
และผมจะขอ "เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่ง" จากยอดที่เพิ่มขึ้น

นี่ล่ะ จุดพลิกชีวิตที่ทำให้เขาเป็นเศรษฐี
เพราะถ้าขายขาด ได้เงินครั้งเดียว คงไม่มีทางร่ำรวยขนาดนี้
แต่พอรับเป็นส่วนแบ่ง ก็เหมือนโตไปด้วยกัน

หลังจากนั้น KFC เลยกลายเป็นแฟรนไชส์ใหญ่ที่สุดในโลก
รองจาก McDonalds

ย้อนกลับมาดูตัวเรา ตอนนี้เรามีแฟรนไชส์อะไรขายคนอื่นบ้าง?
แฟรนไชส์ที่ว่าอาจไม่ต้องเป็นร้านค้า
แต่เป็นอะไรที่ผลิตซ้ำได้ เป็นระบบ ไม่ต้องพึ่งพาเราตลอด
มีส่วนแบ่งให้เราเก็บกินได้เรื่อยๆ

ทั้งหมดทั้งปวง  เลยได้บทเรียนจากผู้พันแซนเดอร์สว่า
ในการทำธุรกิจ นอกจากจะต้องใช้ความพากเพียรอดทนแล้ว
การสร้างความแตกต่างให้เป็นที่จดจำ
และการสร้าง "ระบบ" ให้ธุรกิจเดินไปได้เอง
เป็นเรื่องที่สำคัญที่เรามองข้ามไม่ได้จริงๆ

แหล่งที่มา      Facebook : Boy's Thought

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...